Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หากพูดถึง ‘ฝรั่งเศส’ หลายคนคงนึกถึงประเทศแห่งความโรแมนติก แฟชั่น สถาปัตยกรรมสวยงาม รวมถึงผู้คนในประเทศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รักในเสรีภาพ ความเท่าเทียม และการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2024 

แน่นอนว่า การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกกำลังจะทำให้ฝรั่งเศสกลับมาเนื้อหอมอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว หรือแฟนๆ กีฬาที่หลั่งใหลกำลังเข้ามาเชียร์ หรือจะเป็นอุตสาหกรรมแฟชั่นที่คึกครื้นไปตามๆ กันเพราะผู้เข้าแข่งขันแต่ละประเทศก็ไม่น้อยหน้ากันเมื่อมาเยือนสู่ประเทศผู้นำด้านแฟชั่น คงทำให้ปีนี้เศรษฐกิจของประเทศคึกคักขึ้นไม่น้อย 

แต่กว่าจะมาถึงประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าในอดีตประเทศแห่งนี้ก็เคยสะบักสะบอมมาแล้วไม่น้อย  TODAY Bizview ชวนย้อนรอยเศรษฐกิจฝรั่งเศสจากอดีตสู่ปัจจุบัน

ต้องเล่าแบบนี้ว่าในอดีตฝรั่งเศสเคยเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหลายต่อหลายครั้ง รวมถึงระบบเศรษฐกิจที่เมื่อก่อนขึ้นอยู่กับเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันพัฒนาสู่การเป็นประเทศแห่งอุตสาหกรรมจนปัจจุบันมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลกได้ด้วยจำนวนประชากรที่มีเพียง 67 ล้านคน (น้อยกว่าไทยราวๆ 4 ล้านคน)

แล้วอะไรที่ทำให้เศรษฐกิจฝรั่งเศสเติบโตได้ขนาดนี้?

[ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจฝรั่งเศสฉบับย่อ ]

ในอดีตช่วงสมัยยุคกลางของฝรั่งเศสถูกปกครองโดยกษัตริย์ที่สืบทอดอำนาจทางสายเลือดจนถูกปฏิวัติหลายต่อหลายครั้ง โดยเรียงไทม์ไลน์คร่าวๆ ดังนี้

          • ศตวรรษที่ 18: เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ล้มล้างระบอบกษัตริย์ สถาปนาระบอบสาธารณรัฐ
          • ศตวรรษที่ 19: ฝรั่งเศสมีการปกครองแบบผสมผสาน มีทั้งกษัตริย์และจักรพรรดิ สลับกับระบอบสาธารณรัฐ
          • ต้นศตวรรษที่ 20: ฝรั่งเศสปกครองแบบสาธารณรัฐ 

และปัจจุบันฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุขที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน 

‘เศรษฐกิจ’ ในอดีตฝรั่งเศสมี ‘การเกษตร’เป็นหลัก กระทั่งยุคสมัยเปลี่ยน ไทม์ไลน์เศรษฐกิจเปลี่ยนตาม อาทิ 

          • ศตวรรษที่ 18: เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ฝรั่งเศสเริ่มพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น อาทิ  แฟชั่น การท่องเที่ยว การผลิต
          • ศตวรรษที่ 19: มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
          • ต้นศตวรรษที่ 20: เศรษฐกิจฝรั่งเศสได้รับผลกระทบจากสงครามโลก 
          • หลังสงครามโลก: ฝรั่งเศสฟื้นฟูเศรษฐกิจ เข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)

ขณะที่ปัจจุบันฝรั่งเศสกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทสำคัญในสหภาพยุโรป และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก มี GDP ปี 2566 อยู่ที่ 2.94 ล้านล้านยูโร

[ ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ]

ทั้งนี้ ฝรั่งเศสยังคงเผชิญปัญหาเศรษฐกิจอยู่แม้ว่าจะไม่หนักเท่าประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาหลัก ที่เป็นข้อจำกัดของการเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ 

          • ฝรั่งเศสมีอัตราการว่างงานสูงอยู่ที่ 6.3% (ข้อมูลสิ้นปี 66)
          • หนี้สาธารณะสูงถึง 111.6% ต่อ GDP
          • หนี้ครัวเรือน 66.15% ต่อ GDP 
          • ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนที่เพิ่มมากขึ้น

