SHARE

คัดลอกแล้ว

หากจะพูดถึงผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนเว็บไซต์รายใหญ่ๆ ในโลกนี้แล้วล่ะก็ เชื่อว่าชื่อที่ต้องพูดถึงเป็นอันดับต้นๆ ของหนีไม่พ้น GoDaddy ที่แม้คนไทยหลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยนัก เพราะเพิ่งเข้ามาทำตลาดในไทยอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

แต่รู้หรือไม่ว่าบริษัทที่ก่อตั้งในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ 1997 รายนี้ ในปี 2018 มีรายได้ทะลุ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผู้ให้บริการอันดับ 1 ของโลกด้านบริการ WordPress โฮสติ้ง ขยายธุรกิจไปแล้วราว 70 ประเทศทั่วโลก (ในเอเชีย 11 ประเทศ)

ปัจจุบันจึงอาจกล่าวได้ว่า GoDaddy เป็นผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนรายใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นผู้เล่นในระดับโลก แต่เรียกได้ว่า GoDaddy ก็เตรียมความพร้อมสำหรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้สอดรับกระแสการขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ

รวมถึงในประเทศไทย ที่ในปี 2565 ทิศทางของ GoDaddy คือมุ่งโฟกัสไปที่การสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีไทยในภาคธุรกิจต่างๆ ที่กำลังพยายามสร้างความเติบโตด้วยการสร้างธุรกิจออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ

[ เศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตไทยที่พุ่งทะยาน ปูทางสู่การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ ]

จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ระบุว่า คาดว่ามูลค่าอีคอมเมิร์ซของไทยในปี 2564 จะเติบโต 6.1% คิดเป็นมูลค่า 4 ล้านล้านบาท

ในขณะที่มูลค่าอีคอมเมิร์ซของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ในทางกลับกัน มูลค่าอีคอมเมิร์ซของกลุ่มเอสเอ็มอีกลับเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 13.9% จากปี 2562 มาอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาทในปี 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 ล้านล้านบาทในปี 2564

นอกจากนี้ ใน 7 เดือนแรกของปี 2564 มีผู้จดทะเบียนอีคอมเมิร์ซใหม่ 794 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากับทั้งปีของปี 2563 เรียกได้ว่ามีการเติบโตสวนทางกับวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงโควิด

ตัวเลขดังกล่าวแม้ดูน้อย แต่หากมองดูให้ดีๆ เชื่อว่าหลายคนก็คงเห็นว่า ยังมีผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซอีกเป็นจำนวนมหาศาลที่ขายของในโซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลซ ที่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทอย่างเป็นทางการ

ไม่เพียงเท่านั้น แต่ในฝั่งผู้บริโภคเองก็มีการเติบโตด้วยเช่นกัน

โดยมีการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคในไทยจะใช้บริการอีคอมเมิร์ซสูงขึ้น 43% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า และ 45% ของผู้บริโภคในเอเชีย วางแผนที่จะใช้จ่ายทางออนไลน์ภายใน 12 เดือนข้างหน้า

และนั่นทำให้ GoDaddy เห็นโอกาส และพร้อมอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนธุรกิจเหล่านี้ด้วยโซลูชั่นสำหรับการสร้างธุรกิจออนไลน์ที่เหมาะสำหรับอีคอมเมิร์ซ

‘สายทิพย์ เชวงทรัพย์’ ผู้อำนายการฝ่ายการตลาด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ GoDaddy กล่าวว่า GoDaddy มีประสบการณ์อันยาวนานในการสนับสนุนผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กทั่วโลก ด้วยฐานลูกค้าธุรกิจกว่า 20 ล้านราย

ขณะที่ผลประกอบการภาพรวมของ GoDaddy ในไตรมาส 3 ของปีนี้เติบโตขึ้น 14% เมื่เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าทั่วโลกรวมถึงไทยในทุกๆ บริการ

