Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เข้าสู่ช่วงปีใหม่ 2565 วัฒนธรรมยอดนิยมของคนทั่วโลก คือการให้ของขวัญต่อกัน วัฒนธรรมนี้มีความเกี่ยวเนื่องไปกับระบบเศรษฐกิจของขวัญ หรือ Gift Economy ซึ่งมีความหมายต่อสังคมมนุษย์เราอย่างมาก นัยยะสำคัญของการแลกเปลี่ยนนี้มีอะไรแฝงอยู่บ้าง  TODAYBizview รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ มาให้ดูกัน

ทำไมช่วงเทศกาลทีไร ต้องให้ของขวัญกันทุกที

ในช่วงเทศกาลสำคัญ คนส่วนใหญ่ต่างให้ของขวัญต่อกัน เพราะเทศกาลคือช่วงเวลาสำคัญแห่งการเฉลิมฉลอง นานทีปีหน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้คนจะมอบสิ่งของให้ผู้อื่นแทนคำขอบคุณ ความห่วงใยและความปราถนาดี พร้อมสานต่อความสัมพันธ์กันต่อไป 

การให้ของขวัญอยู่คู่สังคมมนุษย์มาอย่างยาวนานแล้ว ยกตัวอย่างงานวิจัยเชิงมานุษยวิทยา โดย Bronislaw Malinowski ได้ศึกษาการแลกเปลี่ยนของกำนัลของผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะ Trobriand ทางชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะนิวกินี

โดยพบว่าผู้คนมีการสรรหาสิ่งของ จำพวกเครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอยสวยงาม จากนั้นจะข้ามน้ำข้ามทะเล นำไปให้คนในหมู่เกาะอื่นๆ และทางด้านฝั่งผู้รับก็จะให้สิ่งของตอบแทนเช่นกัน กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้เรียกว่า ‘Kula Ring’

เช่นเดียวกับงานเขียนที่ชื่อ The Gift: The form and reason for exchange in archaic societies ของ Marcel Mauss นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาเรื่องการมอบของขวัญของชนเผ่าในพื้นที่หมู่เกาะแปซิฟิก โดยพบว่าการให้ของขวัญนั้นมักจะหวังผลตอบแทน โดยมีเหตุผลทางเศรษฐกิจอยู่เบื้องหลัง

นี่เป็นเพียงตัวอย่างวัฒนธรรมการให้ของขวัญ สะท้อนให้เห็นถึงกลไกการแลกเปลี่ยนและบทบาทของของขวัญ โดยยึดโยงความสัมพันธ์เชิงสังคม ภายใต้เบื้องหลังของการเป็นผู้ให้ มนุษย์อาจคาดหวังผลตอบแทนบางอย่าง และในฐานะของผู้รับก็มีภาระผูกพันที่จะต้องให้ตอบแทน

ดังนั้น ‘Gift Economy’ หรือระบบเศรษฐกิจของของขวัญ คือรูปแบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ที่แตกต่างจากระบบการแลกเปลี่ยนซื้อขายทั่วไป มันอาจไม่ได้ถูกแลกเปลี่ยนโดยทันทีทันใด เหมือนการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่มีข้อตกลงระหว่างกันที่ชัดเจน แต่การให้ของขวัญจะมีระยะห่างของการได้รับคืนจากอีกฝ่ายในอนาคต ด้วยพันธะสัญญาบางอย่าง

ระบบนี้จึงดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคมมนุษย์ แสดงให้เห็นถึงความโอบเอื้ออารีและมิตรภาพระหว่างมนุษย์ด้วยกัน แม้บางแนวคิดอาจมองว่า เบื้องหลังของการให้ของขวัญของมนุษย์ หวังผลตอบแทนก็ตามที แต่มันก็ยังสะท้อน ‘ความยินดี’ ที่ผู้ให้ตั้งใจมอบแก่ผู้รับ

