Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” อาจเป็นคำที่หลายคนไม่คุ้นชิน แต่หากพูดว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” หรือ “บัตรทอง” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ต้องรู้จัก เพราะตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวถือเป็นการปฏิวัติวงการสาธารณสุข ที่ทำให้ประชาชนคนไทยทุกระดับเข้าถึงงานบริการด้านการแพทย์

ปัจจุบันมีคนไทยมากกว่า 48 ล้านคนอยู่ภายใต้การคุ้มครองของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เป็นหน่วยงานกำกับดูแล แม้ที่ผ่านผลสำเร็จในการดูแลรักษาพยาบาลคนไทยจะดำเนินมาได้อย่างต่อเนื่อง แต่กลับพบว่ายังมีปัญหาอีกมากมาย ที่ยังทำให้ระบบการทำงานของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่มีประสิทธิผลอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ตอกย้ำปัญหาให้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

กลุ่ม CARE คิด เคลื่อน ไทย จึงร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ workpointTODAY จัดเวทีแสดงทัศนะในหัวข้อ “หลักประกันสุขภาพคนไทย ฝันให้ไกล ไปให้ถึง” ซึ่งได้รับเกียรติจาก 6 ผู้คร่ำวอดในวงการระบบสุขภาพไทย ที่มาสะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ไข ประกอบไปด้วย อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ ตัวแทนภาคประชาชน กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ, รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นพ.วิทิต อรรถเวชกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท โรงพยาบาลปิยะเวท จำกัด (มหาชน), นายแพทย์วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ที่ปรึกษาโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP), นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

จอน อึ๊งภากรณ์ ตัวแทนภาคประชาชน กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ

เริ่มต้นเวที “หลักประกันสุขภาพคนไทย ฝันให้ไกล ไปให้ถึง” ด้วย อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ ตัวแทนภาคประชาชน กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เนื้อหาที่อาจารย์จอน นำมาเป็นประเด็นสำคัญแรกสุดคือ การรวมระบบหลักประกันสุขภาพเข้าด้วยกัน ประกอบไปด้วย กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, กองทุนของประกันสังคม, กองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมถึง โรงพยาบาลเอกชน มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิเท่าเที่ยมกัน ตามหลักธรรมนูญขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่าการบรรลุถึงระดับมาตรฐานสุขภาพที่สูงที่สุด ที่จะเป็นไปได้ เป็นหนึ่งในสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ซึ่งที่ผ่านมาหลักการดังกล่าว ยังไม่เคยปฏิบัติตามได้ในประเทศไทย

“สุขภาพเป็นสิทธิ สุขภาพไม่ใช่สินค้า ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงระดับสุขภาพสูงสุด ที่จะเป็นไปได้ ในสังคมของเรา โดยไม่เกี่ยวข้องกับว่าคนๆนั้นเป็นคนรวย คนจน มีเงินหรือไม่มีก็ต้องได้เหมือนกัน ถ้าเรายึดหลักอย่างนี้ สิ่งที่จำเป็นสำหรับประเทศไทย คือต้องมีระบบสุขภาพระบบเดียว ทุกคนในประเทศได้รับการรักษาดูแลเหมือนกัน ตั้งแต่ นายกรัฐมนตรีจนคนไร้บ้าน ต้องได้รับการดูแลสุขภาพได้เหมือนกัน” อาจารย์จอน กล่าว

อาจารย์จอน กล่าวถึงประเด็นการรวมโรงพยาบาลเอกชนเข้าด้วยกัน ในระบบรักษาสุขภาพระบบเดียว ไม่ได้หมายความว่าให้ยุบโรงพยาบาลเอกชน เพียงแต่ต้องการให้การรักษาพยาบาล เป็นไปตามราคาที่กำหนดในกองทุนรวม โดยโรงพยาบาลเอกชน ยังสามารถเก็บเงินค่าส่วนต่างนอกเหนือจากที่กำหนด เช่น ค่าเตียงพิเศษ ค่าอาหารพิเศษ ค่ารถพยาบาลเป็นต้น

นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของโรงพยาบาลนอกเวลาราชการ เพราะที่ผ่านมา เมื่อประชาชนเกิดอาการเจ็บป่วยนอกเวลาราชการ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น เน้นย้ำว่าทุกพื้นที่ควรครอบคลุมการดูแลของแพทย์ และสถานพยาบาลอย่างทั่วถึง “เราต้องผลิตหมอประจำครอบครัวให้มาก โรงพยาบาลใกล้บ้านก็ต้องมี อย่างเช่น ทุกเขตในกรุงเทพมหานคร จะต้องมีโรงพยาบาลเขต ใกล้เคียงกับโรงพยาบาลชุมชนในอำเภอต่างๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรจะต้องทำอะไรมากกว่านี้ เช่น ทำคลอดได้ในเครสที่ไม่มีปัญหา ผมคิดว่าหน่วยปฐมภูมิ ในต่างจังหวัดไม่ควรห่างเกิน 5 กิโลเมตร สูงสุดในกรุงเทพก็ 2-3 กิโลเมตร โรงพยาบาลก็ไม่ควรห่างเกิน ที่มอเตอร์ไซค์จะใช้เวลาสัก 20 นาที ควรจะถึงโรงพยาบาล” อาจารย์จอน กล่าว

ท้ายที่สุด อาจารย์จอน ระบุว่า เราควรจะต่อสู้เพื่อรับธรรมนูญใหม่ เพื่อให้มีรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่มี สว.แต่งตั้งมาแทรก โดยหวังว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะร่างโดยประชาชน และจะสามารถดำเนินตามเจตนารมณ์ของธรรมนูญองค์การอนามัยโลกที่ว่า การบรรลุถึงระดับมาตรฐานสุขภาพที่สูงที่สุด ที่จะเป็นไปได้ เป็นหนึ่งในสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน เป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในประเทศไทยทุกคน เกิดขึ้นได้จริง

 

รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หัวข้อที่ รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ยกมาพูดในเวทีนี้คือ “ฝันให้ไกล ใจต้องถึง” มีเป้าหมายเพื่อต้องการให้การทำงานของระบบสุขภาพในเมืองไทยพัฒนา และเดินหน้าไปได้โดยไม่ติดขัดในอนาคต ด้วยการตั้งเป้าหมายไว้ข้างหน้า และลงทำให้สำเร็จตามที่ตั้งไว้

“ถ้าเราอยากจะฝันให้ไกลไปให้ถึง ผมว่าใจเราต้องถึงก่อน ฝันให้ไกล แต่ใจไม่ถึง คนเราถ้าไม่มีใจนำ ไม่คิดว่ามันต้องจะชนะ ไม่คิดว่ามันต้องแก้ไข มันก็ไม่มีทางสำเร็จ ผมคิดว่าต้องเลือกที่จะเปลี่ยน ฝันให้ไกล ใจให้ถึง สปสช. ในความหมายของผมคือ สุขของประชาชนไทย สุขของชาติไทย” รศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว

รศ.นพ.สมศักดิ์ ระบุว่า ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นระบบที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในกลุ่มคนด้อยโอกาส การได้รับบริการทางการแพทย์ที่ไม่เท่าเที่ยมกันในประชาชนแต่ละกลุ่ม และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศที่ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่เอกภาพ ในการบริหารจัดการ  สำหรับแนวทางการเดินหน้า “ฝันให้ไกล ใจต้องถึง” ของรศ.นพ.สมศักดิ์ ประกอบด้วย

