SHARE

คัดลอกแล้ว

การขอย้ายสิทธิเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการทางการแพทย์ ของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือที่ทุกคนเรียกกันติดปากว่า “บัตรทอง” แต่เดิมต้องเดินทางไปยื่นความจำนงกับเจ้าหน้าที่ ณ จุดบริการที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. กำหนด ที่สำคัญสิทธิที่ท่านเลือกต้องรอการตรวจสอบนานหลายวัน จึงจะสามารถใช้สิทธิกับหน่วยบริการที่ท่านเลือกไว้

แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาในยุคปัจจุบัน และประชาชนส่วนใหญ่ใช้งานสมาร์ทโฟนกัน สปสช.จึงนประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้งาน เพื่อให้การรักษาพยาบาลเกิดความคล่องตัวมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือนโยบาย “ย้ายหน่วยบริการ เกิดสิทธิทันที” มีเป้าหมายหลัก คือ ต้องการให้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองสามารถย้ายสิทธิได้ภายในวันเดียว ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. บนสมาร์ทโฟน

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. อธิบายว่า แต่เดิมกว่าสิทธิการย้ายหน่วยบริการจะเกิดขึ้นต้องรอทุกวันที่ 15 หรือ 28 ของทุกเดือน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องทำการตรวจสอบสิทธิของประชาชนที่มายื่นมาเป็นไปตามเอกสารถูกต้องหรือไหม ทำให้เกิดปัญหาตามมา คือผู้มีสิทธิหลายคนไม่สามารถเข้ารักษาพยาบาลกับหน่วยบริการที่เขาอาศัยอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งสถิติและข้อมูลของ สปสช. พบว่า ผู้ใช้สิทธิบัตรทองมีการเดินทางย้ายถิ่นฐานจำนวนมาก ไม่ได้อาศัยตามสิทธิรักษาพยาบาลที่ตัวเองมีตั้งแต่เดิม ทำให้เวลาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยไม่เกิดความสะดวกในการรักษาพยาบาล

“เราพบว่าประชาชน นักเรียน นักศึกษา มีการเคลื่อนย้ายเข้ามาเรียนต่างถิ่น คนทำงานมีการเคลื่อนย้าย เช้ามา เย็นกลับ เปลี่ยนสถานที่เยอะ ไม่เหมือนแต่ก่อน อยู่นิ่งกับที่ แล้วเวลาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยก็มีประเด็นเกิดขึ้นว่า ระบบบริการที่เราออกแบบสมัยนั้นไว้ ไม่สอดรับกับความต้องการของประชาชนในบางกลุ่ม ก็คือว่า เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องกลับไปที่เดิม เพื่อไม่ให้เสียค่าใช้จ่าย” นพ.ศักดิ์ชัย เลขาฯสปสช. กล่าว

นาวสาวกิติพร โพธากูล ผู้อำนวยการสำนักทะเบียน สปสช. ระบุว่า สำหรับการขอเปลี่ยนสิทธิหน่วยบริการรูปแบบใหม่ ทุกคนสามารถดำเนินการด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า สปสช. ทั้งในระบบ Android และ IOS เมื่อโหลดมาแล้ว ให้กดไปที่เครื่องมือ “ลงทะเบียน เปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ” เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงสิทธิ เมื่อท่านลงทะเบียน และยืนยันข้อมูลตามขั้นตอนที่แอปพลิเคชันกำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิทธิการรักษาพยาบาลจะเกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอกาตรวจสอบนานเหมือนเช่นเคย

“ประชาชนไม่ต้องกังวลใจ เรื่องการเข้ารับบริการ เพราะจริงๆระบบการบริการยังเหมือนเดิม มาตรฐานทุกอย่างเหมือนเดิมเลย แต่จะดีขึ้น ตรงที่ประชาชนสามารถไปใช้บริการที่หน่วยบริการใหม่ ที่ตัวเองเปลี่ยนได้ทันที่ ก็อยากให้มั่นใจตรงนั้นได้เลย” นางสาวกิติพร กล่าว

นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิสามารถลงทะเบียน ได้ที่จุดรับลงทะเบียนตามที่ สปสช. กำหนด ผ่านจุดรับลงทะเบียน ทั้งในกรุงเทพมหานคร และ ต่างจังหวัด โดยใช้เอกสาร ได้แก่ บัตรประชาชน , แบบคำร้องขอลงทะเบียน , กรณีไม่มีบัตรประชาชน สามรถแสดงใบคัดสำเนาทะเบียนบ้าน ทร. 14/1 หรือใบคัดทะเบียนประวัติบุคคล ทร.12 , ส่วนกรณีมอบหมายให้ผู้อื่นลงทะเบียนแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจมาด้วย

แนวทางการดำเนินงาน “ย้ายหน่วยบริการ เกิดสิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน” เริ่มให้ประชาชนแสดงความจำนงย้ายสิทธิได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา ใน 1 วันประชาชนสามารถเปลี่ยนหน่วยบริการได้มากกว่า 1 ครั้ง แต่จะไม่เกิน 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ ตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลงทะเบียน พ.ศ.2562 ทั้งนี้หากประชาชนยังมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน 1330

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า