SHARE

คัดลอกแล้ว

การส่งเสริมคุณภาพชีวิต ‘ประชากรกลุ่มเปราะบาง’ ที่มีความต้องการพิเศษ ให้มีสุขภาวะที่ดีรอบด้านเทียบเท่ากับคนทุกกลุ่ม กลายเป็นโจทย์ใหญ่และเรื่องท้าทายในสังคม เพราะการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย อาจต้องเดิมพันด้วยมันสมองของเหล่านักพัฒนาหน้าใหม่ ที่มีความเชื่อมั่นและตั้งใจว่าจะขับเคลื่อนงานภาคประชาสังคมด้วยวิธีใหม่ ด้วยการทำนวัตกรรมเพื่อสุขภาวะหลากหลายรูปแบบขึ้นมา เพื่อช่วยกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กและเยาวชน ให้มีชีวิตดีขึ้นเทียบเท่ากับทุกคนในสังคม

แต่การจะเดินหน้าเพื่อพัฒนาสิ่งเหล่านี้ อาจมีราคาที่ต้องจ่ายหลายอย่าง เพราะนอกจากคนที่ต้องคิดค้นและทำนวัตกรรมขึ้นมา จะต้องกล้าคิด กล้าทำ กล้าลองผิด กล้าลองถูก บางครั้งยังต้องยอมรับความล้มเหลวจากสิ่งที่คิดที่ทำลงไปด้วย และอาจถูกตั้งคำถามว่าระบบบริการสุขภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจะทำให้ทุกคนในสังคมมีสุขภาวะที่ดีและไม่เกิดความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือไม่ ที่สำคัญงบประมาณที่ทุ่มเทลงไปกับสิ่งเหล่านี้จะคุ้มค่าและได้กำไรมากน้อยแค่ไหน ถึงจะทำให้ประชากรกลุ่มเปราะบางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแบบที่ตั้งความหวังเอาไว้ในข้างต้น

นวัตกรความหวังของความสุข

นวัตกร (Innovator) เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์และน้ำหล่อเลี้ยงที่จะช่วยบ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรมล้ำสมัย ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนได้ คนกลุ่มนี้มักได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เชิงบวก และเปลี่ยนโลกให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นได้ ทำให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผนึกกำลังร่วมกับบริษัท ซีนเนอร์ยี่ อินโนเวชั่น จำกัด (Synhub) และภาคีเครือข่าย จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ “HealthTecH X สุขล้ำไม่เหลื่อมล้ำขึ้นมา เพื่อให้โอกาสคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นนวัตกร มาเป็นอีกกำลังสำคัญช่วยพัฒนานวัตกรรมสุขภาพด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ที่คนทุกกลุ่มต้องเข้าถึงได้ โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบาง ที่ สสส. ให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กและเยาวชน

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

งานนี้จัดขึ้นที่สยามสเคป สยามสแควร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา มีเป้าหมายขยายเครือข่ายคนรุ่นใหม่และพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมที่สนใจเรื่องนวัตกรรมให้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยว่า การจัดงานครั้งนี้มีนวัตกรรมสุขภาพทั้งหมด 23 ผลงาน ชี้ให้เห็นว่าโครงการสามารถสร้างเสริมศักยภาพนวัตกรหรือนักพัฒนารุ่นใหม่ได้มากถึง 23 คน เพราะทุกคนผ่านบททดสอบหลายด่าน เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจระดับโลกได้ เพราะมีนักลงทุน หน่วยงาน และผู้เข้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ให้ความสนใจและต้องการสนับสนุนช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบางให้ได้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่ดีจำนวนมาก

“นวัตกรรมสุขภาพในโครงการ HealthTecH X ทั้งหมด 23 ผลงาน ได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานได้จริง มีโอกาสต่อยอดขยายผลทำธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น แอปพลิเคชัน AI อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things : IoTs) Big Data เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน คนพิการ สะท้อนให้เห็นว่าเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สิ่งสำคัญของโครงการนี้คือ การที่นวัตกร นักพัฒนา X-Innovator ทำให้เห็นว่าทุกคนจะไม่หยุดพัฒนาตนเองในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสังคมต่อไป”

