SHARE

คัดลอกแล้ว

หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล (ภาพจาก FB)

จากกรณีที่ หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กแสดงความเห็นต่อนโยบายการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของพรรคประชาธิปัตย์ ว่าอาจจะเป็นการ “ล้มล้างราชอาณาจักรไทย” แบ่งแยกประเทศออกเป็นหลายรัฐ และนำไปสู่การยกเลิก สถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากการกระจายอำนาจการปกครองด้วยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจะทำให้รูปแบบของประเทศเปลี่ยนไปเป็น “สหพันธรัฐ” ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง จะไม่ฟังรัฐบาลอีกต่อไป และรัฐอิสระอาจรวมตัวกันจัดตั้งเป็น “ประเทศใหม่” ในอนาคต หรือ สถาปนาสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐของตนเอง

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่า กทม. ที่มาจากการเลือกตั้งคนล่าสุด (ภาพจาก @Sukhumbhandp)

ถ้าย้อนกลับไปแนวความคิดเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงมีการพูดถึงมานานแล้ว โดยได้รับความสนใจมากในช่วงปี 2535-2536 เมื่อพรรคการเมืองหลายพรรคเสนอแนวคิดเรื่องนี้ ก่อนที่ภายหลังกระแสจะลดลงไป เพราะพรรคที่ได้รับเลือกตั้งไม่สานต่อเรื่องที่หาเสียงไว้ โดยอ้างว่าเป็นความเห็นเฉพาะบุคคลไม่ใช่นโยบายพรรค ส่วนบางพรรคก็ให้เหตุผลว่าผลักดันต่อไม่ได้เพราะไม่ได้เป็นเสียงข้างมากในรัฐบาล

แต่ที่น่าสนใจคือ ประเด็นเรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด จะทำให้เกิดรัฐอิสระและกระทบกระเทือนสถาบันฯ ก็ถูกพูดถึงตั้งแต่ยุคนั้นโดยข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ในขณะที่ฝ่ายที่เห็นด้วยแย้งว่า การเลือกตั้งผู้ว่าฯ จะทำให้ประชาชนสามารถเลือกคนที่เข้าใจปัญหาท้องถิ่นของตนอย่างแท้จริงเข้าไปบริหารจัดการ ผู้ว่าฯ ไม่ได้มีอำนาจด้านการทหาร การต่างประเทศและการจัดเก็บภาษีนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดรัฐอิสระ ขณะเดียวกันสถาบันพระมหากษัตริย์ก็อยู่เหนือการเมืองอยู่แล้ว การปรับปรุงระบบบริหารส่วนท้องถิ่นจึงไม่มีผลกระทบต่อสถาบัน (ธเนศวร์ เจริญเมือง : 100 ปีการปกครองท้องถิ่นไทย)

ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ที่ได้รับการยอมรับภาวะผู้นำในภารกิจช่วยทีมหมูป่า

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น ทิศทางก็เดินไปสู่แนวทางที่ประชาชนได้เลือกผู้บริหารท้องถิ่นของตนเอง เช่น จากเดิมที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อีกตำแหน่ง เปลี่ยนมาเป็น นายก อบจ. ต้องมาจาก สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) และมาเป็นการเลือกนายก อบจ.โดยตรงจนถึงปัจจุบัน

เช่นเดียวกับ เทศบาลที่มีการเลือกนายกเทศมนตรี และ องค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) ที่มีการเลือกนายกฯ อบต. โดยตรง และมีการเลือกฝ่ายสภาไว้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ

แต่แม้จะมีการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่นโดยตรง แต่การปกครองส่วนภูมิภาค คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ยังคงอยู่ควบคู่กันไป

ภาพ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี

อธิบายอย่างรวบรัดคือ ระบบบริหารราชการแผ่นดินไทย แบ่งออกเป็น
– การบริหารราชการส่วนกลาง (กระทรวง / กรม) บริหารและกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ
– การบริหารราชการส่วนภูมิภาค (จังหวัด / อำเภอ / ตำบล / หมู่บ้าน)  แบ่งอำนาจไปจากส่วนกลาง 
– การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (อบจ. / เทศบาล / อบต. และรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา)  กระจายอำนาจจากส่วนกลางให้ประชาชนมีอำนาจในการบริหารและตัดสินใจกิจการสาะารณะตามที่กฎหมายกำหนด

กลุ่มผู้สนับสนุนการกระจายอำนาจ มองว่าในระยะยาวการบริหารราชการส่วนภูมิภาคจะไม่มีความจำเป็น เพราะเดิมถูกวางให้เป็นตัวแทนจากส่วนกลางในการกำกับ ควบคุม อนุมัติ ดูแลและเป็นพี่เลี้ยงให้ท้องถิ่น แต่เมื่อท้องถิ่นมีการพัฒนา ผู้บริหารหลายท้องถิ่นมีความรู้ความสามารถในการบริหารระดับสูง การเลือกตั้งผู้บริหารเองจากประชาชนในพื้นที่และให้อำนาจสั่งการได้คลอบคลุมทั้งจังหวัดย่อมจะเหมาะสมที่สุด ( หากเทียบกับ นายก อบจ. ที่มีอำนาจจำกัดกว่า) ขณะที่ผู้ว่าฯ แต่งตั้งจะอยู่แค่ไม่กี่ปีแล้วก็ต้องย้ายไปจึงทำให้ทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง

มีการยกตัวอย่างกรณีการปกครองท้องถิ่นต่างประเทศที่มีเพียงส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (จังหวัด / เทศบาล) ก็สามารถพัฒนาไปได้และยังคงเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้มีการแบ่งแยกแต่อย่างใด

ส่วนผู้ที่เห็นว่าส่วนภูมิภาคยังจำเป็น มีทั้งให้เหตุผลเรื่องการปฏิบัติงานที่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง อาจจะไม่สามารถสั่งการข้าราชการที่สังกัดส่วนกลางที่ทำงานในจังหวัดได้ เช่น เกษตรจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ต่างจากผู้ว่าราชการจังหวัด “พ่อเมือง” ที่ถูกส่งมาจากส่วนกลางเช่นกัน คือ กระทรวงมหาดไทย ไปจนถึงเหตุผลเรื่องการกลายเป็นรัฐอิสระ และกระทบกับสถาบันฯ

จึงมักเกิดวิวาทะบ่อยครั้งเมื่อมีการเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาครั้งใด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า