Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว แต่ก็ไม่ได้รีบร้อนที่จะปรับลดดอกเบี้ยลงในช่วงต้นปีหน้า นี่คือคำบอกเล่าของ ‘เจอโรม พาวเวลล์’ ประธาน Fed ต่อนักลงทุนในตลาด

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนนักลงทุนจะไม่สนใจคำพูดของประธาน Fed เท่าไหร่นัก สะท้อนจากความผันผวนในตลาดหุ้น

เริ่มจากตลาดหุ้นเอเชียที่ยังคงปั่นป่วน โดยตลาดหุ้นออสเตรเลีย (AEST) ตลาดหุ้นเกาหลี (KST) และตลาดหุ้นฮ่องกง (HKT) ต่างปรับตัวขึ้น แต่ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (JST) และจีนแผ่นดินใหญ่ (CST) กลับปรับตัวลง

ทางด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) อายุ 2 ปี ดิ่งลงต่ำสุดนับตั้งเเต่เดือน มี.ค.ปีนี้

ส่วนสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง ‘ทองคำ’ กลับปรับเพิ่มขึ้นมากถึง 3.1% มาอยู่ที่ 2,135.39 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (34,350 บาทต่อบาททองคำ) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในปีนี้ 

บทวิเคราะห์จากฮั่วเซงเฮงระบุว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 68.6 ดอลลาร์จากสัปดาห์ก่อน ปัจจัยหนุนมาจากดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง และ Bond Yield สหรัฐลดลง จากคาดการณ์ Fed ยุติการขึ้นดอกเบี้ย

ขณะที่บิตคอยน์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.82% อยู่ที่ 41,000 ดอลลาร์ (ราว 1.4ล้านบาท) โดย Beincrypto  เผยว่า ราคาบิตคอยน์เคลื่อนไหวตามโมเมนตัมของตลาดซึ่งได้รับแรงหนุนจากการอนุมัติกองทุน Bitcoin ETF

‘ไคลี่ รอดดา’ (Kyle Rodda) นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของ Capital.com ในเมลเบิร์น เผยว่า ราคาทองคำและบิตคอยน์พุ่งขึ้นสวนทางค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น

แม้นักวิเคราะห์จะคาดการณ์ว่า Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้เร็วที่สุดในเดือน มี.ค.ปีหน้า (2567) และคาดว่าจะผ่อนนโยบายการเงินอย่างเต็มที่ภายในเดือน ธ.ค.ปีเดียวกันก็ตาม

ด้าน ‘เชน โอลิเวอร์’ (Shane Oliver) หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ AMP Ltd. ในซิดนีย์ เผยว่า ตลาดหุ้นมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงสิ้นปีนี้และต้นปีหน้า อานิสงส์จากเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงเรื่อยๆ 

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงจำเป็นต้องจับตาดูรายงานสำคัญด้านเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ 

          •  อัตราเงินเฟ้อของจีน  
          • การค้าจีน 
          • ทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน
          • ข่าวสาร China Evergrande Group ชนะข้อตกลงการปรับโครงสร้างกับเจ้าหนี้ 
          • ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ 
          • ยอดค้าปลีก GDP ยุโรป และตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ 

ประกอบกับติดตามราคาน้ำมันที่ปัจจุบันยังคงอยู่ในช่วงผันผวนระหว่างกำไรหรือขาดทุน โดยปัจจัยหลักมาจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง

และแน่นอนว่ารายงานเหล่านี้มีผลต่อการผันผวนของราคาสินทรัพย์ต่างๆ นักลงทุนจำเป็นต้องติดตามรายงานเศรษฐกิจเพื่อประกอบการลงทุนในช่วงนี้ 

ที่มา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า