SHARE

คัดลอกแล้ว

จับตา 3 ก.พ.นี้ เบิกความครั้งแรก คดี “เหมืองทองคำอัครา” ที่สิงคโปร์ ตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการ หลังถูกสั่งปิดแล้วกว่า 3 ปี

เมื่อเวลา 12.17 น. วันนี้ (29 ม.ค.63) นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดเผยกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ออนไลน์ ถึงความคืบหน้ากำหนดการพิจารณาคดีตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างราชอาณาจักรไทย กับ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ในจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) (กรณีที่มีคำสั่งให้เหมืองแร่ทองคำชาตรียุติการประกอบกิจการในปี 2559) โดยระบุว่า กระบวนการดังกล่าว ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม คือ ในวันที่ 3 ก.พ.2563 ณ ประเทศสิงคโปร์ หลังจากถูกเลื่อนการการพิจารณาคดี ที่ฮ่องกง เมื่อเดือน พ.ย.2562

อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยอีกว่า วันที่ 3 ก.พ.นี้ ถือเป็นการเข้าสู่กระบวนการเบิกความครั้งแรก โดยอนุญาโตตุลาการจะใช้เวลาพิจารณา 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 3 – 12 ก.พ.2563 โดยได้เตรียมพยานหลักฐานอย่างเต็มที่ในการต่อสู้คดี แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะส่งผลต่อรูปคดี

ด้าน แหล่งข่าวจากบริษัท อัคราฯ กล่าวว่า ยังคงพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลไทย โดยในระหว่างนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการขอเข้าพบเพื่อหารือถึงแนวทางการปฏิบัติเพื่อหาทางออกร่วมกัน ส่วนการต่อสู้คดีนั้นได้เตรียมพยานไว้พร้อมแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้เช่นกัน

สำหรับเหมืองแร่ “ชาตรี” หรือ เหมืองทองคำอัครา เปิดให้สัมปทานขุดเหมืองบริเวณรอยต่อของ จ.พิจิตร, จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ.2543 ยุครัฐบาลนายชวน หลีกภัย โดยบริษัท คิงส์เกท คอนโซลิเดเต็ด จำกัด จากประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้ชนะ ได้สิทธิสัมปทาน พร้อมมอบหมายให้บริษัทลูกในประเทศไทย บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจการการขุดเหมือง

หลังขุดทองกันได้ 7 ปี ในปี พ.ศ.2550 มีกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบออกมาร้องเรียน และความขัดแย้งในพื้นที่ เพิ่มดีกรีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มชาวบ้านมีทั้งฝ่ายสนับสนุนเหมืองทองคำ และฝ่ายที่ต่อต้านอยากให้เหมืองยุติ จนในที่สุด วันที่ 14 ธ.ค. 2559 ด้วยคำสั่งของ คสช. ที่ 72/2559 ประกาศว่า “ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำ จะต้องระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป”

“ส่วนคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ต้องระงับการอนุญาตให้สำรวจ หรือทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงระงับการต่ออายุสัมปทานเหมืองแร่ทองคำ นอกจากนั้น ผู้ประกอบการ ต้องฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ตามที่กำหนดไว้ในรายการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม”

ถือเป็นการใช้ มาตรา 44 ระงับข้อขัดแย้ง ซึ่งก็มีเสียงวิจารณ์ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า