SHARE

คัดลอกแล้ว

“ตั้งแต่เล็กมาได้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ คิดได้ว่ามีนโยบายดีๆ มากมายจากทุกยุคทุกสมัย การมาเป็นนายกรัฐมนตรีของดิฉัน ดิฉันอยากจะสร้างนโยบายดีๆ ให้กับประเทศ ไม่ว่านายกจะเป็นใคร รัฐบาลจะเป็นชุดไหน แต่นโยบายดีๆ ยังต้องอยู่กับพี่น้องประชาชน”

 

ไม่ได้คิดไปเอง เพราะนี่เป็นคำยืนยันของ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่พูดเอาไว้ระหว่างการแถลงผลงานครบรอบ 90 วันที่รัฐบาลได้ปฏิบัติหน้าที่ ก่อนจะฉายภาพโอกาสของประเทศไทย ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568 กับนโยบายที่มีต้นแบบมาจากนโยบาย ‘ดีๆ’ ในอดีต ที่ดีอยู่แล้ว จึงตั้งใจนำมาสานต่อ ปี 2568 จะได้เห็นนโยบายใหม่ไหนกันบ้าง สำนักข่าวทูเดย์ ยกตัวอย่างมาให้ดูกัน

ODOS 1 อำเภอ 1 ทุน

เปิดมาด้วยนโยบายแรก คงมีคนร้องอ๋อกันบ้าง สำหรับนโยบายหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ที่คุ้นชื่อกันดีว่า ODOS โดย นายกฯ แพทองธาร ระบุว่า นโยบายนี้จะเริ่มเปิดให้สมัครภายในปีหน้า เป้าหมายก็เพื่อสนับสนุนการศึกษา เปิดโอกาสให้เด็กศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ทั้งในไทยและต่างประเทศ ด้วยเงินสนับสนุนของคนไทยทั้งชาติที่ยินดีจ่ายกันไม่อั้นทุกเดือน นั่นคือ เงินจากกองสลาก ร่วมกับการสนับสนุนให้เด็กไทยได้เห็นโลกกว้าง ผ่าน Summer Camp

หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง คำดังกล่าว ย่อมาจาก One District One Scholarship ที่เคยเกิดขึ้นครั้งรัฐบาลไทยรักไทย ที่นำโดยอดีตนายก ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2547 ซึ่งใช้งบประมาณจากกองสลากไม่ต่างกัน โดยมีจุดตั้งต้นมาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่ในช่วงฟื้นตัวไทยยังไม่สามารถพัฒนาได้ทันการแข่งขัน และเพื่อยกระดับขีดความสามารถ หวังให้ไทยหลุดจากกับดักความจน รัฐบาลในตอนนั้นถึงได้ผลักดันทุนนี้ จนได้รับการตอบรับจากเด็กๆ ทั่วประเทศ ด้วยเงื่อนไขว่า เรียบจบต้องกลับมาทำงานในไทย 

หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน

ภาพของ ‘ครูทักษิณ’ ในวันที่เปิดตัวโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน (Lab School Project) ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ในปี 2546 ชัดเจนขึ้นมาทันที หลังวันนี้นายกแพทองธาร ระบุ จะพัฒนาโรงเรียนต้นแบบประจำอำเภอ เพิ่มหลักสูตรการสอนภาษา การอบรมหลักสูตร AI ด้วยเป้าหมายของสองโครงการนี้ดูจะไปในทิศทางเดียวกัน 

“ไม่ใช่ทุกคนจากทั่วประเทศ จะวิ่งเข้ามาเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ เซนต์คาเบรียล หรือเตรียมอุดมศึกษาได้ แต่ต้องให้ทุกอำเภอมีโรงเรียนดีๆ ไม่เช่นนั้น ประเทศไทยซึ่งมี 2 สังคม จะกลายเป็นวัฏจักรที่แยกกัน และนับวันจะเป็นสังคมที่ห่างกันออกไปเรื่อยๆ จึงต้องพยายามลดช่องว่างให้เหลือสังคมเดียวให้เร็วที่สุด” นี่เป็นข้อความที่ อดีตนายกฯ ทักษิณ กล่าวในวันที่มีการเปิดตัวโครงการนี้อย่างเป็นทางการ

