SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 17 ส.ค. 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน BREC Meeting ร่วมตอกย้ำความสำคัญ หลักประกันสุขภาพคนไทย Board Relation & Empowering Community of Commitment and Accountability ที่จัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. พร้อมกันนี้ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ระบบสุขภาพกับการเมืองไทย”

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ใจความช่วงหนึ่งของปาฐกถา นายอนุทิน ระบุว่า การเมือง และ ระบบสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าต้องเดินหน้าไปด้วยกัน แต่ยืนยันว่าจะไม่นำประเด็นทางการเมืองเป็นที่ตั้งหลัก ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขภาพของประชาชน

“ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด สปสช. ไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้หากการทำงานมีความผิดพลาด แต่ก็ขอยืนยันว่าเข้ามานั่งหัวโต๊ะเพื่อรับฟังทุกคน ขอให้คณะกรรมการทุกคนมีความสบายใจ ว่าการเมืองจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการทำงานของทุกท่านใน สปสช. การเมืองอยู่ในสภาฯ จะไม่เอาเรื่องสุขภาพ เรื่องระบบสาธารณสุขมาเล่นเกมการเมือง จะไม่เอาความเชื่อของตัวเองแล้วไม่ฟังใคร เพียงเพราะต้องการชื่อเสียง คะแนนเสียง แล้วมาแลกกับสุขภาพของประชาชน ชีวิตของประชาชน” นายอนุทินกล่าว

นายอนุทิน ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ทั่วโลก ยืนยันว่าการทำงานของรัฐบาลไทยเป็นไปตามแผนทีกำหนด แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะไม่ได้เป็นศูนย์ ตามที่หลายคนคาดหวัง แต่ที่ผ่านมาถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้ จนทั่วโลกยอมรับให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศ ที่สามารถจัดการกับการระบาดของโรคโควิด-19 โดยได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพถึงระบบการจัดการยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ใช้รักษาโรคโควิด-19 ที่ก่อนหน้านี้ช่วงมีเกิดการระบาด พบว่าไทยมีอัตราการสำรองยาเพียงหลักหมื่นเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน มีอัตราการสำรองยามากกว่า 70,000 เม็ด นั้นแสดงให้เห็นว่าประเทศไทย มีระบบการจัดการที่ดี ในการเตรียมพร้อมรับมือ หากพบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 สามารถนำยาไปใช้ได้ทันที่ อีกทั้งที่ผ่านมายังไม่พบผู้เสียชีวิต ที่เกิดจากโรคโควิด-19 โดยตรง ทั้งหมดเกิดแทรกซ้อนทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปตามข้อบ่งชี้ขององค์การอนามัยโลก จึงอยากให้ประชาชนมั่นใจถึงระบบการจัดการสาธารณสุขของประเทศไทย

ส่วนประเด็นวัคซีนโรควิด-19 นายอนุทิน ระบุว่า หากมีการคิดค้นได้สำเร็จในอนาคต รัฐบาลไทยจะพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาบันต่างๆที่คาดว่าจะสามารถคิดค้นวัคซีนได้ และเชื่อว่าเมื่อสำเร็จ ประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในหลายๆประเทศไทย ที่สามารถดำเนินการจัดซื้อวัคซีนเข้ามาป้องกันโรคให้กับประชาชนคนไทยได้ ทั้งนี้ได้มอบนโยบายการทำงาน ของ สปสช.ในปีต่อไป ที่ต้องทำให้ครอบคลุมคนไทยทุกคน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหาร สปสช.พิจารณาและนำเสนอต่อไป เพราะจากประสบการณ์ของ สปสช. ที่ทำงานมาเกือบ 20 ปี จะสามารถเดินหน้าระบบสุขภาพของไทยต่อไปในอนาคตได้อย่างแน่นอน

ภายในงาน ยังมีเสวนาในหัวข้อ “ระบบสุขภาพกับเศรษฐกิจและสังคม หลัง COVID-19” โดยมีผู้ร่วมเสวนา 3 ท่าน ประกอบด้วย นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย  , ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยประเด็นสำคัญมุ่งไปที่การเดินหน้าแก้ไขสถานการณ์บ้านเมืองหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 คลี่คลายให้สามารถกลับมาเดินหน้าต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

“เรื่องสุขภาพกับเศรษฐกิจ พบว่า สถานการณ์โควิด มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการสื่อสารกับประชาสังคม จะมีการสื่อสารอย่างไร โดยประเด็นแรก ต้องสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่า ต่อให้เรามีผู้ติดเชื้อในประเทศไม่ใช่ศูนย์ เราก็เอาอยู่  โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพ ที่ผ่านมาการสร้างความเชื่อมั่นเรื่องนี้กับประชาชนยังไม่ดีพอ” ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าว

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย

ขณะที่ นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ กล่าวถึง ระบบสุขภาพกับเศรษฐกิจและสังคม หลัง COVID-19 มองว่ามันคงไม่ไปจากเรา อาจจะเป็นเหมือนไข้หวัด ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน สุขภาพจะดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับ สธ. และขึ้นอยู่กับทุกกระทรวง และยังระบุถิงปัญหาสุขภาพคนไทยจากสถิติที่ผ่านมา พบว่า โรคที่เป็นสาเหตุการตายของคนไทย 3 อันดับ ได้แก่ มะเร็ง อุบัติเหตุ และ โรคหลอดเลือดต่างๆ บางโรคสาเหตุมาจาก กรรมพันธุ์ เพศชาย อายุ รวมไปภาวะอ้วน ไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย และการจะลดอัตราการเสียชีวิตได้ อาจจะต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เสนอ แก้สถานการณ์ หลังโควิด-19 ตอนนี้ต้องทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น อย่าเพิ่งห่วง GDP ขอให้ประชาชนได้ทำงานในองค์กร ดีกว่าตกงาน ที่สำคัญจากสถานการณ์แพร่ระบาดที่ผ่านมาทำให้เห็นว่าในอนาคตดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทในส่วนต่างๆ มากขึ้น แต่ยังห่วงคุณภาพ เช่น การเรียนออนไลน์ ประชุมออนไลน์ จะเห็นว่าบางคนก็เปิดระบบทิ้งไว้แล้วไม่สนใจ จะต้องหาทางออกว่าจะทำอย่างไรให้มีคุฯภาพที่สุด

ชมย้อนหลังได้ที่ Workpoint Entertainment

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า