  • Decentralized เราต้องแก้ไขการจัดการบริการที่ในแต่ละพื้นที่ จากเดิมที่ สปสช.กำหนดให้ทุกพื้นที่ดำเนินการจัดการไปในรูปแบบเดียวกัน
  • Redesing มองว่า ระบบการทำงานของ สปสช. ไม่ยืดหยุดต่องานบริการของโรงพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง ด้วยมองว่า สปสช. ควรตั้งเป้าการทำงานโดยยึดหลักสุขภาพของประชาชนเป็นที่ตั้งก่อนเรื่องราคารักษาพยาบาล
  • Easy การทำงานกับ สปสช. มีความยุ่งยาก และมักอ้างว่าไม่มีงบ ดังนั้น สปสช. ควพิจารณาการทำงานเรื่องข้อมูลเสียใหม่ เพื่อให้นำข้อมูลที่มีอยู่มาเสริมสร้างประโยชน์ให้กับสังคม รวมถึงการประเมินของ สปสช. ต้องทำให้ง่ายมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ของประชาชน
  • Agility การทำงานของโรงพยาบาล และ สปสช. ต้องยืดหยุ่นทำงานง่าย โดยเฉพาะเรื่องเอกสารในการเบิกจ่ายงบจากการรักษาพยาบาล ควรกำหนดเป้าหมายหลัก ไม่ควรกำหนดรูปแบบของการจัดการจนเกินความซับซ้อนในการเบิกจ่าย
  • Mindset ต้องทำงานด้วยใจ ปรับเปลี่นนวิธีคิดใหม่ ทำงานด้วยความเข้าใจ โดยต้องไม่ยึดหลักกฎเกณฑ์ของ สปสช.เพียงอย่างเดียว
  • Budget การจ่ายงบประมาณต้องไปเป็นอย่างเหมาะสม นั้นก็คือ อยากเห็นการจัดการงบประมาณที่เหมาะสม , เบิกจ่ายรวดเร็ว , จัดทำโครงการเฉพาะที่เพื่อสนับสนุนงานบริการที่จำเป็นต้องใช้ งบประมาณมากกว่าพื้นที่อื่น เป็นต้น หรือรวมไปถึงการนำระบบร่วมจ่ายเข้ามาใช้ ในอนาคต
  • Reimburesment การเบิกจ่ายที่เป็นธรรมสำหรับคนไทยทุกคน ถ้าหากโรงพยาบาลให้การรักษาไปแล้ว สปสช. ควรจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด , ควรมีระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และมีเป้าหมายในการตรวจสอบสร้างสรรค์
  • ALL THAI อยากเห็นสิทธิการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ต้องมีระบบสุขภาพเดียวสำหรับคนไทยทุกคน
  • Vision อยากให้ สปสช. ปรับเปลี่ยนวิธีการคิดไม่ใช้ผู้ซื้อบริการ แต่ให้คำนึงถึงความสำคัญในการร่วมออกแบบระบบสาธารณสุขของคนไทย
  • Exit สุดท้าย สปสช.ควรจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของ ระบบสุขภาพของไทยนายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท โรงพยาบาลปิยะเวท จำกัด (มหาชน)

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท โรงพยาบาลปิยะเวท จำกัด (มหาชน)

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท โรงพยาบาลปิยะเวท จำกัด (มหาชน) นำขึ้นมากล่าวคือ “ประสบการณ์จากอดีต… สู่อนาคตสุขภาพไทย” เพื่อเป็นการนำบทเรียนที่ผ่านมาตลอดช่วงการทำงาน มาบูรณาการการทำงานของ ระบบสุขภาพให้เดินหน้าต่อไปได้

น.พ.วิทิต ได้ยกเรื่องราวการทำงานตั้งแต่ทำงานที่โรงพยาบาลชุมชน ที่ได้ต่อสู่กับปัญหาต่างๆ จนสามารถมาสู่การเกิดระบบหลักประกันสุขภาพมา ผ่านมาจนถึงตอนนี้ถือเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี “ผมได้มีส่วนร่วมในโรงพยาบาลชุมชน ดูแลชาวบ้านไม่กี่หมื่นคน ตั้งแต่จบแพทย์มาใหม่ เราได้ร่วมตั้งแต่ระบบหลักประกันสุขภาพภาคสมัครใจ ของกระทรวงสาธารณสุข ยุคนั้นครอบครัวละ 500 บาท เราก็ช่วยกัน ผมได้เรียนรู้จากพี่ๆ จากหลายๆคน ได้ให้ความรู้ สั่งสมมาเรื่อยๆ ขอเรียนว่าจากครั้งนั้นเราก็เริ่มมีหลักประกันสุขภาพประกันสังคม และได้เรีบนรู้รูปแบบมากขึ้น จนมีหลักประกันสุขภาพถ้วยหน้า ผมคิดว่าประสบการณ์นั้น เราได้ใช้เวลานานไปในยุคนั้น แต่ยุคใหม่เรามีโจทย์ท้าทายมากขึ้นกว่าเดิม” นพ.วิทิต กล่าว

โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นในโลกปัจจุบันคือ สถานการณ์การเกิดโรคอุบัติใหม่มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังต้องเผชิญกับปัญหาที่ไม่คาดฝันอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดล้วนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพทั้งสิ้น สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จนั้น นพ.วิทิต มองว่า คือการนำประสบการณ์ที่ได้จากอดีต มาเรียนรู้วิธีคิด และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สำคัญคือการเปิดใจกว้าง รับฟังทุกคนเห็น รวมถึงใช้นวัตกรรมใหม่มาร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

 

ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ที่ปรึกษาโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)

ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ที่ปรึกษาโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)
“ก้าวสู้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วยระบบดิจิทัล” คือหัวข้อที่ ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ที่ปรึกษาโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) นำมาพูดในเวทีนี้ โดยได้ชี้ให้เห็นว่าอินเตอร์เน็ต จะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์

“สปสช.ต้องใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ หากมาดูเทรนสุขภาพในโลกสมัยนี้ จะพบว่า วันนี้มีหลายเรื่องที่เปลี่ยน สังคมผู้สูงอายุที่มากขึ้น ยาในโลกที่เป็นอันตรายมากขึ้น และมีโลกเกิดใหม่มากมาย และมีการขับเคลื่อนสุขภาพมากมายในโลก” ภญ.เนตรนภิส กล่าว

ข้อมูลที่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ตมาจากการรวบรวมข้อมูลทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์สถิติการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ดีขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลเรื่อง การเกิดใหม่ในประเทศไทย สถิติของประเทศไทย มีอัตราการเกิดขของเด็กลดลงถึง 37% ขณะที่ข้อมูลการเสียชีวิตของวัยสูงอายุน้อยลง นั้นแสดงให้เห็นว่า อนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ หน่วยบริการด้านาธารณสุข ต้องเตรียมพร้อมรับมือในอนาคต เป็นต้น

ภญ.เนตรนภิส ระบุว่า ที่ผ่านมา สปสช. มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยในการทำงานบ้างแล้ว แต่ยังไม่คลอบคลุมการทำงานที่จะเอื้อให้ระบบหลักประกันสุขภาพพัฒนาไปอยางก้าวกระโดด จึงอยากให้ผู้บริการ สปสช. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพด้วยระบบดิจิทัลอย่างจริงจัง เพราะว่า เรื่องพวกนี้ไม่สามารถทำให้เสร็จในเวลาอันน้อยนิด เป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

 

นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กล่าว ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว คือปี ค.ศ. 2002 ซึ่งเป็นจุดการเริ่มต้นงานของ สปสช. พบว่า ค่ารักษาพยาบาลยังไม่ครอบคลุมการรักษาโรค HIV และ โรคไต เนื่องจากระบบยังไม่พร้อม และค่ายารักษายังแพงอยู่

ต่อมาในปี 2003 ภาคประชาชนช่วยกันผลักดัน จนเกิดสิทธิครอบคลุมการใช้รักษายาต้านไวรัสโรคเอดส์ ส่วนโรคไตนั้นยังไม่เกิดขึ้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2008 – 2009 มีการเสนอให้เกิดการล้างไตผ่านช่องท้อง เพราะที่ผ่านมาการล้างไตผ่านการฟอกเลือด คนไข้ต้องเดินทางมาที่ศูนย์ฟอกไต ซึ่งเป็นภาระของผู้ป่วยในการเดินทาง และการเปิดศูนย์ จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากดังนั้นจึงคิดว่า การล้างไตผ่านช่องท้องในบ้านน่าจะดีกว่า หรือที่เรียกว่า RRT แม้จะไม่คุ้มค่าเงิน แต่ก็ช่วยคนได้จากการทุกข์ทรมานได้ ทั้งหมดเป็นผลจากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของ สปสช. ทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสามารถช่วยชีวิต และเพิ่มคุณภาพของคนได้ และควรดำเนินการต่อไป

