Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โลกหลังการแพร่ระบาดใหญ่จบลง เป็นช่วงเวลาที่พายุแห่งการเปลี่ยนแปลง ‘เร็ว’ และ ‘แรง’ มากกว่าเดิม บริษัทที่ไม่มีโต๊ะประจำตำแหน่ง การเข้าออฟฟิศที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ทุกคนต้องเท่าเทียมเสมอภาคกัน แม้กระทั่งผู้บริหารเองก็อาจไม่มีห้องประจำตำแหน่งด้วยซ้ำไป

นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่ ‘โศรดา ศรประสิทธิ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปับลิซิส กรุ๊ป จำกัด (Publicis Group) ฉายภาพให้เราฟังในงาน CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 

 เธอบอกว่า ในฐานะผู้นำองค์กร โจทย์สำคัญคือจะทำอย่างไรให้ความเปลี่ยนแปลงนี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ผู้นำต้องพิจารณาว่า ส่วนผสมแบบไหนที่เหมาะสมกับคนทำงาน เพราะสิ่งที่มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง คือความเหนื่อยล้า เมื่อเปลี่ยนแปลงบ่อย โอกาสที่พนักงานจะอ่อนล้าก็มีสูงมากเช่นกัน

[ ความสำเร็จ ไม่มี ‘สูตรสำเร็จ’ ความรู้เยอะ แต่ไม่รู้จักตัวเองก็สูญเปล่า ]

‘โศรดา’ ให้ความเห็นว่า ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่โหมกระหน่ำ องค์กรต้องดูแลเอาใจใส่คนทำงานไปพร้อมกัน คิดไว้เสมอว่า อย่าไปยึดติดกับความสำเร็จในอดีต เมื่อปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนไป วันนี้มีเรื่องใหม่เกิดขึ้น พรุ่งนี้ก็ต้องไปต่อ

ด้าน ‘ประสาน อิงคนันท์’ ผู้ก่อตั้งเพจ ‘มนุษย์ต่างวัย’ มองว่า ในวันที่โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน เสียงรอบข้างมักบอกให้เราออกไปเรียนรู้ หาความรู้มาให้มากที่สุด แต่สำคัญไปกว่านั้น คือเมื่อเรียนรู้เยอะๆ ต้องกลับมาถามตัวเองด้วยว่า เราอยากเป็นนักวิ่ง pace ไหน นักวิ่งระยะสั้น กลาง หรือไกล ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการวิ่งตามคนอื่นตลอดเวลา ผู้ใหญ่หลายคนที่มีความสุข มีอิสระ เพราะเขากลับมาสำรวจความเป็นจริงที่เชื่อมโยงเข้ากับความเป็นตัวเอง

หรือแม้กระทั่งในบริบทการทำงาน ‘ประสาน’ บอกว่า ผู้ใหญ่หลายคนที่ประสบความสำเร็จใช้วิธีสังเกตความสุข-ความพึงใจของตัวเองไปเรื่อยๆ ทดลองขยับจากองค์กร A สู่องค์กร B หาออฟฟิศที่พอดีกับจังหวะชีวิต ซึ่งอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีตามสูตรสำเร็จที่เคยได้ยินมา เพราะถึงที่สุดแล้ว เราอาจไม่ได้อยากอยู่ในองค์กรที่ให้ค่าตอบแทนที่ดีที่สุดก็ได้ สำหรับบางคนสิ่งแวดล้อมและเพื่อนร่วมงานก็เป็นจุดตัดในการเลือกที่ทำงาน

[ หา ‘คุณค่าร่วม’ ในองค์กร ประสานรอยร้าว ‘Gen Gap’ ในออฟฟิศ ]

ปัญหาคลาสสิคที่เจอแทบทุกองค์กร คือช่องว่างระหว่างวัย หรือ ‘Generation Gap’ บ้างก็พบว่า คนระดับหัวหน้าสื่อสารกับคนทำงาน Gen Z ไม่รู้เรื่อง หรือ Gen Y ที่ต้องสอนงานน้องใหม่ก็มองว่า เด็กเหล่านี้หัวแข็ง ก้าวร้าว ทำให้การสื่อสารภายในองค์กรไม่ราบรื่น กลายเป็นว่า คนทำงานมีกำแพงซึ่งกันและกัน

