Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงโควิด-19 รพ.รามาธิบดี นำเทคโนโลยีตรวจทางไกลเข้ามาใช้  เพื่อลดการเดินทาง และปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล แต่ยังพบว่าไม่สามารถทำกับผุ้ป่วยได้ทุกกลุ่ม นอกจากนี้ยังสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่าง “ลุงทองพูน” ที่ต้องพาภรรยาวัย 63 ปี ที่ป่วยโรคไต และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไปฟอกไตที่โรงพยาบาลทุกๆ 3 เดือน และยังต้องเสียค่าส่วนต่างที่อยู่นอกเหนือจากสิทธิหลักประกันสุขภาพ

รศ.พญ.อติพร องค์สาธิต รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี เล่าว่า ในช่วงที่เป็นสถานการณ์โควิด-19 จากเดิมมีคนไข้ประมาณ 5,000 – 6,000 คนโดยเฉลี่ย พบว่าคนไข้ก็ลดเหลือประมาณ 2,000 คน ลดไปกว่าครึ่ง และจากสถานการตอนนั้น ไปถึงช่วงมีนาคม เมษายน ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะเดินทางได้เพราะล็อกดาวน์ แต่คนไข้เหล่านี้หากขาดยา เช่น ผู้ป่วยกลุ่มยากดภูมิ เพราะฉะนั้นต้องห้ามขาดเด็ดขาด โรงพยาบาลจึงเริ่มหาทางออก โดยการตรวจทางไกล เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โรงพยาบาลจำเป็นต้องเตรียมการ ถึงแม้วิธีการนี้จะไม่ได้เป็นแบบหน้าเจอกันแบบ Face to Face แต่เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งถูกยกขึ้นมา ทำให้สามารถดูแลกันได้ เพื่อลดปัญหาการเข้าถึง หรือลดคิวรอคอย หรือลดการเดินทางซึ่งถือว่าคุ้มค่า เพียงแต่ไม่สามารถใช้รูปแบบเดียวกันกับคนไข้ได้ทุกคน

ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้คือ บริการตรวจทางไกล (Telecare / Telemedicine) บริการตรวจทางไกล ผ่านการโทรศัพท์ และ VDO CALL ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย รวมไปถึงส่งยาผ่านไปรษณีย์ ถูกนำมาใช้ในช่วงที่ COVID-19 ระบาด เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยเกิดความต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลชั้นนำบางแห่ง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้เทคโนโลยีสื่อสารนี้ ใช้กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมาก และอาจครอบคลุมไม่ได้ทั้งหมด

“เราไม่ได้สามารถทำได้ทุกเคส จาก 5,000 คนเหลือ 2,000 คนหายไปตั้ง 3,000 คน เราก็ใช้วิธีการเลื่อนนัดไป แต่อย่างไรก็ตามเคสที่เราสามารถตรวจ Telemedicine ได้ต่อวัน ประมาณ 500 คนเท่านั้น ไม่ใช่ทำได้ทุกคน เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถตรวจ Telemed ได้ แต่ว่าส่วนใหญ่ก็จะเลือกเลื่อนนัดไปก่อน หรือว่าส่งยาอย่างเดียว การตรวจเลยก็จะเน้นเคสที่เหมาะสม บางเคสก็อาจจะไม่เคยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน หรือโอนเงินทางมือถือก็ทำไม่เป็น หรือว่าจะไปติดต่ออะไรก็ค่อนข้างยาก เพราะฉะนั้นจะมีกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่อาจจะเข้าไม่ถึงพวกเทคโนโยลีเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องใช้วิธีปกติ โทรศัพท์ธรรมดา ต้องย้ำว่าตรวจทางไกลไม่สามารถมาทดแทนการตรวจปกติได้ เพียงแต่เอามาเสริมเพื่อลดความแออัด เพื่อลดช่องว่างลง ทำให้การดำเนินการไปข้างหน้าได้” รศ.พญ.อติพร กล่าว

รวมถึงผู้ป่วยบางกลุ่มโรค ที่ต้องเข้ารับการรักษา และบำบัดที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง…

