SHARE

คัดลอกแล้ว

เป็นระยะเวลากว่า 18 ปีแล้ว ที่กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่หลายคนรู้จักกันว่า กองทุนบัตรทอง หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้การดูแลสุขภาพพี่น้องชาวไทย ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง ที่เห็นได้ชัดคือ การรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นการเดินหน้าของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ยังจำเป็นต้องพัฒนาให้ดียิ่งยวดขึ้นไปอีก โดยมีเป้าหมายสำคัญที่สุขภาพของประชาชนคนไทย

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. จัดเวทีประชุมในหัวข้อ “ยกระดับหลักประกันสุขภาพ” ภายในงานประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 มีผู้เข้าร่วม ดังนี้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ พญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ทางกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. จะร่วมมือกันพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประชาชนได้ดีที่สุด เพื่อยกระดับหลักประกันสุขภาพ โดยกระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายในปี 2546 ไว้ทั้งหมด 9 เรื่องที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ ระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง, เศรษฐกิจสุขภาพ, สมุนไพกัญชากัญชง, สุขภาพดีวิถีใหม่, COVID-19, ระบบบริการถ้วนหน้า, ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม, ธรรมาภิบาล และ องค์กรแห่งความสุข โดยตั้งเป้าหมายคือ ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง

นอกจากนี้ นพ.เกียรติภูมิ ยังกล่าวถึงนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ คนไทยต้องเป็น วีไอพี ทุกโรงพยาบาล ของ นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่า จะเริ่มดำเนินการแต่ยังไม่ทันหมด อาจจะเริ่มจากเขตบริการปีละ 2-3 เขต เรื่องนี้ถือเป็นว่าเรื่องพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ต้องเริ่มทำ

“เรื่องของการยกระดับ เรื่องอนาถา เราก็ไม่ได้ยินมานานแล้ว คนไข้เราก็เป็น วีไอพีมานานแล้ว ก็คุยกัน คงจะมีการพัฒนา จะเรียกว่ายกระดับ หรือพัฒนาก็ได้ โดยจะเริ่มที่ กทม.ก่อน เริ่มในเขต 9 ถ้าเป็นไปได้ ก็จะขยายไปทั่วประเทศ” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

สำหรับมาตรการยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย การผลักดันนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เน้นการรับบริการปฐมภูมิเป็นลำดับแรก เพิ่มการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเน้นให้เขตบริหารสุขภาพเป็นศูนย์กลาง เพิ่มสภาพคล่องของโรงพยาบาล ด้วยการยกระดับระบบการเงินการคลังของหน่วยบริการ ปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ร่วมกองทุน และการพัฒนาระบบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่า คำที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ คำว่าอนาถา คือสิ่งที่เราจ้องให้ความสำคัญ ซึ่งหากยึดตามแนวทางของนายอนุทิน คือ เราต้องเปลี่ยนคำว่า อนาถา ให้เป็น วีไอพี ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยาก แต่สิ่งนี้เป็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องเดินหน้าทำให้สำเร็จ

“สิ่งที่อยากเห็นคือ เมื่อผู้ป่วยไปรักษาที่ไหน ก็ต้องได้รับบริการตรงนั้นเลย ไม่ต้องมาแยกว่าจดทะเบียนโรงพยาบาลแถวบ้านต้องใช้สิทธิตามนั้น ไม่ใช่อีกต่อไป ซึ่งต้องพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยต้องทำให้เกิดเป็นรูปธรรมด้วยความรวดเร็ว” นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว

คำที่สองที่ต้องให้ความสำคัญคือ แออัด เพราะจากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ และ ผู้ให้บริการ พบว่า ปัญหาแออัด เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องหันมาคำนึง การแก้ไข จะต้องจัดระบบบริการในเขตต่างๆ ให้ประชาชนที่เข้ามามีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะระบบการจัดการภายในที่ต้องง่ายขึ้น ส่วนการขยายบริการ จำเป็นต้องขยายไปยังระบบปฐมภูมิ เพื่อกระจายให้ประชาชนเข้าถึงพื้นที่การรักษาพยาบาลได้มากขึ้น โดยที่ต้องยกให้หน่วยปฐมภูมิต้องมีประสิทธิภาพทางการแพทย์มากขึ้น