ส่องวัฒนธรรมการให้ของขวัญ ท่ามกลางยุคสมัยที่คนซื้อของขวัญลดลง

การให้ของขวัญ ไม่ว่าจะชนชาติไหน สังคมใด ล้วนมีวัฒนธรรมนี้กันทั้งนั้น ยกตัวอย่างประเทศที่มีวัฒนธรรมการให้ของขวัญที่น่าสนใจ อย่างประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมักให้ของขวัญในช่วงเทศกาล ได้แก่ ช่วงฤดูร้อนกลางปีและช่วงฤดูหนาวไปจนถึงสิ้นปี 

นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมีเทศกาลต่างๆ มากมาย จึงมีธรรมเนียมการให้ของขวัญกันตลอดทั้งปี เวลาไปไหนมาไหน ก็มักซื้อของมาให้คนในครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือกระทั่งเพื่อร่วมงาน ทำให้แต่ละปีคนญี่ปุ่นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อของขวัญเป็นจำนวนมาก 

หรือจะเป็นประเทศจีน คนจีนมีการจับจ่ายซื้อของในช่วงเทศกาลสูงมากเช่นกัน โดยมักซื้อไปให้พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ตอบแทนพระคุณ รวมถึงผู้ใหญ่เองก็ซื้อของขวัญให้ลูกหลานด้วย

ยกตัวอย่างเทศกาลที่คนจีนจับจ่าย เช่น ตรุษจีน สารทจีน ไหว้พระจันทร์ รวมไปถึงเทศกาลที่อิงไปกับประเทศตะวันตก อย่างวาเลนไทน์และคริสต์มาส คนจีนมีการจับจ่ายซื้อของกันอย่างคึกคัก 

ส่วนประเทศอีกฟากฝั่งหนึ่ง อย่างสหรัฐอเมริกา ช่วงเทศกาลยอดนิยมที่ผู้คนมักให้ของขวัญกัน คือช่วงคริสต์มาส นับว่าเป็นงานใหญ่ที่รวมญาติพี่น้อง เป็นช่วงเวลาเฉลิมฉลองกับคนในครอบครัว เพื่อนฝูงและคนรัก แน่นอนว่ามีการให้ของขวัญแลกเปลี่ยนระหว่างกัน 

สำหรับในประเทศไทย มีธรรมเนียมการให้ของขวัญในวันช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือในช่วงงานทำบุญต่างๆ ซึ่งบางครั้งของขวัญก็ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสิ่งของเสมอไป แต่มาเป็นรูปแบบเงิน มอบให้เป็นน้ำใจต่อกันก็มีให้เห็นเป็นเรื่องปกติ

ทั้งนี้พบว่าแนวโน้มการให้ของขวัญตามเทศกาลของผู้คนในประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากผู้คนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เงินในกระเป๋าลดน้อยลงกว่าเดิม และยังต้องเผชิญกับโรคระบาดโควิด-19 ไม่สามารถจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่ได้ 

นอกจากนี้ คนยุคใหม่เริ่มใส่ใจกับปัญหาค่าใช้จ่ายจากการซื้อของขวัญที่มากเกินไป อีกทั้งของขวัญที่ได้มาก็ไม่ได้ใช้จริงหรือบริโภคไม่หมด เช่น พวกอาหาร ขนม หรือสิ่งของต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ พอหมดอายุก็จำเป็นต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย 

ดังนั้นคนในยุคนี้ จึงไม่ค่อยซื้อของขวัญมากเท่ากับในอดีตที่ผ่านมา มูลค่าตลาดของขวัญในช่วงเทศกาลในแต่ละประเทศข้างต้น อย่างญี่ปุ่นและจีนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง บางคนไม่ได้ซื้อของขวัญให้กัน แต่เน้นไปที่การให้อั่งเปา โอนเงินออนไลน์ให้แทน 