ผลักดันผลงานไทยไปสู่เวทีโลก

ผลงานนวัตกรรมสุขภาพ 6 ผลงาน ในโครงการ HealthTecH X ที่ได้ขยายธุรกิจในไทยและไปสู่เวทีโลกระดับสากล ได้แก่ 1.อุปกรณ์วัดสัญญาณชีพอัจฉริยะประเภท IoTs สำหรับกลุ่มเปราะบาง จากทีม Bederly 2.Headband อัจฉริยะ ประเภท IoTs สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ จากทีม IFlow 3.แอปฯ ปรึกษาเรื่องสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จากทีม Dr. ASA 4.System Walker อัจฉริยะ ประเภท IoTs สำหรับผู้สูงอายุ จากทีม Techcare 5. แอปฯ รวม Art box เสริมสร้างสมาธิช่วยป้องกันเด็กสมาธิสั้น จากทีม Boxivity 6.ไม้เท้าเซ็นเซอร์ ตรวจจับสิ่งกีดขวาง ประเภท AI สำหรับคนพิการ จากทีม Golden Ticket  ทั้ง 6 ผลงาชี้วัดความสำเร็จให้เห็นว่านวัตกรรมสุขภาพสามารถทำได้จริงและทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ที่สำคัญสามารถขยายโอกาสให้ยิ่งใหญ่ด้วยการทำเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพได้

เข็มเพชร เลนะพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. 

ด้าน เข็มเพชร เลนะพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. แสดงวิสัยทัศน์ขององค์กรในงานครั้งนี้ว่า หน่วยงานต้องการส่งต่อโอกาสให้ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ที่ต้องการได้รับโอกาสทุกแห่ง  สสส. ต้องการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้สังคมทุกมิติ หนึ่งในนั้นคือการทำให้ทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ‘นักพัฒนารุ่นใหม่’ หรือนวัตกรเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่จะเป็นฝ่ายคิด วิเคราะห์ และลงมือทำสิ่งใหม่ๆ ผ่านการทำนวัตกรรมที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่สังคมที่มีสุขภาวะที่ดีต่อคนทุกกลุ่มได้ เห็นได้จากช่วงการแพร่ระบางของโควิด -19 ที่พบว่าการแก้ปัญหาต่างๆ ในตอนนั้นเยาวชน คนรุ่นใหม่มีส่วนสำคัญในการทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

“สสส. ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมที่กระจายโอกาสให้ทุกคนได้มีสุขภาวะที่ดี การเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้มาเป็นนวัตกรที่ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีหรือทำนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตของทุกคนดีขึ้นได้ไม่ใช่แค่คนกลุ่มเปราะบางเท่านั้น งานนี้ทีมโค้ชและที่ปรึกษาจาก Synhub ยินดีและเต็มใจให้ความรู้ตลอดกระบวนการจนเกิดเป็นชิ้นงานนวัตกรรม ที่สำคัญปีนี้ สสส. ยังย้ำจุดยืนเดิมคือการส่งเสริมให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลทำงานสร้างเสริมสุขภาพมาใช้ในสังคม ผ่านโครงการ Prime Minister ‘s Award 2023 เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ”

 รัศมี สืบชมภู ผู้จัดการโครงการ HealthTecH X และ CEO Synhub

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทัน Maga-Trend

รัศมี สืบชมภู ผู้จัดการโครงการ HealthTecH X และ CEO Synhub เล่าที่มาที่ไปของ โครงการ Health-Tech X ให้ฟังว่า โครงการนี้ทำร่วมกับ สสส. เพราะต้องการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลก หรือ Maga-Trend โลก ด้าน ESG มีผู้สมัครทั้งหมด 105 ทีม มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคัดทีมที่เข้ามีศักภาพเหลือ 76 ทีม และคัดเลือกรอบ Pre–Pitching เหลือ 23 ทีม แบ่งตามประเภทเทคโนโลยีออกเป็นแอปฯ 11 ทีม AI 5 ทีม IoTs 5 ทีม Big Data 2 ทีม โดยมีทีมโค้ช ที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยงช่วยยกระดับศักยภาพเฉพาะในแต่ละด้าน นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาและทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด เป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน พร้อมต่อยอดในเชิงพาณิชย์และสังคมต่อไป

สำหรับงาน “HealthTecH X สุขล้ำไม่เหลื่อมล้ำ” มีการใช้ Synhub เป็นจุดศูนย์กลางในการสร้าง Startup และเปลี่ยนถ่าย SMEs โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดธุรกิจให้เกิดขึ้นจริงแบบก้าวกระโดด งานครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่ายังมีนักพัฒนารุ่นใหม่ ที่ต้องการใช้มันสมองและความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขยายเป็นธุรกิจทางสังคมที่ไปได้ไกลถึงระดับโลกอีกจำนวนมาก หากได้รับการฝึกและส่งเสริมศักยภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง สสส. ยืนยันว่าจะเดินหน้าทำเรื่องนี้ต่อไป เพื่อขยายโอกาสให้เกิดนวัตกรรมเพื่อสุขภาวะในสังคม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า