Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เราคงเห็นกันผ่านตามาบ้างกับมีมโลเคชั่นที่เชียงใหม่เต็มไปด้วย ‘ร้านกาแฟ’ บอกเลยว่าเรื่องนี้ไม่เกินจริง หลังจาก TODAY Bizivew ได้ไปทดลองใช้ชีวิตใจกลางถนนนิมมานเหมินท์อยู่หลายวันก็ค้นพบจริงๆ ว่าร้านเครื่องดื่มให้ลองเลือกดื่มนั้นแทบจะไม่ซ้ำกันทุกวัน และที่สำคัญคือ ‘กาแฟดีจริง’ แม้จะมีราคาเกือบๆ เท่ากรุงเทพฯ

ในมุมของภาพรวมธุรกิจแล้วการที่มีร้านเครื่องดื่มใกล้ๆ กันขนาดนั้นคงหนีไม่พ้นคำพูดที่ว่าร้านเครื่องดื่มของเชียงใหม่คือ ‘Red Ocean’ (พื้นที่ทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงที่สุด) ทำให้ดูเหมือนว่าทุกร้านจะต้องมีการแข่งขันกันดุเดือด แต่ในความจริงแล้วเจ้าของร้านกาแฟเหล่านั้นต่างเป็นคอนเนคชั่นในแบบ ‘เพื่อนกัน’

TODAY Bizivew ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘แนน – บุณยนุช ศิริวงศ์’ เจ้าของร้าน GOODSMOOD ร้านสมูททีใจกลางนิมมานฯ ที่ต้องปรับตัวไปกับตลาด Red Ocean ของร้านเครื่องดื่มด้วยการมองหากลยุทธ์และจุดเด่นเพื่อเป็นผู้เล่นในตลาดนี้

[ หากาแฟดื่มในเชียงใหม่ ร้านเล็กร้านใหญ่ก็ชงจริงจัง ]

‘บุณยนุช ศิริวงศ์’ เล่าให้ฟังว่า เดิมทีคนเชียงใหม่มีรสนิยมชอบดื่มกาแฟอยู่แล้ว และมีความจริงจังเรื่องการดื่ม ทำให้ธุรกิจร้านเครื่องดื่มจึงเป็นที่นิยมทำกัน ส่วนใหญ่เจ้าของร้านมักจะรู้จักและเป็นเพื่อนกัน หรือพูดง่ายๆ ว่าในแวดวงร้านเครื่องดื่มก็รู้จักกันเป็นเครือข่ายพันธมิตร 

ขณะที่ในภาพการแข่งขันนั้นต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะแข่งกันที่การตกแต่งร้าน และรสชาติของเครื่องดื่ม เพราะหลักๆ แล้วแต่ละร้านเครื่องดื่มมีฐานลูกค้าที่ต่างกัน เช่น บางร้านก็เปิดเพื่อนักศึกษาให้นั่งทำงานได้ยาวๆ บางร้านก็เปิดเพื่อคนวัยทำงาน หรือบางร้านก็เน้นเช็คอินถ่ายรูปแล้วก็ไป ซึ่งด้วยฐานลูกค้าที่ต่างกันไปแบบนี้ก็ใช่ว่าจะยืนหนึ่งได้ เพราะกลุ่มลูกค้ามีตัวเลือกร้านให้ลองมากมายมากกว่าจะอยู่ที่ร้านเดิม

และอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจที่ คนต่างจังหวัดหรือคนภายนอกอาจจะยังไม่รู้ ‘การชงกาแฟ’ ของร้านคาเฟ่ในเชียงใหม่มีความ ‘จริงจัง’ แม้บางร้านจะเป็นร้านเล็กๆ แต่เครื่องชงกาแฟหรือเครื่องบดกาแฟก็อยู่ที่ราคาหลักแสน ไม่ว่าร้านเล็กใหญ่มั่นใจได้ว่าคุณภาพดี

[ Red Ocean มีใครพ่ายแพ้จนปิดกิจการในน่านน้ำนี้บ้างไหม? ]

แม้ปัจจุบันจะมีร้านเครื่องดื่มเยอะแยะในเชียงใหม่ แต่หากมองดูดีๆ แล้วส่วนใหญ่จะมีการ ‘เปิดใหม่’ มากกว่าการ ‘ปิดตัว’ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะรสนิยมของคนในเชียงใหม่มีความชิลล์ ความอาร์ต ทำให้ร้านเครื่องดื่มเงียบๆ บรรยากาศดีๆ ยังตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าอยู่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าในภาพรวมแล้วยังต้องวางแผนธุรกิจให้ดีๆ 

เช่นเดียวกับ ‘บุณยนุช ศิริวงศ์’ ที่ลงเล่นในตลาดเครื่องดื่มก็จริง แต่เขากลับเป็นร้านเครื่องดื่ม ‘สมูทที’ ราคากรุงเทพฯ  

[ GOODSMOOD ร้านสมูททีราคากรุงเทพฯ เน้นวัตถุดิบทำเอง ]

