SHARE

คัดลอกแล้ว
หลังนายกรัฐมนตรีจัดให้มีรายการรับบริจาคน้ำท่วม เมื่อ 17 กันยายน 2562 เกิดข้อสงสัยจากหลายฝ่ายว่างบประมาณที่ใช้แก้ปัญหาปฏิบัติตามปกติมาจากไหน ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ถือโอกาสนี้ พาให้ทุกคนได้รู้จักโครงสร้างของงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือภัยพิบัติกัน
 
ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี (วงเงินปี 2562 3 ล้านล้านบาท) รายจ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน
 
ส่วนแรกคืองบประมาณประจำปี (2,894,500 ล้านบาท) ที่แบ่งให้ หน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ต่าง ๆ ใช้สอยในการปฏิบัติหน้าที่ตามแผนงานประจำปี และเป็นงบประมาณที่รัฐบาลใช้ในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ เช่น นโยบายการพัฒนาระบบคมนาคม การดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม เป็นต้น
 
ส่วนที่ 2 เรียกว่างบประมาณรายจ่ายงบกลาง (105,500 ล้านบาท) ใช้ดำเนินการในกรณีที่มีเหตุต่าง ๆ นอกแผนงาน ซึ่งแยกย่อยออกเป็นค่าใช้ต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
 
ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (2,500 ล้านบาท) โดยแต่ละส่วนราชการจะมีวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติฉุกเฉินไป ก่อนที่จะได้รับงบประมาณรายจ่าย เช่นสำนักนายกรัฐมนตรีมีเงินส่วนนี้ 100 ล้านบาท ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการอนุมัติ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมีเงินส่วนนี้จังหวัดละ 20 ล้านบาท โดยผู้ว่าราชการของแต่ละจังหวัดมีอำนาจอนุมัติ เพื่อให้มีการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เมื่อช่วยเหลือแล้วแต่ละหน่วยราชการจึงทำเรื่องเบิกเงินที่ทดรองไปแล้วคืนจากงบก้อนนี้เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ
 
ส่วนเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (99,000 ล้านบาท) กำหนดให้ใช้ได้ใน 4 กรณี
1.เป็นรายจ่ายเพื่อการป้องกันหรือแก้ไขสถานกาณณ์อันมีผลกระทบต่อความวงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ
2.เป็นรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อการเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภันพิบัติสาธารณะร้ายแรง
3.เป็นรายจ่ายที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว แต่มีจำนวนไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็ว
4.เป็นรายจ่ายที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ แต่รัฐมีภารกิจจำเป็นเร่งต่วนที่จะต้องดำเนินการและต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็ว
 

พิจารณาจากโครงสร้างงบประมาณนี้แล้ว พบว่า
(1)กรณีเกิดภัยพิบัติแต่ละหน่วยราชการจะดึงเงินทดรองราชการที่อยู่ในงบประมาณของแต่ละหน่วยการปกครองออกมาใช้
(2)เงินทดรองราชการตามข้อ 1 จะได้รับคืนภายหลังจากเงินชดใช้ที่แบ่งไว้ในงบกลาง
(3)อาจดึงเงินจากเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ได้ในกรณีที่งบประมาณยังไม่เพียงพอ โดยทำเรื่องขอจัดสรรไปยังสำนักงบประมาณ และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงทีและเต็มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ระบุว่าอาจมีแหล่งงบประมาณอื่นนอกจากนี้ ได้แก่
(4) เงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
(5) เงินบริจาค

ที่มา
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๐
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า