รวมถึงในสหรัฐฯ ข้อมูลจาก Deloitte ได้สำรวจชาวอเมริกัน พบว่าวันหยุดเทศกาลช่วงสิ้นปี ผู้คนกว่า 11.5% ของชาวอเมริกา วางแผนที่จะพักผ่อนในช่วงเทศกาลโดยไม่ใช้จ่ายอะไรกับของขวัญ หรือสิ่งของเพื่อความบันเทิง แต่จะเน้นไปที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่จำเป็นมากกว่า 

ยุคนี้เลือกของขวัญอย่างไร ถูกใจผู้รับและคุ้มค่า

แม้มูลค่าตลาดค้าปลีกของขวัญจะแนวโน้มลดลงในปัจจุบัน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการให้ของขวัญยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ ไม่ว่าจะประเทศไหน สังคมไหนก็ตาม แต่ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและโรคระบาด ทำให้คนรุ่นใหม่หันกลับมาทบทวนการเลือกซื้อของขวัญที่ยั่งยืนและคุ้มค่ามากขึ้น 

ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น การซื้อของขวัญมากจนเกินไป ย่อมกระทบเรื่องค่าใช้จ่าย รวมถึงผู้ให้มักเลือกซื้อของที่ผู้รับไม่ได้ใช้จริง สุดท้ายต้องวางทิ้งไว้เฉยๆ กลายเป็นของรกบ้านเสียเปล่า หรือหากซื้อของที่มีวันหมดอายุมาให้แล้วไม่ได้กินหรือใช้ ก็จำเป็นต้องทิ้งไป เกิดเป็นขยะ ต้นเหตุของมลภาวะต่างๆ ตามมาอีกมากมาย

ดังนั้นยุคนี้ คนจะซื้อของขวัญอะไรให้กันต้องคิดให้เยอะขึ้น สอบถามความต้องการของผู้รับก่อนซื้อน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ หรือถ้ากลัวว่าจะไม่เซอร์ไพร์ส การเลือกของขวัญโดย ‘ให้ทางเลือกแก่ผู้รับ’ ก็น่าจะตอบโจทย์ 

ทางเลือกที่ว่านี้ได้แก่ ซื้อของที่เป็น ‘สื่อกลาง’ ให้ผู้รับสามารถนำสื่อกลางนั้น ไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการที่ตนเองต้องการได้ โดยไม่เจาะจงของให้ แต่ให้ผู้รับสามารถเลือกได้ด้วยตนเอง เช่น บัตรเงินสด, บัตรส่วนลด, Gift Voucher เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้รับเสมือนได้เงินตามมูลค่าที่อยู่ในบัตร แล้วสามารถไปเลือกซื้อของได้จริง หรือจะเก็บไว้ใช้จ่ายทีหลังก็ตามสะดวก ปัจจุบันมีแบรนด์ร้านค้าต่างๆ ทำบัตรของขวัญในลักษณะนี้ออกมาอย่างมากมาย และได้รับความนิยมในการซื้อไปเป็นของขวัญด้วย

นอกจากน้ี ผู้ให้ยังสามารถเลือกซื้อของขวัญที่ผู้รับจำเป็นต้องใช้จริง เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อลดละการทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่เสียเปล่า เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้องการทำงาน, บริการที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพและการป้องกันโรค, แพ็กเกจประกันหรือบริการด้านต่างๆ  เป็นต้น 

ทางเลือกของขวัญเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่สามารถสร้างความคุ้มค่าให้แก่ทั้งผู้ให้และผู้รับได้ เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัวดีและมีโรคระบาด หลายคนจึงลดการซื้อของขวัญฟุ่มเฟือยลง แต่เน้นไปที่การให้ของที่ใช้ได้จริงและให้ของขวัญกันในรูปแบบออนไลน์ ปรากฏให้เห็นมากขึ้นด้วยเช่นกัน 

 

ที่มา :

https://www.cea.or.th/th/single-statistic/gift-economy 

https://www.cnbc.com/2021/11/25/holiday-shopping-2021-more-americans-wont-be-buying-holiday-gifts-this-year.html

https://www.ted.com/talks/alex_gendler_what_is_a_gift_economy/transcript?language=th#t-96624

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า