SHARE

คัดลอกแล้ว

นับตั้งแต่กระแสฟีเวอร์ของ ‘Erewhon’ เครื่องดื่มสมูททีระดับพรีเมี่ยมเป็นที่นิยมไปทั่วโลก จนส่งแรงให้ตลาดสมูทที พรีเมี่ยมเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ประเทศไทยเองก็มีร้านสมูทที พรีเมี่ยม เปิดเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 

และต้องเล่าแบบนี้ว่าเดิมที ‘Erewhon’ เป็นซูปเปอร์มาเก็ตหรูของสหรัฐอเมริกา แต่ภายในร้านก็ขายเครื่องดื่มสมูททีราคาสูงที่กำลังโด่งดังไปทั่วโลกโซเชียลแก้วละ 700 บาทนั่นเอง 

ที่น่าสนใจคือ ‘Erewhon’ ไม่ได้สร้างกระแสให้แค่กับเครื่องดื่มสมูทที แต่สร้างกระแสซูเปอร์มาร์เก็ตหรูใจกลางลอนดอน สหราชอาณาจักรที่ขายผลไม้พรีเมี่ยม กลับมาเติบโตไปด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ ‘Bayley & Sage’ 

แล้วเรื่องราวของ Bayley & Sage น่าสนใจอย่างไร? ทำไมถึงเน้นขายวัตถุดิบระดับพรีเมี่ยม TODAY  Bizview จะสรุปให้ฟังผ่านบทความนี้ 

อย่างที่ทราบกันดีว่า ‘Erewhon’ ค่อนข้างที่จะมีกระแสไปทั่วโลก โดยเฉพาะกับวัยรุ่น Gen Z ที่เน้นทำคอนเทนต์ลงโซเชียล ขณะที่สาขาของร้านก็มีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ทำให้หลายๆ ประเทศต้องการทดลองชิมสมูททีพรีเมี่ยม แต่ไม่สามารถชิมได้ ก็เลือกที่จะหันมาลองลงมือปั่นสมูททีสูตรพรีเมียมดื่มเอง ประกอบกับกระแสอาหารสุขภาพที่มาแรงและเติบโตไปทั่วโลก 

กระแสอยากกินแต่ไม่มีให้ซื้อต้องทำกินเอง ทำให้ Bayley & Sage ซูเปอร์มาร์เก็ตหรูใจกลางลอนดอน สหราชอาณาจักรกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เพราะภายในร้านขายผลไม้พรีเมี่ยม ชีส ไวน์ หรือวัตถุดิบอื่นๆ ที่พรีเมี่ยมมากกว่าตามท้องตลาด และแน่นอนว่ายังมาพร้อมกับราคาที่สูงแต่คนก็ยังยอมจ่าย

[ Bayley & Sage เริ่มต้นจากความเชื่อที่ว่าวัตถุดิบจะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ในครัว ]

ก่อนอื่นเรามารู้จักประวัติของ Bayley & Sage กันสักนิด

ย้อนกลับไปในปี 1997 ‘Jennie Allen’ คือหญิงชาวอังกฤษที่ตั้งใจลาออกจากงานประจำที่ดูซ้ำซากจำเจ มาเปิดธุรกิจที่ตัวเองชอบด้วยแพสชั่นที่ว่า ‘ฉันรักผักผลไม้สด และมีวิธีไหนที่จะใช้เวลาร่วมกับคนที่เรารักได้ดีไปกว่าการทำอาหารและใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพบนโต๊ะอาหารได้อีก’ เธอจึงตัดสินใจนำความเชี่ยวชาญด้านการคัดสรรผลไม้และเริ่มก่อตั้ง Bayley & Sage สาขาแรกในย่านวิมเบิลดัน กรุงลอนดอน 

ภายในร้าน Bayley & Sage ก็เน้นขายผลไม้สด เนื้อสด ไวน์ และชีส ดอกไม้สด ในราคาที่แพงหรือสูงกว่าตลาดเช่น ‘สตรอว์เบอร์รีฝรั่งเศส’ หรือ ‘ชีสหอมๆ’ ที่ราคาเริ่มต้น 8.50 ปอนด์ หรือราวๆ 400 บาท พร้อมทั้งยังรับจัดกระเช้าผลไม้และผลิตภัณฑ์คุณภาพอื่นๆ ที่เป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยมให้ลูกค้าสามารถนำไปฝากเป็นของขวัญได้อีกด้วย

