SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม. จ่อหาพื้นที่ Sandbox ต้นแบบกแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ร่วมกับ Greenpeace ดูแลสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทั้งการใช้พลังงานสะอาดและการกำจัดขยะ

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เปิดเผยภายหลังหรือรือร่วมกับนายสมบัติ เหสกุล และนายธารา บัวคำศรี ผู้แทนกรีนพีซ (Greenpeace) พร้อมด้วยนายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อมวันนี้ (26 ก.ค. 2565) ว่าคุยเรื่องสิ่งแวดล้อมกับกรีนพีซมีจุดมุ่งหมายร่วมกันใน 3 ประเด็นหลักที่จะทำอย่างไรให้สภาพสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพฯ ดีขึ้น คือ

  1. ปัญหาฝุ่น PM2.5 กรุงเทพมหานครมี 16 แผนปฏิบัติการ และกรีนพีซเน้นเรื่องการปรับมาตรฐานให้เข้มข้นตาม WHO หาพื้นที่ Sandbox (แซนด์บ็อกซ์) ที่จะทำต้นแบบการจำกัดเรื่องฝุ่น PM2.5 ซึ่งสอดคล้องกับ 16 แผนปฏิบัติการของกรุงเทพมหานครที่เริ่มเดินหน้าการตรวจฝุ่น ควันพิษ การติดตั้งเครื่องวัดฝุ่นเพิ่ม ออกมาตรการเข้มข้นกับสถานประกอบการต่างๆ
  1. กรีนพีซอยากทำเรื่องส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดด้วยการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) อาจเริ่มจากหน่วยงานกรุงเทพมหานครก่อน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือสวนสาธารณะ ซึ่งมีอยู่ในแนวคิดอยู่แล้ว แต่จะดูเรื่องการลงทุน ความคุ้มทุน ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนร่วมกับเอกชน แต่คงไม่ได้หยุดแค่ Solar Rooftop ยังพูดถึงเรื่องพาหนะไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ด้วย
  1. เรื่องการกำจัดขยะ หลายอย่างตรงใจกัน แต่การกำจัดขยะต้นทุนสูงมาก หัวใจหลักคือ การลดต้นทุนในการกำจัดขยะมากกว่า ถ้าลดตั้งแต่ต้นทางได้ทั้งกระบวนการก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องมีหลายมิติในการจัดการ ซึ่งตรงกัน เป็นแนวทางในการหาเครือข่ายขยายตัวขึ้นการทำงานจะเป็นรูปธรรมขึ้น

ด้านผู้แทนกรีนพีซ นายสมบัติ เหสกุล บอกว่าเวลาพูดถึงขยะคนจะคิดถึงการกำจัดขยะ คำถามคือจะช่วยให้คน กทม. รู้จักการจัดการขยะอย่างไรนี่คือ หัวใจสำคัญ ตอนนี้งบประมาณในการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครจริงๆ อยู่ที่ 1 หมื่นกว่าล้านบาทไม่ใช่ 7-8 พันล้านบาท กรุงเทพมหานครจัดเก็บรายได้ได้ 1 หมื่นกว่าล้านบาท เงินของกรุงเทพมหานครมีจำกัดหากเอามาจัดการขยะอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะด้านการศึกษา สวัสดิการผู้สูงอายุ การกำกับดูแลเรื่องโรคติดต่อก็ต้องใช้เงิน หากลดต้นทุนการจัดการขยะได้ก็จะมีเงินเหลือมาจัดการในเรื่องเหล่านี้

วันนี้กรุงเทพมหานครเก็บค่าธรรมเนียมจัดการขยะได้ต่ำมากเพียง 500-800 ล้านบาท ทำอย่างไรจะลดต้นทุนการจัดการขยะแล้วสร้างระบบการจัดการขยะจากทุกภาคส่วน ต้องมีแพลตฟอร์ม Startup (สตาร์ทอัพ) ระดับเขตที่เป็นเส้นเลือดฝอยจริงๆ ยกระดับคนทำงานในพื้นที่อย่างซาเล้งให้เป็นเส้นเลือดฝอยที่สำคัญของ กทม. จริงๆ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการจัดการขยะได้มากขึ้น

นายธารา ผู้แทนกรีนพีซ กล่าวเสริมว่า สิ่งที่กรีนพีซดูอยู่คือเรื่องแผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพคุณภาพอากาศ ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้วเป็นแผนที่มองไปข้างหน้า 20 ปี นโยบายหลายด้านของผู้ว่าฯ ชัชชาติ เน้นหลายประเด็นเกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก สิ่งที่กรีนพีซเสนอและมีการแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียน การจัดการมลพิษทางอากาศในเมือง การจัดการขยะ จะนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรุงเทพฯ ที่ตั้งเป้าว่าจะเป็น Net Zero Emission ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าไปเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในการจัดการสภาพภูมิอากาศของกรุงเทพมหานคร

นายพรพรหม ปรึกษาของผู้ว่าฯ กล่าวว่า นอกเหนือจากการเสนอของกรีนพีซในเรื่อง PM2.5 แล้ว กรุงเทพมหานครได้เสนอ 16 แผนปฏิบัติการ เช่น นักสืบฝุ่นในการหาต้นตอฝุ่น พื้นที่ปลอดฝุ่น การติดเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าฝุ่นเพิ่ม รวมถึงการทำอย่างในกับรถควันดำเข้ามาในพื้นที่โดยเฉพาะรถบรรทุก ซึ่งกรุงเทพมหานครมีมาตรการดูตั้งแต่ต้นทาง ให้ไซต์ก่อสร้างพิจารณา กรีนพีซช่วยแชร์ข้อมูลการตรวจวัดฝุ่นจากสถานีตรวจวัดฝุ่นของกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ 70 แห่ง ส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปลายปี

 “สิ่งแวดล้อม กทม. ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกับภาคีเครือข่าย มีหลายจุดเริ่มต้นแล้ว มีการพบกับกระทรวงพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงทรัพยกรกับปลัดกรุงเทพมหานคร ต้องให้มีผลเป็นรูปธรรมในสิ้นปีนี้ มีการไปดูการจัดการขยะของมูลนิธิกระจกเงา พบกรีนพีซ ลงไปดูการกำจัดขยะจริงๆ ในพื้นที่ ต้องทำ ระยะยาวต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ PM2.5 วันนี้ยังไม่วิกฤตแต่ถ้าถึงฤดูกาลก็จะหนักขึ้น สิ่งที่จะนำร่องเป็นรูปธรรมและทำร่วมกับกรีนพีซได้ก่อนคือเรือง Sandbox และ Solar Rooftop ดูความเป็นไปได้ว่า กทม. จะลดค่าไฟโดยใช้โซลาร์เซลล์ได้มากน้อยแค่ไหน หาอันที่เป็นรูปธรรม สิ่งที่แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญ หลายอย่างสามารถเริ่มได้เลย” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า