SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงคมนาคมเตรียมประเด็น 3 ข้อ ชี้แจงปมขยายสัมปทานสายสีเขียวในที่ประชุม ครม. วันนี้ พร้อมโต้กรณีมหาดไทย เสนอเป็นวาระจรเข้าที่ประชุม เผยข้อมูลปัญหาข้อมูลกฎหมาย กรณี กทม. ว่าจ้าง KT เดินรถ โดยไม่ผ่านการพิจารณา ของ สภา กทม. ขัด พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม.ฯ และทั้งปัญหาการติดตั้งระบบ กับจ้างเดินรถนี้ ก่อหนี้ เป็นภาระรัฐ 37,000 ล้านบาท

แหล่งข่าวระดับสูง จากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้า ปัญหาการขยายสัมปทาน รถไฟฟ้าสีเขียว ที่เป็นกรณีโต้แย้งระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย
แม้ว่าวานนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ได้ระบุว่า จะยังไม่มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในวาระประชุมวันนี้ อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคม ได้เตรียมข้อมูลต่างไว้ชี้แจงต่อ ครม.ไว้พร้อม หากมีข้อซักถามหรือกรณี หากมีการนำเสนอเรื่องดังกล่าว เป็นวาระจรให้ ครม.พิจารณาวันนี้

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้เตรียมข้อมูลชี้แจงใน 3 ประเด็นหลัก คือ

1. จุดยืนในการคัดค้านการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว จากสิ้นสุดปี 2572 ไปถึงปี 2602 หรือ 30 ปี ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคม ได้ทำความเห็นคัดค้านถึง 9 ครั้ง ครั้งหลังสุด 7 ก.พ.2565 โดยมีสาระสำคัญ 4 ข้อ ทั้งเรื่องกรอบเวลาตามสัญญาสัมปทาน ที่การขยายสัมปทาน ต้องเจรจาล่วงหน้า หากผู้รับสัมปทานประสงค์จะขยาย ไม่เกิน 5 ปี ไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งปัจจุบันยังเหลืออายุสัมปทานอีกถึง 7 ปี ประเด็น การโอนกรรมสิทธิ์ จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทไทย หรือ รฟม. ให้กทม. ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประเด็นที่ผลศึกษาการเดินรถ ในอนาคตหากภาครัฐดำเนินการ เอง จะมีกระแสเงินสด เหลือมากกว่า และประเด็นที่กระทรวงคมนาคม เสนอความเห็นให้ต้องดำเนินการ ดังนั้น จากประเด็นทั้งหมด กระทรวงคมนาคม จึงยืนยันตามความเห็นเดิมที่เคยเสนอคัดค้านตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2564 คือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทย

2. ประเด็นทางข้อกฎหมาย ที่กระทรวงคมนาคม จะเน้นย้ำให้ที่ประชุม ครม. เห็น โดยเฉพาะ กรณี การจ้างติดตั้งระบบ และจ้างเดินรถ ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งด้านเหนือ และด้านใต้ ซึ่งที่ผ่านมา การติดตั้งระบบเดินรถ กทม.ได้ว่าจ้าง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT ซึ่งประเด็นนี้มีความเห็นนักกฎหมายว่า มีการทำตามระเบียบกฎหมายครบถ้วนหรือไม่ และการว่าจ้างเอกชนรายเดิม ให้ติดตั้งระบบรถไฟฟ้า โดยไม่ได้มีการเปิดแข่งขันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อรัฐและประชาชน จะเข้าข่ายการกระทำผิด ตาม พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐฯ (กฎหมายฮั้ว) ซึ่งปัจจุบันการว่าจ้างติดตั้งระบบนี้ สร้างภาระหนี้แล้ว 20,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีประเด็น ที่ กทม. ว่าจ้าง KT เดินรถ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบ ของ สภา กทม. ซึ่งตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม. พ.ศ. 2528 ระบุ กทม. ต้องมีการเสนอสภา กทม. ให้ความเห็นชอบ กรณี ไปก่อหนี้ ซึ่งหากไม่ดำเนินการ ก็ไม่มีอำนาจสั่งจ้าง ซึ่งประเด็นว่าจ้างเดินรถนี้ ก็ก่อหนี้อีก 17,000 ล้านบาท รวมหนี้ทั้ง 2 ส่วน 37,000 ล้านบาท และหากมีการนำหนี้ก้อนหนี้ มาเสนอให้ให้ตกเป็นภาระของรัฐ โดยเป็นหนี้ที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย หาก ครม.เห็นชอบไป อาจกลายเป็นเจตนาพิเศษ ไปใช้หนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่

และ 3. เรื่องประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ จากกรณี ค่าโดยสารในการใช้บริการ ตามผลการศึกษา ของกรมการขนส่งทางราง โดยเปรียบเทียบระหว่างค่าโดยสารของ กทม . กับโมเดลที่กระทรวงคมนาคม จัดทำ หรือ MRT Assessment Standardization ซึ่งข้อเสนอของ กทม .ระบุว่าจะมีการจัดเก็บค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท หากมีการขยายสัมปทาน ถึง 2602 ให้เอกชน ขณะที่โมเดลของ MRT มีราคาสูงสุด 42 บาท ไม่นับรวม ผลการศึกษา ที่ระบุชัดเจนว่า หากรัฐดำเนินการเดินรถหลังสิ้นสุดสัมปทานเอง รัฐจะมีกระแสเงินสดเหลือกว่า 435,132 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำเงินส่วนนี้มาช่วยอุดหนุนให้ค่าโดยสารถูกลงได้อีก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า