SHARE

คัดลอกแล้ว

อดีตผู้บริหาร Google China ระบุในหนังสือขายดีของตนเองว่า เหตุผลหนึ่งที่ Google ล้มเหลวและพ่ายแพ้แก่ Baidu ในตลาดจีน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรับตัวช้า โดยยกตัวอย่างความแตกต่างในฟังก์ชันการคลิกเพื่อเข้าชมหน้าเว็บเพจต่างๆ ซึ่งเขามองว่า Baidu เลือกปรับฟังก์ชั่นได้เข้ากับพฤติกรรมการเสิร์ชของคนจีนมากกว่า

ปัจจุบัน Baidu ถือเป็นเสิร์ชเอนจินที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศจีน โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่กว่า 66% ส่วน Google แม้ว่าจะเข้าไปแข่งขันในตลาดจีนเช่นกัน แต่กลับมีส่วนแบ่งตลาดอยู่เพียงไม่ถึง 10%
เป็นเพราะอะไร?

ไคฟู ลี (Kai-fu Lee) อดีตผู้บริหาร Google China ในช่วงปี 2005-2009 ได้เขียนอธิบายความล้มเหลวดังกล่าวของ Google ไว้ในหนังสือขายดีเล่มล่าสุดของเขา “AI Super-powers: China, Silicon Valley and the New World Order” ว่า เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Google ล้มเหลวในตลาดจีน เป็นเพราะ Google ปรับตัวช้า ไม่ทันกับบริษัทอย่าง Baidu ที่ปรับฟังก์ชั่นต่างๆ ได้เข้ากับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนจีนมากกว่า

เขาได้ยกตัวอย่างพฤติกรรมการใช้เสิร์ชเอนจินของคนจีน โดยจากการวิจัยของ Google China เองพบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนใช้เสิร์ชเอนจินต่างจากคนอเมริกันมาก โดยคนอเมริกันโดยทั่วไปจะใช้เวลาอยู่กับหน้า google เพียงประมาณ 10 วินาที และมักจะมองและคลิกที่ผลลัพธ์ 2 อันแรกที่อยู่ด้านบนซ้ายของจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น

แต่พฤติกรรมการใช้เสิร์จเอนจินของคนจีนไม่ได้เป็นแบบนั้น

จากการวิจัยของ Google China เองพบว่า คนจีนอยู่ในหน้าเสิร์ชเอนจินนานกว่าคนอเมริกันมาก โดยใช้เวลาอยู่ในหน้าผลลัพธ์การเสิร์ชประมาณ 30-60 วินาที อีกทั้งไม่ได้มองและคลิกแค่ผลลัพธ์ลำดับแรกๆ เท่านั้น แต่ว่าจะมองไปทั่วๆ จอ ดูผลลัพธ์ที่ขึ้นมาทุกอัน และคลิกผลลัพธ์การค้นหาหลายอัน ไม่จำกัดอยู่แค่ผลลัพธ์ 2 ลำดับแรกแบบคนอเมริกัน

ไคฟู ลี ตั้งข้อสังเกตว่า คนอเมริกันใช้เสิร์ชเอนจินเหมือนเป็น “สมุดหน้าเหลือง” นั่นคือใช้เพื่อต้องการหาข้อมูลบางอย่าง เมื่อพบแล้วก็จบ ไม่ต้องใช้เวลาอยู่กับหน้าเสิร์ชเอนจินนานนัก ในขณะที่คนจีนใช้เสิร์ชเอนจินเหมือนเป็น “ห้างสรรพสินค้า” คือใช้เวลาสักพักกับการเลือกดูผลลัพธ์ทุกอันที่ขึ้นมา สำรวจดูผลลัพธ์การค้นหาหลายๆ อันไม่ต่างจากการค่อยๆ เลือกชมสินค้าในห้าง

Baidu เข้าใจพฤติกรรมการใช้เสิร์ชเอนจินนี้ของชาวจีน และเลือกที่จะให้ Baidu มีฟังก์ชั่นต่างออกไปจาก Google เล็กน้อย โดยหากใครลองใช้ Baidu.com แล้วคลิก (คลิกซ้ายปกติ) ไปที่ผลลัพธ์ที่ขึ้นมา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ Baidu จะเปิดลิงก์ผลลัพธ์การค้นหาดังกล่าวไปที่ tab ใหม่ (new tab) ให้โดยอัตโนมัติ โดยที่หน้าเสิร์ชของ Baidu จะยังอยู่ ไม่ถูกปิด

ในขณะที่ Google หากคุณคลิกไปที่ผลลัพธ์ คุณจะถูกพาไปที่ลิงก์ของผลลัพธ์นั้นๆ เลยใน tab เดิมที่คุณใช้ทำการค้นหา ซึ่งหมายความว่าหน้าเสิร์ช google ของคุณจะถูกปิดไปด้วยโดยปริยาย ไคฟู ลี เปรียบเทียบว่า นี่ไม่ต่างจากการบังคับให้ลูกค้าต้องออกจากห้างทันทีที่เขาเลือกหยิบชมสินค้าสักชิ้นหนึ่ง

ไคฟู ลี อธิบายว่า เขาได้พยายามผลักดันให้ Google เปลี่ยนฟังก์ชันในประเทศจีนให้เป็นเหมือน Baidu แต่กระบวนการดังกล่าวมักใช้เวลานาน เนื่องจากสำนักงานใหญ่ของ Google ไม่อยากจะให้มีอัลกอริทึมหลายชุดซึ่งอาจทำให้รักษาความเสถียรได้ยาก และแม้ว่าสุดท้ายเขาจะผลักดันเรื่องดังกล่าวได้สำเร็จ แต่ก็ต้องใช้เวลานานหลายเดือน ซึ่งในระหว่างนั้น Baidu ก็สามารถคว้าส่วนแบ่งตลาดในจีนจำนวนมากไปครองได้แล้ว

เรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2005-2009 ระหว่างที่ไคฟู ลี ทำงานที่ Google China

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า