Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากปัญหาโรงพยาบาลของรัฐ มีประชาชนเข้ารับการรักษาจำนวนมาก ส่งผลให้ระยะเวลาในการรอคอย ทั้งรอตรวจและรอรับยา กินเวลานานหลายชั่วโมง นายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายให้เดินหน้าแก้ไขปัญหาลดความแออัดในโรงพยาบาล และลดเวลาการรอคอยให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ โดยร้านยาแผนปัจจุบัน หรือ ขย.1 ซึ่งจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 ต.ค. นี้

ในระยะแรกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. สนับสนุนงบประมาณให้ผู้ป่วยที่ใช้ “สิทธิบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” หรือ “บัตรทอง” เฉพาะ 4 กลุ่มโรค ได้แก่ 1.โรคเบาหวาน 2.โรคความดันโลหิตสูง 3. โรคหอบหืด 4.โรคทางจิตเวช สามารถเลือกขอรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านที่มีเภสัชกรประจำอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และเข้าร่วมโครงการนี้กับโรงพยาบาล

ขั้นตอนในการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษากับแพยท์ที่โรงพยาบาลก่อน และแจ้งความจำนงกับเจ้าหน้าที่พยาบาลว่าต้องการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน เมื่อแพทย์ทำการตรวจเสร็จและประเมินว่าผู้ป่วยสามารถรับยาที่ร้านยาได้ แพทย์จะออกใบสั่งยาให้ จากนั้นผู้ป่วยสามารถถือใบสั่งยานั้นไปรับยากับร้านใกล้บ้านได้เลย ซึ่งปัจจุบันมีร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการนี้แล้วกว่า 500 แห่ง ใน 50 จังหวัด ทั่วประเทศ โดยสามารถเข้ารับได้ตลอดเวลาที่ร้านมีเภสัชกรประจำอยู่ ซึ่งโครงการนี้จะเข้ามาช่วยลดเวลาในการรอคอยที่หน้าห้องจ่ายยาให้กับผู้ป่วย และลดความแออัดในโรงพยาบาลได้ เงื่อนไขการรับบริการนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ป่วยเป็นหลัก ยาที่ผู้ป่วยได้รับจากร้านยาต้องเป็นตัวเดียวกันกับที่โรงพยาบาลจ่ายไว้เดิม โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม

เช็ก 4 เงื่อนไข ก่อนไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน 1 ต.ค. นี้

สำหรับร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นร้านขายยา ขย.1 ที่มีเภสัชกรประจำอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เนื่องจากจะต้องมีการแนะนำผู้ป่วยในการใช้ยา และยาบางชนิดเป็นยาอันตราย รวมไปถึงการติดตามการใช้ยา โดยร้านขายยาจะต้องจ่ายยาให้ผู้ป่วยตามใบสั่งแพทย์ โดยอาจจะมีการกำหนดจากแพทย์มาว่า ให้ผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านยาทุก ๆ 2 เดือน พร้อมให้เภสัชกรช่วยวัดความดัน หรือ วัดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยด้วย หรือหากพบผู้ป่วยมีความเสี่ยงให้ส่งตัวมาโรงพยาบาล พร้อมกับรายงานข้อมูลการเข้ารับยาของผู้ป่วยตามระบบของโรงพยาบาล

สำหรับรูปแบบในการจ่ายยาของร้านขายยาที่ร่วมโครงการมีหลัก ๆ 3 รูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าโรงพยาบาลและร้านยาจะตกลงใช้รูปแบบใด
1. โรงพยาบาลจัดเตรียมยาให้ผู้ป่วยแบบรายบุคคลตามใบสั่งยาของแพทย์ และส่งไปที่ร้านขายยาที่ผู้ป่วยแสดงความจำนงว่าจะไปรับ โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดำเนินการ
2. โรงพยาบาลจัดเตรียมยาสำรองไปสต็อกไว้ที่ร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยเภสัชกรที่ร้านขายยา จะทำหน้าที่จัดยาให้ผู้ป่วย ตามใบสั่งยาจากแพทย์ที่โรงพยาบาล
3. ร้านขายยาดำเนินการจัดยาให้ผู้ป่วยตามใบสั่ง โดยใช้ยาของร้ายยา แต่จะต้องเป็นยาที่เหมือนกับของโรงพยาบาล ซึ่งรูปแบบนี้โรงพยาบาลจะต้องจ่ายค่ายาให้ร้านขายยา
โดยเน้นย้ำว่าทั้ง 3 รูปแบบ ประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายเช่นเดียวกัน และไม่ต้องเสียค่าบริการ เนื่องจากเป็นการใช้สิทธิบัตรทอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า