SHARE

คัดลอกแล้ว

ป.ป.ส. เปิดสถิติ 1 ปี พบเจ้าหน้าที่รัฐทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 27 ราย ยึดทรัพย์ 33 ล้าน เลขาฯ สั่งยกเลิก ‘ปลัดอำเภอ’ เป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หลังเกิดกรณี ชุดจับกุมเรียกรับเงินแก๊งค้ายา โดยจัดฉากว่าถูกปล้นชิงตัวผู้ต้องหา ที่ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา 

นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)  เปิดเผยว่า ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เน้นย้ำการขับเคลื่อนมาตรการปราบปรามและการบังคับใช้กฎหมาย ทำลายนายทุนที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งการเอาจริงในการดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

โดยในปีงบประมาณ 2565 (ตั้งแต่ 1 ต.ค. 64 – 30 ก.ย. 65) พบเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 323 เรื่อง ตรวจสอบแล้ว 249 เรื่อง จับกุมผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดรวม 27 ราย ยึดทรัพย์สินรวมมูลค่า 33 ล้านบาท ซึ่งตนได้เร่งดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกกรณีไม่มียกเว้น

ส่วนกรณีปลัดอำเภอและ ทีม อส. รวม 6 นาย ซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสงขลา เรียกรับผลประโยชน์จากแก๊งค้ายาเสพติด ซึ่งปลัดอำเภอหรือเจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐและได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.

กรณีดังกล่าวนี้ พบว่า ปลัดอำเภอ หัวหน้าชุด เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าพนักงาน ป.ป.ส จริง แต่มีการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ ตนจึงได้มีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัด จะได้ดำเนินการทางวินัยและคดีอาญาต่อไป

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 กำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ส. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี โดยให้รายงานข้อเท็จจริง ปัญหาอุปสรรค ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน เพื่อรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อเป็นการกำกับติดตามการใช้อำนาจไม่ให้เกิดการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนด้วย

“โดยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด อาทิ ก่อนการปฏิบัติหน้าที่จะต้องแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้งก่อนปฏิบัติหน้าที่ การจับบุคคลจะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบโดยไม่ชักช้า และจะต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือส่งตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยทันที และหากจะใช้อำนาจควบคุมตัวผู้ถูกจับเพื่อสืบสวนสอบสวนก็สามารถดำเนินการได้โดยผู้ใช้อำนาจควบคุมตัวจะต้องเป็นผู้เดียวกับที่ใช้อำนาจจับกุมโดยสามารถควบคุมตัวเพื่อขยายผลไม่เกิน 3 วันและต้องแจ้งผู้บังคับบัญชารับทราบ ภายหลังจากมีการใช้อำนาจดังกล่าวแล้วจะต้องรายงานให้ เลขาธิการ ป.ป.ส. ทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน” นายวิชัย ระบุ

ภาพจาก : สำนักงาน ป.ป.ส. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ออกหมายจับ ปลัด-อส. สงขลา เรียกรับเงิน-จัดฉากปล้นยาเสพติด ‘อนุพงษ์’ บอกให้เป็นไปตามกม.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า