สำหรับเรื่องความท้าท้ายที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญ คือ โรควัณโรค เพราะจากสถิติพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการป่วยติด 1 ใน 20 ของโลก และเป็นสภาพนี้มานานแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงอยากเสนอให้กระทรวงสาธารณสุข และ หน่วยงานสาธารณสุขเอกชนร่วมกันหาทางออกเรื่องนี้ เพราะหากวิเคราะห์จากสถานการณ์ปัจจุบัน อุบัติการณ์ของโรคนั้นมีคนป่วยเกิดขึ้นมากกว่า 100,000 คน ต่อปี แต่มีอัตราการตรวจเจอเพียง 70,000 คนเท่านั้น

ที่ผ่านมาการรักษาวัณโรค ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ เพื่อกินยาที่โรงพยาบาลเพื่อป้องกันการลืมกินยา และการเกิดเชื้อดื้อยาในอนาคต แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือแต่ละพื้นที่มีความสามารถต่อการจัดการนี้ไม่เท่ากัน ทำให้ปัจจุบันนี้มีเชื้อดื้อยากระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งปัญหานี้เกิดจากที่เราไม่ลงทุนพอที่จะทำให้การรักษาสมบูรณ์ จึงเสนอว่ารัฐต้องให้ลงทุนให้ดีขึ้น ซึ่งหากทำได้จะช่วยลดอุบัติการของโรคให้น้อยลง หรือ อาจจะลงทุนโดยการให้เงินจำนวน 1500 บาท/เดือน สำหรับผู้ป่วยวัณโรค เป็นค่าเดินทางในการมาพบแพทย์ เป็นต้น หากทำได้ เชื่อว่าในอนาคต 5 ปีข้างหน้า จะสามารถป้องกันโรควันโรคได้มากขึ้น

 

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ขึ้นเวทีมาใน หัวข้อ “ฝันให้ไกล ไปให้ถึง” ด้วยการตั้งเป้าหมายสำคัญที่ยิ่งใหญ่คือ ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดีที่สุดในโลก

“ฝันของผมที่ว่าหลักประกันสุขภาพคนไทย จะเป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดีที่สุดในโลก มันเกินไปหรือเปล่า แต่เมื่อ 18 ปีที่แล้ว เมื่อปี 2544 เราในฐานะคนไทย เราได้มีการเริ่มต้นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นครั้งแรกๆในประเทศกำลังพัฒนา มีคนบอกว่า นั้นคือความใฝ่ฝันที่ทะเยือทะยานที่สุดครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ และนำมาสู่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆทั่วโลก กระทั่งกลายบทบาทที่สำคัญขององค์การอนามัยโลก 18 ปีที่แล้วเราทำได้ ทำไมในปี 2563 จะทำความฝันว่า เราจะเป็นประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดีที่สุดในโลกไม่ได้ ” นพ.สุรพงษ์ กล่าว

ปัจจัยที่จะทำให้ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เป็นหลักประกันสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก
1. สร้างโมเดลหลักระบบหลักประกันสุขภาพที่มีคุณภาพสูงสุด ด้วยการนำประสบการณ์การทำงานจากสถานการณ์โควิด-19 มาปรับใช้ เพราะจากสถานการณ์นี้ทำให้เห็นแล้วว่า ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย สามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ดีอันดับต้นๆของโลก
2. การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ เช่น ระบบ AI แอพพลิเคชั่น BIG DATA เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การเข้าถึง และ คุณภาพของการรักษาพยาบาล
3. สร้างคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพให้ดีที่สุด
4. สร้างเครือข่ายที่แข็งแรง เพื่อขับเคลื่อน สปสช.ให้เดินหน้าทำงานอย่างประสบสำเร็จ โดยใช้ประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง
5. ส่งเสริมการใช้งบประมาณให้ได้ประโยชน์สูงสุด
6. ลดความเหลื่อมล้ำการรักษาพยาบาลของประชาชนทุกชั้นในประเทศไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า