SHARE

คัดลอกแล้ว

“สร้างนำซ่อม” หรือ การป้องกันก่อนการเกิดโรค เป็นนโยบายที่กระทรวงสาธารณสุขพยายามผลักดันมาโดยตลอด ประชาชนสามารถเข้ารับบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคได้จากสิทธิหลักประกันสุขภาพ ล่าสุดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้จัดงานเสวนา “ไร้โรค ดีกว่ารักษา บทบาทบัตรทองกับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค” เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ เข้าถึงสิทธิตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

วันที่ 8 ก.ย. 2563 สำหนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดเสวนา “ไร้โรค ดีกว่ารักษา บทบาทบัตรทองกับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค” โดยมีทั้งหน่วยงานกำกับดูแล นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 13 กทม. , ผู้ให้บริการ คุณจารุวรรณ พันมิล พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนวมินทร์ และ คุณฉันฑิต ปงสุวรรณ ประชาชนผู้รับบริการ ร่วมพูดคุยถึงการเข้าถึงสิทธิ และแลกเปลี่ยนความเห็น พร้อมกับเปิดรับฟังความเห็นและข้อซักถามจากประชาชนผ่านทาง Facebook Live workpointTODAY , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , และ รู้จริงสิทธิบัตรทอง สปสช. กทม.

สิทธิบัตรทอง กับการป้องกันรักษาโรค

นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 13 กทม. กล่าวถึงสิทธิที่ประชาชนได้รับในเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรค ซึ่งสปสช. ดูแลประชาชนครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม หรือข้าราชการ ส่วนใน กทม.จะแตกต่างจากพื้นที่อื่น เนื่องจากมีบริการที่หลากหลาย นอกจากหน่วยบริการของรัฐในกระทรวงสาธารณสุข ยังมีภาคเอกชน โรงเรียนแพทย์ กระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม เป็นต้น โดย สปสช. ดูและเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงเสียชีวิต กล่าวคือ หญิงไทยเมื่อตั้งครรภ์แล้วไปฝากท้องกับสถานพยาบาล จะได้รับสิทธิในการคัดกรองว่าผิดปกติหรือไม่ เพื่อให้เด็กที่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรง และหากมีความผิดปกติจะได้รับการรักษา เมื่อเกิดมาจะได้รับการฉีดวัคซีน ดูเรื่องการเจริญเติบโต และเมื่อถึงช่วงอายุ 6 – 24 ปี มีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คัดกรองความเสี่ยง ความดันโลหิต เบาหวาน และเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ก็จะได้รับการคัดกรองโรคติดต่อไม่เรื้อรัง และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ใครมีความเสี่ยงจะได้รับการตรวจเพิ่มเติม เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะได้รับการป้องกันความเสี่ยง ให้เป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรง และทุกๆ ช่วงวัย จะมีการตรวจเรื่องสุขภาพช่องปากให้ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นบริการที่ส่งเสริมป้องกันการเกิดโรค

นอกจากนี้ สปสช. กทม. ยังเคยทำโครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเฉพาะ เช่น การคัดกรองโรคในกลุ่มคนขับแท็กซี่ จะได้รับการเอ็กซ์เรย์ปอดว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ นพ.วีระพันธ์ ยังได้อธิบายความสำคัญของการป้องกันโรคว่า “ยกตัวอย่างการตรวจมะเร็งปากมดลูก ที่พบปัญหาว่าผู้หญิงมีความเขินอายในการเข้ารับตรวจภายใน อยากให้สร้างความเข้าใจใหม่ เพราะหลังจากที่รณรงค์มาหลายปี ก็พบว่าสถิติโรคมะเร็งในไทยยังสูงขึ้น แต่เป็นระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หาย ไม่ปล่อยให้ลุกลาม เช่น มะเร็งเต้านม หากเป็นจะต้องตัดทิ้ง แต่เมื่อพบในระยะเริ่มต้นก็จะสามารถรักษาได้ทัน ไม่เปลืองงบประมาณทั้งของประเทศ และเงินส่วนตัว และปัจจุบันแพทย์ระบุว่ามะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น การรู้ก่อนจะรักษาได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ตรวจตามสิทธิได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในคนที่ยังไม่มีความเสี่ยง”

นพ. วีระพันธ์ กล่าวว่า การเข้าถึงการใช้สิทธิป้องกันโรคของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเดินทางไปที่หน่วยบริการ ที่ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นหลายแห่ง และมีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งเข้าร่วม และยังมีแอปพิลเคชั่น “สปสช. สร้างสุข” ที่ให้โหลดได้ผ่านทั้งระบบ IOS และ Android ซึ่งจำเป็นต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตนผ่านบัตรประชาชน ซึ่งภายในแอปพลิเคชั่นนี้จะระบุถึงรายละเอียดสิทธิของแต่ละคน ซึ่งจะไม่เหมือนกัน รวมถึงการเลือกสถานบริการที่จะเข้าใช้สิทธิ และนัดหมายเข้าพบแพทย์ วัน เวลา ได้เลย ซึ่งจะช่วยลดความแออัดในสถานพยาบาลได้ คนไทยทุกคนที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ใช้ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ก็เข้าจองสิทธิได้เช่นกันผ่าน เป๋าสุขภาพ หรือโทรสอบถามที่สายด่วน สปสช. 1330

