Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บอร์ด สปสช. เคาะงบกองทุนบัตรทอง ปี 2567 วงเงิน 2.1 แสนล้านบาท ดูแลประชากรกว่า 47.67 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.1% จากปี 2566 เฉลี่ยอัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,988 บาท/ประชากร

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ข้อเสนองบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2567 (กองทุนบัตรทอง 30 บาท)

โดยในการจัดทำข้อเสนองบประมาณกองทุนฯ ปี 2567 มีกรอบแนวคิดพื้นฐานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มุ่งเน้นให้ความเป็นธรรมตามความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน คำนึงถึงประสิทธิผลและคุณภาพของการบริการสาธารณสุข และประสิทธิภาพของการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข โดยยึดโยงและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของสหประชาชาติ ยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงมาตรการการไขปัญหาและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 แผนปฏิบัติราชการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับทบทวน พ.ศ 2565) ข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็น สิทธิประโยชน์รายการใหม่ และการสนับสนุนนวัตกรรมทางการแพทย์ เป็นต้น โดยในการคำนวณงบประมาณ ได้นำข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนบริการ (Cost inflation rate) ทั้งเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่ายา/เวชภัณฑ์ ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายอื่นๆ และจำนวนประชากรที่ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท รวมถึงกรณีการว่างงานและย้ายสิทธิ 185,945 คน มาเป็นข้อมูลในการจัดทำข้อเสนอดังกล่าว

สำหรับปีงบประมาณ 2567 นี้ สปสช.ได้จัดทำข้อเสนอวงเงินรวม 212,449.83 ล้านบาท เพื่อดูแลประชากรสิทธิบัตรทอง 47.671 ล้านคน หรือเฉลี่ย 3,988.90 บาท/ประชากร โดยรวมเงินเดือนบุคลากรทางการแพทย์ภาครัฐ 65,552.62 ล้านบาท และเป็นงบประมาณสู่การบริหารจัดการโดย สปสช. 146,897.21 ล้านบาท อย่างไรก็ตามภาพรวมของคำของบประมาณปี 2567 นี้ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8,309.80 ล้านบาท หรือ 87.69 บาท/ประชากร คิดเป็น 4.1% ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนบุคลากรฯ 3,710.73 ล้านบาท และเพิ่มในส่วนของงบบริหารจัดการ 4,599.27 ล้านบาท

จากการจัดทำข้อเสนองบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2567 นี้ แยกเป็น

1. งบค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่าย 164,012.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2,409.88 ล้านบาท

2. ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 4,084.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 106.07 ล้านบาท

3. ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 12,953.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,001.14 ล้านบาท

4. ค่าบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเรื้อรัง 1,197.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 126.14 ล้านบาท

5. ค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย และชายแดนใต้ 1,490.29 ล้านบาท

6. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับบริการระดับปฐมภูมิ 512.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 323.43 ล้านบาท

7. ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็น

– ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กปท.) จำนวน 2,550.60 ล้านบาท ลดลง 221.40 ล้านบาท

– ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (LTC) 1,526.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 260.75 ล้านบาท

– ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด 530.71 ล้านบาท

8. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการ 603.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 166 ล้านบาท

9. ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 22,988.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,607.07 ล้านบาท

นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า ภายใต้ข้อเสนองบประมาณนี้ยังได้เพิ่มเติมรายการสิทธิประโยชน์ใหม่ 27 รายการ รวมกว่า 2,819.39 ล้านบาท ที่กระจายอยู่ตามงบในหมวดต่างๆ โดยมาจากนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและประกาศคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ อาทิ บริการรักษากระดูกสะโพกหักใน Intermediate care, บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ระยะกลางแบบผู้ป่วยนอก, บริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (Self test), บริการรักษาโรคเบื้องต้นที่คลินิกการพยาบาลและผดุงครรภ์, บริการเจาะเลือดนอกโรงพยาบาล, บริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่, บริการ Telehealth สำหรับการรักษา, บริการ Common illness ที่ร้านยา, การปลูกถ่ายกระจกตาชั้นใน เป็นต้น นอกจากนี้มีบริการต่อเนื่องจากปี 2566 รวมถึงการเพิ่มเติมรายการยาใหม่ ทั้งในกลุ่มยาบัญชี จ.2 และยารักษาโรคโควิด-19 ที่ประกาศในบัญชียาหลักแห่งชาติ

ทั้งนี้งบประมาณได้ครอบคลุมการดูแล ทั้งรักษาพยาบาล สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ที่นอกจากเน้นการเข้าถึงแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน โดย สปสช.จะนำเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป สำหรับในส่วนงบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สปสช. ได้แยกงบประมาณในส่วนของผู้ที่ไม่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อรอความชัดเจนในประเด็นกฎหมายต่อไป

นพ.จเด็จ กล่าวเพิ่มว่า นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สปสช. ยังได้ดำเนินการจัดทำประเด็นเพื่อติดตาม ศึกษาและพัฒนาในปี 2567 โดยเน้นความสำคัญ 6 ด้าน คือ 1. ติดตามความเสี่ยงการรับบริการเกินความจำเป็น 2.ติดตามค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายแฝง กรณีบริการผู้ป่วยกลุ่มติดบ้าน (Homeward) 3.ติดตามระบบบริการส่งต่อ-รับกลับ 4.พัฒนาบูรณาการรายการ อัตราการจ่ายให้เป็นระบบเดียวกัน 5.ศึกษารูปแบบการจ่ายแบบ Value Base (ความคุ้มค่า) โดยเฉพาะบริการแม่และเด็ก และ 6.ให้ติดตามการเข้าถึงบริการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาสู่การพัฒนาระบบต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า