เรื่องนี้ ‘ประสาน’ ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า ปัญหา Gen Gap เป็นเรื่องของมุมมอง และ ‘แว่น’ ที่ใช้ตัดสินอีกฝ่าย เขาระบุว่า ภายใต้ความแตกต่างของแต่ละเจน มักจะมี ‘คุณค่าร่วม’ บางอย่างแฝงอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 17 ปี กับผู้สูงอายุวัย 70 ปี อาจเปิดสนทนาด้วยเรื่อง ‘รักครั้งแรก’ ก็ได้ ซึ่งเป็นหัวข้อที่แต่ละคนมีเรื่องเล่าในมุมของตัวเองที่ไม่มีการตัดสินถูกผิดเข้ามาผสมรวม

ในบริบทขององค์กรเองก็สามารถดึงการสร้างคุณค่า-บทสนทนาร่วมไปปรับใช้ได้เช่นกัน โดยผู้บริหารต้องดูว่า จะสร้างคุณค่าที่มีร่วมกันในองค์กรอย่างไร เมื่อแต่ละเจนเข้าใจกัน คุยเรื่องเดียวกัน จะนำไปสู่ความเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เคารพเพราะอีกฝ่ายอาวุโสกว่า แต่เพราะมีคุณค่าร่วมกัน เพราะอย่างไรชีวิตการทำงานก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ต้องเจอหรือรับมือกับคนเจนไหน สำคัญคือทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข

[ ทุกคนเจนต่างเป็น ‘เดอะแบก’ ไม่ต่างกัน ]

บทความว่าด้วยการเป็น ‘เดอะแบก’ มีให้เห็นมากมาย บางคนก็บอกว่า Gen X แบกเยอะสุด เพราะใกล้เกษียณ ไม่มีเงินเก็บ แถมต้องดูแลพ่อแม่ที่เกษียณแล้ว บางคนบอกว่า Gen Y แบกกว่าใคร เพราะมีทั้งพ่อแม่และลูกด้วย ‘ประสาน’ ให้ความเห็นว่า แท้จริงแล้วแต่ละเจนก็มีเรื่องแบกเป็นของตัวเอง แม้แต่ Gen Z ก็มองว่า ตัวเองต้องแบกโลก แบกสิ่งที่เจเนอเรชันก่อนๆ ทิ้งไว้ แต่สุดท้ายเมื่อโตขึ้น นอกจากแบกงาน แบกความสำเร็จ สิ่งที่ทุกเจนต้องเจอเหมือนกัน คือ ‘แบกครอบครัว’

เมื่อเราอายุมากขึ้น พ่อแม่แก่ตัวลง ป่วยไข้บ่อยขึ้น ไม่แน่ว่า อีกหน่อยองค์กรอาจต้องปรับเพิ่มสวัสดิการการทำงาน ‘ลาไปดูแลพ่อแม่’ ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งสำคัญในสังคมผู้สูงอายุที่กำลังคืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ ที่สำคัญ ‘ประสาน’ บอกว่า เราใช้แว่นของตัวเองตัดสินทุกเรื่องไม่ได้ บางครั้งอาจต้องถอดสลับลองใส่แว่นคนอื่นดูบ้าง ไม่อย่างนั้นสุดท้ายเราจะไม่เจอทางออก

ด้าน ‘โศรดา’ ระบุว่า ตนทำงานกับเด็กรุ่นใหม่มาเยอะ สิ่งที่เด็กรุ่นใหม่แบกเหมือนกัน คือความฝัน-ความคาดหวังในการดูแลครอบครัว มีทรัพย์สิน มีบ้าน มีรถ ซึ่งเป็นภาระที่หนักอึ้ง จึงฝากว่า ตั้งความหวังได้แต่อย่าให้สูงมากจนกดดันเกินไป ตั้งไว้ระดับหนึ่งแล้วทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ท้ายที่สุดถ้าทำอย่างสม่ำเสมอเราจะประสบความสำเร็จทั้งชีวิตและหน้าที่การงานได้ในไม่ช้า

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า