[ ความทะเยอทะยานของรัฐบาล + ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต ]

ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้ตั้งเป้าหมายหลักๆ เพื่อที่จะลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ อาทิ

          • ลดอัตราการว่างงานลงเหลือ 5%
          • -ตั้งเป้าลดหนี้สาธารณะลงเหลือ 60% ของ GDP
          • -ตั้งเป้าเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจให้มากกว่า 2% 

ในทางกลับกันประเทศแห่งนี้ก็มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีช่วยให้เติบโตเป็นอันดับที่ 5 ของโลกได้ อาทิ 

          1. มีแรงงานที่มีคุณภาพมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ประชาชนมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับงานที่มีรายได้สูง
          2. มีเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในหลายอุตสาหกรรม เช่น การบินและอวกาศ พลังงานนิวเคลียร์ เทคโนโลยีสื่อสาร
          3. มีฐานการผลิตที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา
          4. เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของโลก มีธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำมากมาย และปัจจัยเหล่านี้ก็ช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับประเทศ

[ อุตสาหกรรมโดดเด่นของฝรั่งเศส ]

ที่น่าสนใจคือ ฝรั่งเศสมีหลายอุตสาหกรรมที่โดดเด่น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ผ่าน 3 อุตสาหกรรมหลัก อาทิ 

          • อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ถือเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนประเทศมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของโลก รวมถึงมีสถาปัตยกรรมสวยงามให้ความโรแมนติก อาทิ หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย และอื่นๆ โดยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการคิดเป็นรายได้กว่า 70.82% ต่อ GDP ประเทศเลยทีเดียว
          • อุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งแน่นอนว่าฝรั่งเศสขึ้นชื่อเรื่องแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า สร้อย น้ำหอมหรืออื่นๆ มีแบรนด์ดังระดับโลกมีจุดเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศแห่งนี้ อาทิ Chanel Dior Louis Vuitton Hermès ฯลฯ
          • อุตสาหกรรมการบิน ที่มีบริษัท Airbus ผลิตเครื่องบินรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยอุตสาหกรรมแฟชั่น การบินและอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมกันคิดเป็นรายได้กว่า 17.38% ต่อ GDP 

[ รสนิยมการใช้เงินของชาวฝรั่งเศส ]

ชาวฝรั่งเศสยังมีรสนิยมการซื้อขายของอยู่ใน ‘ร้านค้า’ มากกว่าการ ‘ช้อปปิ้งออนไลน์’ เพราะเชื่อมั่นว่าการเห็นสินค้าจริงจะสามารถประเมินคุณภาพได้

จากสถิติกว่า 67% ของคนฝรั่งเศสจะไม่เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต่ำกว่า แม้จะราคาถูกกว่า ซึ่งพฤติกรรมการซื้อของแบบนี้ยังทำให้ร้านค้าในพื้นที่ยังคงอยู่ได้ แม้จะมีการซื้อของออนไลน์ที่ราคาถูกกว่าเป็นทางเลือกก็ตาม

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เราคงได้รู้จักประเทศฝรั่งเศสในมุมการปกครองและเศรษฐกิจกันมากขึ้นแล้ว แม้ว่าจะเจอการเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายครั้ง แต่การปรับตัวสู่ยุคอุตสาหกรรม มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและพัฒนาอยู่เสมอ ประกอบกับคนในประเทศยังคงรสนิยมที่อุดหนุนร้านค้ามากกว่าออนไลน์ที่เข้ามาดิสรัปชัน ก็เป็นส่วนนำพาให้ประเทศแห่งนี้เติบโตเป็นอันดับที่ 7 ของโลกได้ดีเลยทีเดียว 

และน่าติดตามต่อว่าการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประเทศคึกคักได้มากถึงเพียงไหน แต่ที่แน่ๆ ในด้านแฟชั่นเปิดตัวการแข่งขันโอลิมปิกแล้วดูเหมือนว่าเมื่อฝรั่งเศสประเทศแห่งผู้นำด้านแฟชั่นเป็นเจ้าภาพแล้ว ประเทศอื่นๆ ก็ไม่มีใครยอมใครเลยทีเดียว…

ที่มา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า