SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ.สรุปผลกระทบอิทธิพล “พายุโนรู” ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด ยังคงมีน้ำท่วม-น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 8 จังหวัด ขณะที่ GISTDA เปิดภาพจากดาวเทียมพบพื้นที่น้ำท่วม 762,394 ไร่

GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมของวันที่ 30 กันยายน 2565 ติดตามพื้นที่น้ำท่วมที่เกิดจากพายุโนรูเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทย โดยส่วนใหญ่พบในบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งล่าสุดพบแล้วสูงถึง 762,394 ไร่ ส่วนใหญ่พบพื้นที่ลุ่มน้ำชีและมูล ในพื้นที่ 17 จังหวัดดังนี้ ศรีสะเกษ 150,227 ไร่ สุรินทร์ 109,560 ไร่ อุบลราชธานี 109,176 ไร่ ขอนแก่น 93,972 ไร่ บุรีรัมย์ 66,942 ไร่ ร้อยเอ็ด 62,282 ไร่ นครราชสีมา 36,359 ไร่ มหาสารคาม 34,830 ไร่ ชัยภูมิ 29,523 ไร่ อำนาจเจริญ 19,404 ไร่ ยโสธร 16,937 ไร่ กาฬสินธุ์ 14,741 ไร่ หนองบัวลำภู 5,904 ไร่ สกลนคร 3,881 ไร่ อุดรธานี 3,373 ไร่ หนองคาย 2,925 ไร่ และนครพนม 2,359 ไร่

พื้นที่นาข้าวเสียหายแล้วถึง 504,851 ไร่ พื้นที่น้ำท่วมขังส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำ ริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลักและสายรอง ชุมชนที่อยู่อาศัย และเส้นทางคมนาคมบางส่วน

ข้อมูลจากดาวเทียมฮิมาวาริ-8 ของญี่ปุ่นเมื่อเวลา 11.00 น. พบว่า พายุโนรูได้สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ซึ่งสอดคล้องตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา แต่หลายพื้นที่ของประเทศไทยยังคงมีฝนตกอยู่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้เข้าไปเพิ่มเติม สมทบกับปริมาณน้ำก่อนหน้านี้ส่งผลให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมมากขึ้นเช่นกัน

ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานผลกระทบพายุโซนร้อนกำลังแรงโนรู (NORU) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อย เคลื่อนผ่านสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลาง พายุเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 18.00 น. ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น

ระหว่างวันที่ 28-30 ก.ย. 2565 มีสถานการณ์อุทกภัย-วาตภัย ในพื้นที่ 11 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี ชัยนาท และสระแก้ว รวม 35 อำเภอ 72 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,121 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 รายผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เนื่องจากสาเหตุลมพัดต้นไม้ลมทับรถยนต์ ดังนี้

1. เพชรบูรณ์ เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

2. อำนาจเจริญ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และอำเภอลืออำนาจ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3. ศรีสะเกษ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอน้ำเกลี้ยง และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 16 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

4. ยโสธร เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอคำเขื่อนแก้ว รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง

5. อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอพิบูลมังสาหาร รวม 12 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,026 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

6. มุกดาหาร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี และอำเภอดอนตาล รวม 8 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1 ครัวเรือน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

7. ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น รวม 5 ตำบล 5 หมูบ้าน ระดับน้ำลดลง

8. ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และอำเภอบ้านเขว้า รวม 9 ตำบล 20 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

9. สระบุรี เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งคอย และอำเภอวังม่วง รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

10. ชัยนาท เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอหันคา และอำเภอสรรพยา รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 750 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

11. สระแก้ว เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองหาด และอำเภอวังน้ำเย็น รวม 5 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
สำหรับสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงทำให้มีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และปราจีนบุรี รวม 5 อำเภอ 18 ตำบล 67 หมู่บ้าน ภาพรวมระดับน้ำลดลง และสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี และสิงห์บุรี รวม 17 อำเภอ 132 ตำบล 685 หมู่บ้าน ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำทรงตัว

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า