Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สำหรับคนกรุงเทพหลายคน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา อาจตกอยู่ในสภาวะอกสั่นขวัญแขวน เมื่อมีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในหลายจุดทั่วเมือง หลายคนอาจจะรับรู้ข่าวสารผ่านโทรทัศน์หรือไม่ก็สื่อสังคมออนไลน์อย่าง ทวิตเตอร์ (Twitter) หรือ เฟซบุค (Facebook) แต่หลายคนก็รู้เรื่องผ่านอีกช่องทางหนึ่ง นั่นก็คือ กูเกิล แมปส์ (Google Maps) หรือบริการแผนที่ของกูเกิล และ กูเกิล เสิร์ช (Google Search) หรือบริการค้นหาข้อมูลของ Google นั่นเอง

ที่ผ่านมา กูเกิลเปิดบริการนี้ในบางประเทศ แต่เหตุการณ์ความไม่สงบล่าสุดในกรุงเทพมหานคร ถือเป็นการเปิดใช้บริการใหม่อย่างเป็นทางการในประเทศไทยเลย ว่าแต่บริการนี้คืออะไร แล้วจะแจ้งเตือนอย่างไรบ้าง?

อะไรคือบริการแจ้งเตือนจุดเกิดเหตุฉุกเฉินของกูเกิล (Google SOS Alert)?

Google SOS Alert หรือบริการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินของกูเกิล จัดเป็นบริการใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2017 โดยพัฒนามาจากระบบก่อนหน้าที่เปิดตัวเมื่อปี 2014 ระบบจะแจ้งเตือนข้อมูลฉุกเฉินทั้งหมด ครอบคลุมไปตั้งแต่แผนที่ ข่าว รวมถึงการแจ้งเตือนผ่านแอพของกูเกิลที่ติดตั้งอยู่บนโทรศัพท์มือถือ และเพิ่งเพิ่มความสามารถในการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติอย่าง แผ่นดินไหว พายุเฮอร์ริเคน และน้ำท่วม พร้อมกับภาพเหนือแผนที่ไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เรียกง่ายๆ ว่าเป็นสุดยอดบริการแจ้งเตือนของ Google เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ นั่นเอง

แจ้งเตือนอะไรบ้าง? ข้อมูลมาจากไหน?

บริษัทระบุเอาไว้ในเว็บไซต์ว่า การแจ้งเตือนจะใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งจากหน่วยงานของรัฐ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในบริเวณนั้น ข้อมูลจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนที่เชื่อถือได้ นำมาประมวลผลรวมกันแล้วแจ้งเตือนผู้ใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลในการติดต่อฉุกเฉิน ข้อมูลการบริจาค และอื่นๆ

ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมโดยทีมงานที่นั่งอยู่ทั่วโลก พร้อมกับผนวกรวมข้อมูลของกูเกิลเอง ทำให้ออกมาได้ข้อมูลที่แม่นยำและตรงประเด็นมากที่สุดนั่นเอง

สำหรับข้อมูลที่แจ้งเตือนมักจะเป็นข้อมูลภัยพิบัติท้องถิ่นที่สำคัญเป็นหลัก เช่น พายุ น้ำท่วม แต่ก็มีข้อมูลอย่างเช่น ภัยพิบัติด้านมนุษยธรรม หรือเหตุการณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การก่อการร้าย การวางระเบิด เป็นต้นด้วย

แจ้งเตือนอย่างไร?

ถ้าระบบของ Google ตรวจพบว่าเครื่องที่เรียกใช้บริการต่างๆ ของ Google อยู่ในเขตภัยพิบัติที่ต้องมีการแจ้งเตือน ระบบค้นหาของ Google จะทำการแจ้งเตือนผู้ใช้โดยอัตโนมัติ พร้อมข้อมูลแนะนำ ในกรณีที่เครื่องนั้นอนุญาตให้เข้าถึงตำแหน่งผู้ใช้ ระบบจะแจ้งเตือนผ่านการแจ้งเตือนของโทรศัพท์โดยอัตโนมัติ หากผู้ใช้เปิด Google Maps ก็จะเห็นตำแหน่งจุดเกิดเหตุได้ทันที ผู้ใช้สามารถกดที่จุดเกิดเหตุเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้

การแจ้งเตือนของ Google SOS Alert

ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ แม้จะไม่ได้รับการแจ้งเตือน แต่ถ้าค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จะได้รับการแจ้งเตือนเหมือนกัน แปลว่าผู้ใช้ก็สามารถรับรู้ถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลกด้วยเช่นกัน

การแจ้งเตือนระหว่างการค้นหา

สำหรับในประเทศไทย บริการนี้เปิดใช้งานแล้วเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา (วันเกิดเหตุลอบวางระเบิดหลายจุดในกรุงเทพมหานคร) และเปิดใช้งานอย่างถาวรพร้อมกับบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บริการแจ้งเตือนภัยพิบัติสาธารณะ โดยผู้ที่สนใจสามารถใช้งานได้ที่ https://google.org/publicalerts 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า