ในเรื่องของราคาสินค้าที่แพงนั้น ‘Jennie’ ก็ไม่ได้ปฏิเสธ แต่ยังยอมรับอีกว่า ‘ร้านเราขายแพง และจะไม่เสแสร้งว่ามันแพง’ เพราะเธอเชื่อมั่นในคุณภาพและราคาที่เหมาะสมนั้นจริงๆ โดย Bayley & Sage มีกำไรสุทธิจากการขายเพียง 1% เท่านั้น และต้องเผชิญกับอาหารสดที่อาจจะขายไม่หมดอยู่ตลอดเวลา ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องมีลูกค้าให้มากกว่าร้านค้าอื่นๆ เพื่อที่จะเลี่ยงการขาดทุน  

ขณะที่ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปอย่าง Aldi และ Lidl กำลังแข่งกันทำโปรโมชั่นลดราคาเพื่อเรียกลูกค้าให้เข้าร้าน แต่ Bayley & Sage กลับเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2566 ที่ผ่านมายอดขายเพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อนหน้า สะท้อนว่าซูเปอร์มาร์เก็ตหรูยังคงมีช่องว่างให้จับทางอีกมาก ทั้งๆ ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปกำลังแข่งหั่นราคาเอาตัวรอด 

[ ซูเปอร์มาร์เก็ตกำไรน้อย ผู้บริหารหญิงแกร่งพอพาธุรกิจไปต่อ ]

ทั้งนี้ ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตยังเป็นธุรกิจที่มีกำไรน้อย ซึ่ง Bayley & Sage ต้องเผชิญเต็มๆ เพราะต้องแบกต้นทุนสินค้าที่ขายไม่หมดและปัจจัยอื่นๆ ทำให้ต้องมีการบริหารที่ดี 

ขณะที่ช่วงก่อตั้งแรกๆ ไม่ได้ราบเรียบเท่าไหร่นัก ‘Jennie’ ยังมีอุปสรรคอีกมาก เพราะเผชิญคำสบประมาทที่ว่า ‘ผู้บริหารหญิง’ โดยในช่วงแรกๆ เธอต้องขอให้สามีและพ่อช่วยค้ำประกันเงินกู้ เพราะธนาคารมองว่า บุคลิกเธอดูไม่เหมือนผู้บริหาร รวมไปถึงมุมมองในเรื่องเพศด้วย แต่ความท้าทายเหล่านี้ก็ส่งผลให้เธอต่อสู้ฝ่าฟันเพื่อพิสูจน์ว่า ผู้หญิงก็สามารถบริหารธุรกิจได้ ทำให้ปัจจุบันบอร์ดบริหารของ Bayley & Sage มีผู้หญิงมากถึง 17 คนที่เข้ามาช่วยกันขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต  

[ ขายของแพงก็ต้องขายให้กับ ‘คนรวย’ ]

นอกจากนี้ อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญของ Bayley & Sage คือเลือกก่อตั้งร้านในย่านที่เปรียบเสมือน ‘หมู่บ้านคนรวย’ ทำให้ปัจจุบันร้านมีสาขาอยู่ราวๆ 13 สาขา เช่น Marylebone, Parsons Green, Chelsea และอื่นๆ 

‘Jennie’ เล่าว่า นับตั้งแต่กระแสอาหารสุขภาพเติบโตทำให้สาขา Marylebone ย่านสุดชิคและร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในลอนดอน และมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่มาก มีการเติบโตสูงจนสามารถคำนวณได้ว่า 20% ของยอดขาย Bayley & Sage มาจากสาขานี้ และในอนาคตอันใกล้ก็เตรียมจะขยายสาขาไปยังย่านต่างๆ ทำเลดีๆ ต่อไป

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เราคงได้รู้จัก Bayley & Sage กันไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจนี้เติบโต และถึงแม้ว่าปัจจุบันซูเปอร์มาร์เก็ตหรูดูจะยังมีช่องทางให้ไปต่อได้อีก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเสี่ยงที่กระแสผู้บริโภคจะมาเพียงชั่วคราวหรือเปล่า 

เพราะถ้าหากมองในมุมสมูททีหรูที่ขายได้ดีส่วนหนึ่งก็มาจากซื้อเพื่อชิมและถ่ายคอนเทนต์กัน ถ้าหากวันหนึ่งคอนเทนต์หมดไปก็ต้องมาวางแผนธุรกิจกันต่อว่าจะเจาะกลุ่มคนรวยรักสุขภาพให้อยู่คู่กับร้านไปนานๆ ได้อย่างไร แต่ที่แน่ๆ ดูเหมือนว่าในตอนนี้ Bayley & Sage กำลังอยู่ในช่วงเวลาที่หอมหวานของธุรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว.. 

ที่มา 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า