คงต้องรอติดตามว่า ‘โรงเรียนต้นแบบ’ จะปั้นให้มี ‘ครูแพทองธาร’ ทักทายนักเรียนในห้องเรียนวันแรก อย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหรือไม่

กระจายอำนาจสู่ชุมชน VS OTOP

ไม่มีใครรู้ดีว่าเก่งอะไร เท่ากับคนในชุมชนเอง เป็นวิธีคิดของ โครงการ SML ที่ต้องการกระจายอำนาจสู่ชุมชน ของรัฐบาลแพทองธาร เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้สะท้อนปัญหา และความต้องการ แล้วรัฐจะช่วยลงทุน ต่อยอด เพื่อสร้างเป็นอาชีพให้กับชุมชน

วิธีคิดเช่นนี้ จึงชวนให้นึกถึงโครงการที่เคยโด่งดังในปี 2544 คือ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ โอทอป ในยุคของรัฐบาลไทยรักไทย ซึ่งมีเป้าหมายจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ลักษณะเฉพาะ ที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่นแต่ละตำบล ต่อยอดเป็นงานแสดงสินค้า โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ที่ประสบความสำเร็จของญี่ปุ่น

บ้านเพื่อคนไทย หวนนึกถึงบ้านเอื้ออาทร

หลายงานวิจัยในรอบปีที่ผ่านมา ระบุแล้วว่า ยิ่งอยากขึ้นไปเรื่อยๆ ที่คนไทยจะมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะหากเป็นเด็กจบใหม่ ยังไม่ต้องพูดถึงการเป็นเจ้าของ แค่เพียงการเช่า ยังอยู่ภายใต้งบจำกัดและต้องแลกด้วยคุณภาพที่อยู่อาศัยที่ไม่ดี รัฐจึงเปิดตัว ‘บ้านเพื่อคนไทย’ ซึ่งจะใช้พื้นที่ของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดยมีทำเลที่ดีเดินทางสะดวกใกล้แล้วรถไฟรถไฟฟ้าใกล้สิ่งของอำนวยความสะดวก 

นายกฯ แพทองธาร อธิบายรายละเอียดเบื้องต้นว่า เป็นการใช้พื้นที่การรถไฟสร้างคอนโดคอนโดมิเนียม เริ่มที่ขนาด 30 ตารางเมตร ที่สำคัญจะไม่มีการจ่ายเงินเงินดาวน์ แต่จะเป็นการจ่ายระบบค่าเช่าแทน เริ่มต้นเดือนละ 4,000 บาท ให้ผ่อนยาวไม่เกิน 30 ปี มีสิทธิอยู่ 99 ปี ซึ่งเป็นสิทธิ์เฉพาะสำหรับคนที่ยังไม่เคยมีบ้านเท่านั้น และในปีหน้าจะมีห้องตัวอย่างให้ได้รับชมแล้ว 

เช่นเดียวกับครั้งปี 2547 สมัยรัฐบาลทักษิณ ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหานี้ ด้วย โครงการบ้านเอื้ออาทร” ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ถึงแม้จะเกิดปัญหาทุจริตตามมาในภายหลังอีกมากมาย แต่ในตอนนั้นโครงการก็เดินหน้าไปได้ตามแผน กับการสร้างสร้างบ้าน 1 ล้านหลัง ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และอาคารชุดสูง รองรับให้ผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 – 15,000 ต่อเดือน ได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

คงต้องรอติดตาม ว่าท้ายสุดแล้วในปี 2568 แต่ละโครงจะเดินหน้าและประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า