ไม่ว่าจะเป็น โฮสติ้ง, จดทะเบียนโดเมนเนม, แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ง่ายๆ ด้วยตัวเอง, บริการสร้างโปรเฟสชั่นนอลอีเมลเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจของลูกค้า รวมถึงบริการไมโครซอฟต์ 365 ด้วย

‘สายทิพย์ เชวงทรัพย์’ ผู้อำนายการฝ่ายการตลาด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ GoDaddy

“ตั้งแต่การเปิดตัวทีมงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปีนี้ GoDaddy คือธุรกิจระดับโลกที่กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทย ด้วยจุดแข็งหลักคือทีมบริการลูกค้าที่พูดภาษาไทย ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแบบตัวต่อตัว โดยลูกค้าสามารถเข้าถึงและติดต่อทางโทรศัพท์ มีโปรดักต์และราคาที่ตอบโจทย์กับลูกค้าชาวไทย”

[ ทลายกำแพงที่ว่า คนเอเชียชอบเข้าโซเชียลมากกว่าเว็บ ]

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าโจทย์ที่ท้าทายสำหรับ GoDaddy คือการที่พฤติกรรมของผู้บริโภคในเอเชียรวมถึงประเทศไทย ที่ชื่นชอบการใช้โซเชียลมีเดียมากกว่าเว็บไซต์ ต่างจากฝั่งยุโรปหรืออเมริกาที่มักใช้เว็บไซต์เป็นหลักจนทำให้ผู้ประกอบการสร้างเว็บไซต์ก่อนแล้วจึงสร้างโซเชียลมีเดียตามมาทีหลัง

แต่ GoDaddy มองว่า การดำเนินธุรกิจที่ดี ผู้ประกอบการควรต้องสร้างเว็บไซต์เป็นช่องทางหลัก และใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสื่อสาร เนื่องจากเว็บไซต์นั้นทรงพลังกว่าในหลายๆ ด้าน ได้แก่

1.เป็นช่องทางที่เพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจ

2.ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ 100%

3.สามารถให้ข้อมูลสินค้าและบริการได้อย่างเต็มที่

4.สามารถขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

5.ลูกค้าค้นหาเจอง่ายขึ้นจาก Google Search

6.ต่อยอดการทำการตลาดด้วย Remarketing ได้

สายทิพย์ กล่าวว่า แม้โซเชียลมีเดียจะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเอเชีย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางอาจยังตอบโจทย์ได้ไม่ครอบคลุมนัก เช่น ลูกค้าหาข้อมูลลำบาก, โซเชียลมีเดียก็มีระบบที่ลดค่าการมองเห็น ทำให้บางครั้งแม้ผู้ประกอบการบูสต์โพสต์สินค้าไปก็ยังไม่ได้รับการมองเห็นจากลูกค้า

“นอกจากนี้ หากมองในเรื่องของ SEO แม้ในตอนนี้บนโซเชียลและมาร์เก็ตเพลซจะสามารถทำ SEO แล้วสินค้าติดอยู่บนหน้าการค้นหาของ Google ได้ แต่ก็มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าเว็บไซต์

“มากไปกว่านั้น การทำเว็บไซต์ยังมีความได้เปรียบกว่าการใช้โซเชียลมีเดียตรงที่ เว็บไซต์สามารถเก็บฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาวิเคราะห์และต่อยอดทางธุรกิจต่อไปได้นั่นเอง”

“เราคาดหวังว่าในปี 2565 สถานการณ์ต่างๆ จะดีขึ้น เป็นปีแห่งการฟื้นตัวของวัฏจักรที่แข็งแกร่ง และมีการขยายตัวของความต้องการจากผู้บริโภคที่อัดอั้นไว้ มีเอสเอ็มอีไทยจำนวนมากขึ้นที่กำลังพิจารณากลยุทธ์ธุรกิจด้านดิจิทัล

“โดย GoDaddy ยังมุ่งสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ผลิตภัณฑ์และบริการของเรา จะสามารถช่วยสร้างธุรกิจออนไลน์เพื่อให้บริการลูกค้าของตนได้” สายทิพย์กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า