SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นร้อนแรงที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นทางการเมือง กรณี หัวหน้า คสช. ใช้ ม.44 ยกเลิกประทานบัตรเหมืองทองคำ เป็นเหตุให้ถูกนำมาอภิปรายในสภาถึงคุณสมบัติแคนดิเดตนายกฯ “พล.อ.ประยุทธ์” อีกทั้งต้องจับตา วันที่ 19 พ.ย.นี้ อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศนัดหารือครั้งแรก ข้อพิพาทระหว่าง บ.คิงส์เกตฯ และรัฐบาลไทย หวั่นจ่ายค่าโง่เหมืองทอง ส่งผลกระทบความเชื่อมั่นการลงทุน

จากการอภิปรายคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมานี้ โดยผู้อภิปราย นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ได้หยิบยกประเด็นเมื่อปลายปี 2559 พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งใช้มาตรา 44 ประกาศคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 72/2559 ระงับการสำรวจและประกอบกิจการทำเหมืองแร่ทองคำชาตรี รวมถึงใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำของของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่รอยต่อ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ โดยให้ยุติประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค 2560 เป็นต้นไป ทำให้พนักงานของบริษัทราว 1,000 คน ตกงานทันที จนทำให้รัฐบาลถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และอาจส่งผลให้แพ้คดีในที่สุดนั้น

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย

ประเด็นนี้ ถูกแย้งทันควัน จากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายว่า คำกล่าวของนายสุทิน ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะการอภิปรายว่ารัฐบาลจะต้องจ่ายค่าเสียหายจากการถูกฟ้องร้องกว่า 40,000 ล้านบาท แต่ข้อเท็จจริงถูกฟ้องร้องเพียง 3,000 ล้านบาท อีกทั้งสาระสำคัญ คือสิ่งที่นายสุทิน บอกว่ารัฐบาลจะแพ้คดี 100 เปอร์เซ็นต์นั้นไม่เป็นความจริง พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลไทยมีโอกาสชนะคดี ซึ่งบริษัทดังกล่าวทำผิดเงื่อนไข เพราะผลการตรวจสอบจากกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทไม่สามารถดูแลความเรียบร้อย และทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ จึงเป็นเหตุให้ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องสั่งปิดเหมืองแร่ดังกล่าว

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ ส.ค. 2560 บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ในประเทศออสเตรเลีย ผู้ถือหุ้นใหญ่ ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ออกแถลงการณ์ให้ทางการไทยยกเลิกระงับกิจการ รวมถึงเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งทางรัฐบาลไทยยืนยันจะไม่จ่ายค่าชดเชย ในเดือนถัดมาจึงเป็นเหตุให้ทาง คิงส์เกตฯ ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA)

ผ่านมาเกือบสองปี ประเด็นนี้ถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อช่วงเดือน มี.ค.62 ที่ผ่านมา มีข่าวลืออย่างต่อเนื่องว่า บริษัทคิงส์เกตฯ ขู่ว่าจะยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 2.7 หมื่นล้านบาท ในอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น จนเรียกว่าเป็น ‘ค่าโง่เหมืองทอง’ หากแพ้คดีจริงๆ

ด้าน นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัทคิงส์เกตฯ ย้ำเมื่อวันที่ 29 มี.ค.62 ว่ายังไม่มีการจ่ายค่าชดเชยกรณีเหมืองแร่ทองคำ รัฐบาลไทยพร้อมสู้ตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ

ต่อมา 31 มี.ค.62 บริษัทคิงส์เกตฯ บริษัทแม่ของบริษัท อัครา เปิดเผยว่าบริษัท ซูริก ออสเตรเลีย อินชัวรันซ์ ลิมิเต็ด (Zur-ich Australia Insurance Limited)  ในฐานะผู้รับประกันภัยให้กับบริษัทคิงส์เกตฯ เตรียมจ่ายเงินชดเชยจากกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงทางการเมือง มูลค่ากว่า 82 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 1,843 ล้านบาท ให้กับทางบริษัทคิงส์เกตฯ ซึ่งเป็นการจ่ายเงินชดเชยภายใต้กรมธรรม์คุ้มครองความเสี่ยงด้านการเมือง

ทั้งนี้ แหล่งข่าวระดับสูง เปิดเผยกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ว่า ในวันที่ 19 พ.ย 62 คณะอนุญาโตตุลาการ จะมีการพิจารณาข้อพิพาทเป็นครั้งแรก ระหว่างบริษัทคิงส์เกตฯ กับรัฐบาลไทย หลังจากที่คิงส์เกตฯ ได้ยื่นฟ้องกรณีที่รัฐบาลไทยละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย โดยการต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ คาดว่าจะรู้ผลการพิจารณาภายใน 2 ปี

นอกจากนี้ แหล่งข่าวยังเผยอีกว่า ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขการเรียกร้องชดเชยค่าเสียหายที่ชัดเจนได้ เพราะอยู่ระหว่างขั้นตอนการเจรจา จึงไม่สามารถตอบได้ว่าจำนวนหลายหมื่นล้านบาท ตามกระแสข่าวลือหรือไม่ ซึ่งต้องติดตามอีกครั้งในวันที่ 19 พ.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม นอกจากตัวเลขการเรียกร้องชดเชยค่าเสียหายที่ต้องจับตาแล้ว หากแพ้คดีและต้องยอมจ่าย ‘ค่าโง่เหมืองทอง’ จริงๆ ผู้รับผิดชอบควักเงินจ่ายคือใคร ในเมื่อการออกคำสั่งมาจาก มาตรา 44 ที่อาจคุ้มครองผู้ใช้ และความเสียหายอาจไม่ได้หยุดที่แค่เม็ดเงินเท่านั้น แต่ทั้งหมดสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนอีกด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามที่กล่าวอ้างเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนในพื้นที่ประกอบกิจการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า