SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ที่เริ่มเมื่อวันที่ 25 ก.ค. และสิ้นสุดเช้าวันใหม่ 03.33 น. ของวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ต้องเข้าสภา และพบกับ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง

ช่วงเวลาการแถลงและอภิปรายรวมประมาณ 34 ชั่วโมง ถ้าไม่นับช่วงไปราชการที่ทำเนียบรัฐบาล ช่วงสายวันที่ 26 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ ปรากฏตัวในสภาเกือบตลอด เพื่อต้องการแสดงให้เห็นการเปลี่ยนบทบาท จากการเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการยึดอำนาจ ในช่วงรัฐบาล คสช. มาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

แม้จะเตรียมตัวมาอย่างดี แต่ก็ยังมีหลุดเรื่องขั้นตอนและหลักปฏิบัติของสภาบ้าง เช่น การไม่พูดกับประธาน การชี้นิ้วใส่สมาชิกสภา หรือการเสียงดังและพูดด้วยความหงุดหงิดจนถูกประธานที่ประชุมเตือน รวมทั้งมาหลุดอารมณ์เสีย เมื่อถูกคำอภิปรายเชิงยั่วยุจากพรรคฝ่ายค้าน จนมีการตั้งคำถามว่า หลังจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จะเลี่ยงการเข้าสภาไปเลยหรือไม่จนกว่าจะถึงวาระบังคับที่เลี่ยงไม่ได้

นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ประธานคณะกรรมการประสานงานร่วมพรรครัฐบาล หรือวิปรัฐบาล ให้ความมั่นใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ ให้ความสำคัญกับการประชุมรัฐสภาด้วยการนั่งฟังตั้งแต่ต้นจนจบ มากกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่ผ่านมา และแจ้งด้วยว่า ถ้ามีกระทู้สำคัญของ ส.ส. ก็พร้อมจะมาตอบด้วยตนเอง แต่ถ้าเรื่องที่รองลงไปจะมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้ตอบ

สำหรับการตั้งคำถามให้ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมาตอบก็คือ “กระทู้ถาม” ซึ่งถือเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือสภา ในการควบคุมการทำงานของรัฐบาล โดยตั้งคำถามให้มีการชี้แจงโดยตอบในที่ประชุมสภา หรือตอบในราชกิจจานุเบกษา

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 150 วรรคสอง ก็เปิดช่องไว้ว่า “รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สําคัญของแผ่นดิน”

กระทู้ถามจะแบ่งเป็น
– กระทู้ถามสด ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน, กระทบประโยชน์ชาติและประชาชน รวมทั้งเรื่องเร่งด่วน ประธานสภาบรรจุได้ไม่เกิน 3 กระทู้ต่อสัปดาห์ เวลาถาม-ตอบ เรื่องละ 20 นาที
– กระทู้ถามทั่วไป ข้อเท็จจริงงานหน้าที่ของรัฐมนตรีและเรื่องนโยบายการบริหารงาน ประธานสภาบรรจุได้ไม่เกิน 3 กระทู้ต่อสัปดาห์แต่สามารถเพิ่มได้ถ้ามีกระทู้ฯ รอบรรจุเข้าที่ประชุมอยู่มาก

ดังนั้น ถ้ามีกระทู้ที่ถามนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการมาตอบเองก็อาจจะมาปรากฏตัวที่สภาได้ หรืออาจจะเลี่ยงโดยมอบหมายรัฐมนตรีคนอื่นมาตอบก็ได้

แต่วาระสำคัญที่อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีต้องมาที่สภาอีกครั้งคือ การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ปี 2563 และที่ต่างไปจากการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา คือ จะต้องมีการลงมติด้วยซึ่งหากรัฐบาลแพ้โหวต โดยธรรมเนียมนายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก

ขั้นตอนของ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563  ร่างเดิมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่แล้วได้เห็นชอบวงเงินไว้ 3,200 ล้านบาท ซึ่งในการประชุม ครม. ชุดใหม่ วันอังคารที่ 30 ก.ค.นี้ จะนำเข้าหารือว่าจะคงกรอบงบประมาณเดิมไว้หรือไม่

จากนั้นกระทรวงต่างๆ จะทำคำขอใช้งบประมาณตามนโยบายของรัฐบาล เมื่อแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค. จะนำกลับเข้า ครม. และเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร

อย่างไรก็ตาม สมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎร 120 วันจะสิ้นสุด วันที่ 18 ก.ย. จึงจะต้องมีการเปิดการประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ เป็นพิเศษ โดยคาดว่าอาจจะเริ่มพิจารณาได้ในช่วงเดือน ต.ค.

พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องเข้าสภาอีกครั้งในช่วงดังกล่าว บรรยากาศอันดุเดือดเหมือนการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาจะกลับมาอีกครั้ง และจะเป็นการพิสูจน์ว่า รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำจะสามารถควบคุมเสียง ส.ส. ให้ พ.ร.บ.งบประมาณ ผ่านไปได้หรือไม่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า