นายทองพูน นิลแก้ว วัย 63 ปี ลาออกจากงานขับรถรับจ้าง มาดูแลภรรยาที่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง อาศัยที่ชุมชนพูนทรัพย์ เขตสายไหม กรุงเทพฯ บอกว่าภรรยาป่วยนอนแบบนี้มากว่า 1 ปี จากครั้งแรกเป็นเบาหวาน แล้วก็เป็นความดัน จนล่าสุดพบว่าป่วยโรคไตทำให้ต้องเข้ารับการรักษาสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ต้องเินทางไปโรงพยาบาลเพื่อฟอกไตทุกๆ วันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ อย่างขาดไม่ได้ และทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลนอกจากค่ารถ ยังมีค่าส่วนต่างที่ต้องจ่าย รวมๆ สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท

“อาศัยบัตรทองเรานี่แหละ บัตร 30 บาท ที่ว่ามันเกินส่วนต่างเราก็ออก ส่วนต่างมันก็มีมาเรื่อยๆ อย่างเจาะเลือด เราก็เสียทีละ 60 บาท แล้วบางทีพวกสาย พวกไส้กรองอะไรพวกนี้ บางทีเราก็ออกเป็นพันเลย ค่ารถถ้าหากเราคิดไปกลับก็ประมาณ 200 กว่าบาท ทางรัฐบาลช่วยมาได้อย่างนี้เราก็ภูมิใจอยู่ อย่างไส้กรองอะไรพวกนี้ อยากให้รัฐบาลเพิ่มขึ้นมาว่า อย่างคุณมีบัตรทองนะ ให้ตัดปัญหาตรงนี้ไปได้ เพราะเราเสียค่ารถแล้ว บางทีอย่างผมไปฉุกเฉิน เสียเป็น 1,000-2,000 เหมือนกัน เพราะว่าอันนี้ไม่ใช่ฉุกเฉินเขาว่า คุณต้องมีใบส่งตัวมา แล้วดึกๆ ตี 1 ตี 2 จะไปเอาใบส่งตัวที่ไหน ถ้าไม่มีนะ ก็ต้องไปยืมน้อง บางทีเขาก็คิดดอกเบี้ยกับเรา ส่วนต่างของเราให้รัฐบาลช่วยเต็มๆ บางทีเราออกไปแล้วไปเบิกได้อะไรอย่างนี้ ” นายทองพูน กล่าว

ข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า คนไร้บ้าน คนจนเมือง และกลุ่มเปราะบางอีก กว่า 5 แสนคน มีปัญหาการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเจ็บป่วยเรื้อรัง

วิมล ถวิลภงษ์ กรรมการชุมชนพูนทรัพย์ ผู้ประสานงานคนไทยไร้สิทธิ กล่าวว่า คนที่เข้าไม่ถึง อย่างเช่น คนที่ไม่มีบัตรประชาชน คนไร้บ้านที่ไม่มีบัตรประชาชน ที่นอนอยู่ตามถนน นอนอยู่ตามศูนย์ เข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาลเลย สมมติว่าคนกลุ่มนี้ คนที่ไม่มีบัตรประชาชน ไม่ต้องป่วยถึงขั้นโรคร้ายนแรง เอาแค่เป็นหวัดแค่นี้เขาก็เข้าไม่ถึงสักอย่างเป็นประเด็นที่ทำให้เห็นว่าการรักษาพยาบาลยังไม่ครบยังมีปัญหาอยู่ “คนป่วยไม่ว่าจะยากดีมีจน ไม่ว่าจะชาติไหน ไม่ว่าจะไทย หรืออะไรก็แล้วแต่ เขาเป็นคนป่วยควรรักษาเขาให้ดีที่สุด ประเทศไทยนะ ถือว่าเป็นประเทศที่ดูแลเรื่องสุขภาพดีที่สุด แต่วันนี้อีกอันหนึ่งที่เราอยากฝากก็คือการดูแลสุขภาพของคน คนเล็กคนน้อย คนจนๆ ยังเข้าไม่ถึงและยังไม่ดีพอเท่าที่จะรักษาได้ จริงๆ อยากจะให้มันทั่วถึงเท่าเทียม เสมอภาคกันทั้งหมดค่ะ”

ปัจจุบันคุณภาพและมาตรฐานของแพทย์ไทยได้รับการยอมรับติดอันดับต้นๆ ของโลก แต่เรายังพบปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษามาโดยตลอด ประกอบกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ตอกย้ำการเข้าไม่ถึงสิทธิของประชาชน เป็นโจทย์สำคัญที่ทุกคนต้องร่วมหาทางออก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า