SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนคงเคยได้ยินกันว่า ‘ทองคำ’ เปรียบเสมือน ‘หลุมหลบภัย’ หรือ ‘Safe haven’ ในยามที่หลายสินทรัพย์กำลังผันผวน ทฤษฎีนี้ยังเป็นจริงอยู่แค่ไหน ทองคำจะยังช่วยป้องกันพอร์ตลงทุนและให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่หรือไม่

ย้อนไปในอดีตหากใครจำได้ในช่วงปี 1980 เป็นช่วงที่ราคาทองคำเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าทึ่ง โดยในช่วงหลังสงครามโลกที่ Bretton Woods ราคาทองคำถูกตรึงไว้ที่ 35 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หลังจากที่ ‘ริชาร์ด มิลเฮาส์ นิกสัน’ ซึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ ในขณะนั้นได้ตัดความเชื่อมโยงระหว่างทองคำและดอลลาร์ในปี 1971 ราคาทองคำก็พุ่งสูงขึ้นมากกว่า 800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ภายในปี 1980

ทำให้ทองคำกลายเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในทุก ๆ วัน แต่นักวิจารณ์หลายคนกลับมองว่าราคาทองคำที่สูงขึ้นเป็นลางสังหรณ์แห่งความหายนะสำหรับทั้งสกุลเงินตราและอารยธรรมตะวันตก

มาถึงในปัจจุบันแม้ว่าจะมีการซื้อขายทองคำที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ทองคำก็ค่อนข้างน่าเบื่อและมีแนวโน้มที่จะยังไม่ได้ขยับไปไหนไกล จากการศึกษาใหม่จากสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ พบว่าราคาทองคำเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 1990

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ราคาทองคำจะลดลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าทองคำมีอัตราผลตอบแทนโดยตรงเป็นศูนย์ ดังนั้นการที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนในการถือครองทองคำที่สูงขึ้นตามไปด้วย นั้นสะท้อนว่าทองคำก็เหมือนกับสินทรัพย์อื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงสกุลเงินดิจิทัล บริษัทเทคโนโลยีและอสังหาริมทรัพย์

นอกจากนั้นราคาทองคำก็ยังคงขึ้น-ลง สัมพันธ์กับความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะความต้องการทองคำจากฝั่งประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่มีความมั่งคั่งก็ส่งผลให้เมื่อมีความต้องการทองคำสูงขึ้นราคาทองคำสูงขึ้นด้วย

ภายใต้กลไกทั้งสอง อาจบอกได้ว่าทองคำไม่ใช่สินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงที่ดีในช่วงเวลาที่เลวร้ายอีกต่อไป เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ทองคำจึงกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีวัฏจักรเศรษฐกิจเช่นเดียวกันกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ

นอกจากนี้ทองคำก็เหมือนกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ตรงที่อุปทานค่อนข้างไม่ยืดหยุ่นในระยะสั้น นั่นหมายความว่าหากความต้องการเพิ่มขึ้น ก็ต้องใช้เวลาสักพักก่อนที่ทองคำจะเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ราคาทองคำอาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับที่อาจลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อความต้องการลดลง

ให้ภาพชัดขึ้นย้อนไปไม่ไกลนักปีที่แล้ว 2022 เป็นปีที่มีความผันผวนสำหรับนักลงทุน แต่สิ่งที่น่าตกใจที่สุดคือการที่ทองคำไม่สามารถรักษาชื่อเสียงในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยของโลกในช่วงที่เกิดความผันผวนได้

แต่เดิมในทฤษฎีก็คือเมื่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเช่นหุ้นร่วงลง นักลงทุนจะมองหาทองคำ ส่งผลให้ราคาสูงขึ้นและชดเชยการขาดทุน แต่ก็มีข้อโต้แย้งทางด้านทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับทองคำที่ได้เกิดขึ้นว่าความน่าสนใจลดลงหรือทองคำมีความน่าดึงดูดน้อยกว่าหุ้น เนื่องจากหุ้นยังคงจ่ายเงินปันผลแม้ว่าตลาดหุ้นจะตกก็ตาม

นอกจากนี้อีกเหตุผลหนึ่งก็คือทองคำแท่งหนึ่งอาจ “หนักและสวยงาม” แต่ก็สร้างรายได้เป็นศูนย์ นั่นทำให้ความน่าสนใจน้อยลงในปัจจุบัน เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในที่สุดหลังจากผ่านไปหลายสิบปี ส่งผลให้ผลตอบแทนจากเงินสดและพันธบัตรกลายเป็นคู่แข็งที่เพิ่มขึ้นของทองคำ

อย่างไรก็ตามหลาย ๆ คนยังมีมุมมองว่าทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี เพียงแต่ต้องจำไว้ว่าไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ชัดเจนว่า ‘ทองคำ’ จะขึ้นเมื่อหุ้นหรือพันธบัตรร่วงลง

ที่มา : Bloombergthenationalnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า