SHARE

คัดลอกแล้ว

คำถามหนึ่งที่ติดปากคนไทยในเวลานี้คือ เมื่อไรเราจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารงาน

หากนับจากวันเลือกตั้ง 24 มี.ค. 62 ถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 3 เดือน ที่การจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ยังไม่ลงตัว

หรือหากนับจากวันที่มีการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ 7 พ.ค. 62 ก็เป็นเวลามากกว่าเดือนครึ่งซึ่งถือว่าไม่น้อย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามเรื่องนี้หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 25 มิ.ย. ว่าจะได้ รัฐบาลใหม่กลางเดือน ก.ค.

มีการวิเคราะห์กันว่า สาเหตุที่แม้จะได้นายกรัฐมนตรีแล้ว ตั้งแต่ 5 มิ.ย. แต่ไม่มีความพยายามเร่งจัดตั้งรัฐบาลใหม่เพื่อเข้าทำงาน เพราะสถานภาพปัจจุบันรัฐบาลยังมีอำนาจเต็มและมีอำนาจมากกว่ารัฐบาลใหม่ที่จะตั้งขึ้นด้วยซ้ำไป เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีสถานะหัวหน้า คสช.อยู่ด้วย

รัฐธรรมนูญ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 264 ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญจะเข้ารับหน้าที่

ทั้งนี้ ไม่ได้มีการจำกัดอำนาจ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไว้ เช่น ต้องไม่ใช้อำนาจแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการ, ต้องไม่อนุมัติใช้จ่ายงบประมาณสำรอง, ไม่อนุมัติโครงการที่มีผลต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป

นอกจากนั้น มาตรา 265 ยังกำหนด ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ

นั่นยังรวมถึงการคงการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราวปี 2557 โดยเฉพาะ “มาตรา 44” ไว้ด้วย

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เคยระบุถึงการสิ้นสุดของ คสช. คือ เมื่อ ครม.ชุดใหม่เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณรับหน้าที่

ขั้นตอนของคณะรัฐมนตรีใหม่ตอนนี้อยู่ระหว่างการให้ว่าที่รัฐมนตรีกรอกประวัติและลงชื่อรับรอง เพื่อให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบคุณสมบัติ จากนั้นนายกรัฐมนตรีและนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป

เมื่อโปรดเกล้าฯ แล้ว ครม.ก็จะเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตน และต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ภายใน 15 วัน เมื่อนั้นจึงจะมีรัฐบาลใหม่อย่างสมบูรณ์

สำหรับการตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้า แม้จะไม่ส่งผลต่อตัวนายกรัฐมนตรี และดูเหมือนจะเป็นผลดีกว่าด้วยซ้ำ

แต่มีผลกระทบแน่นอนต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ

นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ให้มุมมองเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ช่วงหลังเลือกตั้งที่ผ่านมา 3 เดือนไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ ถือว่าช้ามากและหากช้าไปอีก 1 เดือน จะยิ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นมากขึ้น

การตั้งรัฐบาลล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน การบริหารนโยบายทางเศรษฐกิจสะดุด และจะกระทบกับเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง

ขณะที่ นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ก็กระตุ้นให้ เร่งตั้งรัฐบาลเพื่อสร้างความเชื่อมั่น เพื่อดึงนักลงทุนต่างชาติที่พร้อมเข้ามาลงทุน แต่หาไทยไม่ชัดเจนก็อาจจะย้ายไปลงทุนที่เวียดนามแทน

ส่วน “หนุ่มเมืองจันท์” สรกล อดุลย์ยานนท์ ผู้สื่อข่าวและคอลัมนิสต์ที่คร่ำหวอดทั้งด้านธุรกิจและการเมือง ก็กล่าวถึง การเกิดสูญญากาศทางการเมืองว่า กระทบทั้งการลงทุนขนาดใหญ่ ที่รอดูนโยบายรัฐบาลผสม และเรื่องการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ ที่ล่าช้า ส่งผลกระทบต่อเงินใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบ

ที่สำคัญของภาคธุรกิจคือ แม้เกิดสูญญากาศทางการเมือง แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เคยหยุดวิ่งตามไปด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า