หน่วยบริการทำงานเชิงรุก เพิ่มการเข้าถึงป้องกันโรค

จารุวรรณ พันมิล พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนวมินทร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลนวมินทร์เป็นหน่วยบริการที่เข้าร่วมกับ สปสช. โดยจะมีหน่วยย่อยคอยให้บริการรอบโรงพยาบาล 13 จุด เพื่อให้เข้าถึงมากขึ้น และมีพยาบาลลงพื้นที่ชุมชน เยี่ยมบ้าน ประชาสัมพันธ์ว่า สปสช. มีโครงการตรวจคัดกรองอะไรบ้าง เช่น ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่  ให้ประชาชนจองคิวลงเข้ารับบริการ และเพิ่มการให้คำแนะนำของผู้ป่วยแต่ละช่วงอายุว่ามีสิทธิในการตรวจคัดกรองอย่างไรบ้าง

พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมป้องกันโรคอย่าง ANC เจาะเลือดคู่สามีภรรยา เพื่อคัดกรองพาหะธาลัสซีเมีย เพื่อให้คำปรึกษาว่าหญิงตั้งครรภ์ควรทำอย่างไรต่อ เมื่อทารกคลอดมาควรทำอย่างไร และติดตามพัฒนาการของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ประเมินได้ว่าเด็กมีความเสี่ยงอย่างไร เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แต่หากกรณีไหนที่ไม่สามารถรักษาได้ จะส่งต่อให้กับโรงพยาบาลเด็กที่มีศักยภาพ ส่วนในกลุ่มวัยทำงานก็จะคัดกรองโรคเมตาบอลิก ภาวะอ้วน ไขมันในเลือด ภาวะเสี่ยง เบาหวาน ความดัน ซึ่งเสี่ยงให้เกิดโรคเส้นเลือดในสองตีบตัน ในกลุ่มผู้สูงอายุ จะคัดกรองพลัดตกหกล้ม คัดกรองภาวะซึมเศร้า เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต ถ้าพบความผิดปกติจะส่งทีมเยี่ยมบ้านดูสภาพแวดล้อมที่บ้าน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งโรงพยาบาลนวมินทร์ มีผู้ป่วยมาใช้บริการคัดกรองประมาณ 500 รายต่อวัน เข้ารับการคัดกรองตามสิทธิ

จากใจผู้รับบริการ ส่งเสริมป้องกันโรค

ฉันฑิต ปงสุวรรณ ประชาชนผู้รับบริการ เล่าว่า ปัจจุบันสิทธิบัตรทองอยู่ที่แขวงลำผักชี ซึ่งเป็นหน่วยบริการของโรงพยาบาลนวมินทร์ ได้ไปตรวจมะเร็งปากมดลูก และเข้ารับบริการทัตกรรม “ตอนนั้นไปทำฟัน แล้วมีเจ้าหน้าที่มาบอกว่า เราสามารถเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งขณะนั้นอายุเราเข้าเกณฑ์คัดกรองพอดี ก็เลยสนใจและเข้าตรวจ พบว่าปกติ ก็เข้าตรวจแบบ 6 เดือนครั้ง และ 1 ปีครั้ง จนถึงตอนนี้เข้ารับการตรวจมาแล้วประมาณ 3-4 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้เคยใช้สิทธิประกันสังคม ซึ่งถทอว่าการให้บริการไม่แตกต่างกัน เหตุผลที่ต้องตรวจทุกปีเพราะว่า ก่อนนี้มีอาการผิดปกติในช่องคลอด จึงปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่ให้บรการทำฟัน ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร เป็นจุดเริ่มต้นของการตรวจ เราก็โล่งอก สบายใจ จากที่ก่อนหน้านี้วิตกกังวลมาก จากการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตแล้วพบว่าอาการที่เป็นน่ากลัว ซึ่งถือว่าดีที่มีบริการนี้มาให้ นอกจากนี้ยังมีบริการตรวจมะเร็งเต้านมฟรีด้วย ซึ่งการตรวจเหล่านี้เราเข้าใจว่าเสียเงินมาตลอด เหมือนเป็นการซื้อสุขภาพโดยไม่ต้องเสียเงิน” 

ส่วนข้อเสนอแนะที่คุณฉันฑิตอยากให้ สปสช. นำไปปรับปรุง คือ ปัญหาประชาชน ลืมบัตรประชาชน เพราะคนทั่วไปจะหลงลืม และไมค่อยพกบัตรติดตัว จึงอยากให้กำชับและเน้นย้ำเรื่องนี้ และแนะนำประชาชนทั่วไปว่าอย่ากลัวที่จะเข้าตรวจ เพราะรู้ก่อนดีกว่าป่วยแล้วมารักษา

ฉันฑิต ปงสุวรรณ ประชาชน , นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผอ.สปสช.เขต 13 กทม. , จารุวรรณ พันมิล พยาบาลโรงพยาบาลนวมินทร์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า