‘บุณยนุช ศิริวงศ์’ เล่าให้ฟังถึง GOODSMOOD ร้านสมูททีของเธอว่า ต้องยอมรับว่าตลาดเครื่องดื่มในเชียงใหม่มีการแข่งขันสูงจริงๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นการแข่งขันของ ‘กาแฟ’ ซึ่งเธอเองนั้นก็ชอบดื่มกาแฟ แต่ด้วยความที่ตัวเลือกเยอะ ตกเย็นร้านกาแฟก็ต้องปิดผู้คนไม่มีเครื่องดื่มอื่นๆ 

ขณะที่เธอเองก็ยังคงชอบดื่มสมูททีไม่แพ้กาแฟเลย จึงเป็นไอเดียในการก่อตั้งร้าน เพราะมองแล้วว่าในเชียงใหม่มีแค่ร้านสมูททีเพียวๆ เช่น น้ำอโวคาโด น้ำมะม่วง น้ำสตรอว์เบอร์รีปั่นเพียวๆ ไม่ได้นำมาผสมกัน เธอจึงคิดค้น GOODSMOOD ขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายที่จะแข่งขันตลาดนี้ เธอยังคงต้องหาความแตกต่างให้กับแบรนด์อยู่ดี

โดย GOODSMOOD เป็นร้านสมูททีใจกลางถนนนิมมานเหมินท์ที่นำหลายๆ อย่างมาผสมเข้ากันเพื่อให้ได้เครื่องดื่มสุขภาพ ซึ่งร้านสมูททีของเธอก็เน้นวัตถุดิบที่แตกต่างกันไปจากร้านอื่นๆ เช่น นมอัลมอนด์ที่เธอทำขึ้นเอง รวมถึงตัวครีมที่เลือกคิดค้นสูตรขึ้นมาเองเช่นกัน ซึ่งสมูททีร้านของเธอไม่สามารถเลือกระดับความหวานได้เลย เพราะเน้นใช้ความหวานจากผลไม้ และเมื่อนำมาผสมกันแล้วเกิดเป็นเมนูต่างๆ ที่ได้รับรสชาติกลมกล่อมมาพร้อมคุณประโยชน์สูง และความเฮลตี้จริงๆ ของการดื่ม  

[ GOODSMOOD เตรียมเข้ากรุงฯ ]

เมื่อวัตถุดิบที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่ดีก็มาพร้อมกับราคาต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ทำให้สมูททีแต่ละแก้วเฉลี่ยอยู่ที่ 100-150 บาท หรือพูดง่ายๆ ว่านี่คือราคาเดียวกับในกรุงเทพฯ 

ในเรื่องราคานี้เองก็น่าสนใจไม่น้อยเพราะนอกจากต้นทุนวัตถุดิบแล้ว ราคาค่าเช่าที่ใจกลางถนนนิมมานเหมินท์ก็ไม่เบาเลย เพราะบางร้านอยู่ที่ราวๆ หลักแสนต่อเดือน หรือเทียบเท่าค่าเช่าที่ทำเลดีๆ ในกรุงเทพ ทำให้การขายราคานี้ถือเป็นสิ่งที่ลูกค้ากล้าจ่าย เพราะร้านอยู่ใจกลางเมือง มาพร้อมสมูททีคุณภาพดี มีกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำ เช่น หมอ พยาบาล นักศึกษาแพทย์ เจ้าของธุรกิจ หรือคนรักสุขภาพ รวมถึงนักท่องเที่ยวที่แวะผ่านไปมา 

นอกจากนี้ GOODSMOOD มีแผนที่จะเปิดแบรนด์ใหม่สำหรับเครื่องดื่มน้ำเต้าหู้ในราคาที่จับต้องได้กว่าเดิมอีกด้วย และยังบอกอีกว่ามีเสียงเรียกร้องจากลูกค้าในกรุงเทพให้ไปเปิดแบรนด์ที่กรุงเทพ ซึ่งนี่ก็เป็นแพลนในอนาคตที่แบรนด์จะไป เพราะถ้าเทียบจริงๆ แล้วต้นทุนวัตถุดิบ ค่าเช่าก็ไม่ได้ต่างจากการขายที่เชียงใหม่เท่าไรนัก แต่ที่อาจจะต่างไปหน่อยอาจจะมีเรื่องของค่าโลจิสติกส์วัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมาเท่านั้น

ย้อนกลับมาที่บทสรุปของร้านเครื่องดื่มในเชียงใหม่ ต้องยอมรับว่าหนึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือไม่ว่าใครก็เลือกดื่มร้านโลคอลมากกว่าเชนร้านเครื่องดื่มใหญ่ๆ ทำให้แม้ว่าจะตลาดนี้จะเป็น Red Ocean แต่ทุกร้านก็ยังมีลูกค้าอยู่  

ต้องมาดูกันต่อว่าหลังจากนี้จะมีคาเฟ่เพิ่มขึ้นในเชียงใหม่อีกมากน้อยแค่ไหน เพราะดูเหมือนว่ายังคงมีกระแสเปิดร้านใหม่เป็นระยะๆ แต่ที่แน่ๆ เลยคือตอนนี้คาเฟ่ในเมืองเชียงใหม่คงมีไม่ต่ำกว่า 1,000 ร้าน… 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า