“เรื่องการขยายบริการ สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญคือระบบปฐมภูมิ ที่ต้องพยายามเน้นหมอครอบครัว ถ้าเราขยายหน่วยต่างๆมากขึ้น ความแออัดก็จะลดลง นอกเหนือจากนั้นระบบบริการต้องเป็นวีไอพีมากขึ้น” นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว

ขณะที่ พญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวถึง การยกระดับการจัดการระบบปฐมภูมิ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครว่า จะดำเนินการตามแผนงาน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. ระบบบริการ จะจัดบริการปฐมภูมิด้วยเครือข่ายบริการสุขภาพ ยึดหลักใกล้บ้าน ใกล้ใจ สร้างเครือข่ายร่วมบริการ โดยกำกำหนดให้หน่วยบริการสาธารณสุขเป็นแม่ข่าย 2.กำลังคนด้วยสุขภาพ มีการเพิ่มจำนวนเพิ่มล่วงเวลาที่จะดูแลประชาชนมากขึ้น 3. ระบบข้อมูลข่าวสาร จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเหนียวแน่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน 4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ จะใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น 5.ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ทาง สปสช. และ กทม. จะกำหนดมาตรฐานการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และ 6. ภาวะผู้นำธรรมาภิบาล จะมีคณะกรรมการทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ เข้ามาทำงานมากยิ่งขึ้น โดยทั้งหมดเป้าหมายเพื่อสร้างระบบบริการทางการแพทย์ในพื้นที่กรุงเทพให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
“ทั้งหมดเป็นงานที่ กทม. ตั้งใจจะเป็นแนวทางในการยกระดับดูแลพี่น้องประชาชนที่จะมาใช้บริการ เราจะทำให้เห็นภาพว่า กทม. อาจจะไม่เหมือนจังหวัดอื่นๆ แต่เราจะทำให้ประชาชนมั่นใจว่า เมื่อมาใช้บริการแล้วจะได้บริการที่ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ซึ่งเป็นแนวนโยบายให้ประชาชนเมื่อมาใช้บริการมีความสุขที่สุด” พญ.ป่านฤดี กล่าว

สำหรับปัญหาการยกเลิกหน่วยให้บริการในพื้นที่ กทม. พบว่ามีประชาชนได้รับผลกระทบ กว่า 3 ล้านคน พญ.ป่านฤดี ระบุว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ดูแลเรื่องนี้เป็นอย่างดี โดยทาง กทม. จัดการเบื้องต้นด้วยการให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้ทุกโรงพยาบาลในช่วงต้น พร้อมเพิ่มแพทย์ และ ยาเวชภัณฑ์ ในช่วงนี้เพื่อรองรับประชาชน ส่วนในระยะต่อไปจะเร่งสำรวจสถานบริการร่วมกับ สปสช. เพื่อแก้ไขปัญหานี้ต่อไป ยืนยันว่าประชาชนทุกคนจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้แน่นอน

สำหรับงบประมาณปี 2564 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ รัฐบาลยินดีสนับสนุนนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและงบประมาณกองทุนบัตรทองอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้ตั้งเป้าจัดสรรงบกองทุนบัตรทอง 194,508.78 ล้านบาท เป็นงบเหมาจ่ายรายหัว 177,198.99 ล้านบาท หลังหักเงินเดือนภาครัฐ 52,143.97 ล้านบาท เป็นงบเหมาจ่ายที่ส่งให้ สปสช.บริหาร 125,055.01 ล้านบาท และงบนอกเหมาจ่ายรายหัวอีก 17,309.79 ล้านบาท

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า