SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปช่วงวิกฤติโควิด-19 ทำให้สุขภาพและภาวะโภชนาการของหลายๆ คนไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะวัยทำงานและผู้สูงอายุ

ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 ปี 2557-2558 พบว่า สัดส่วนประชากรที่มีค่าดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีรอบเอวเกิน เมื่อใช้เกณฑ์รอบเอวปกติน้อยกว่าส่วนสูงหารสอง เท่ากับร้อยละ 4.9 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ‘คนที่มีดัชนีมวลกายปกติ ก็มีรอบเอวเกินได้’ ดังนั้น การประเมินสุขภาพเบื้องต้นโดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกายเพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนได้ทั้งหมด

ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเกณฑ์การประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เพื่อส่งเสริมให้คนวัยทำงานและผู้สูงอายุ มีภาวะโภชนาการดี และสุขภาพดี พร้อมทั้งขับเคลื่อนการใช้เกณฑ์การประเมิน 2 เกณฑ์ คือ
1) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
2) ค่ารอบเอวปกติไม่เกินส่วนสูงหารสอง

เกณฑ์การประเมินนี้สามารถบ่งชี้ภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ได้แม่นยำมากขึ้น

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวง ระบุว่า ค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชียที่อยู่ในวัยทำงานและผู้สูงอายุยังคงใช้เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก คือ ค่าปกติอยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ส่วนเกณฑ์รอบเอวจะใช้รอบเอวปกติต้องไม่เกินส่วนสูงของตนเองหารด้วยสอง โดยใช้ร่วมกันทั้งคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ

ด้านนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่าย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กำหนดเกณฑ์การประเมินภาวะโภชนาการของคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถใช้ประเมินตนเอง ให้รู้ภาวะสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น และขับเคลื่อนเกณฑ์ประเมินภาวะโภชนาการวัยทำงานและผู้สูงอายุ โดยใช้ดัชนีมวลกายร่วมกับรอบเอวต้องไม่เกินส่วนสูงหารสอง เพื่อสร้างมาตรฐานในการประเมินภาวะสุขภาพในเบื้องต้น สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการสาธารณสุข และประชาชนทั่วไปก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง

กลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ ที่ต้องการลดอ้วน ลดพุงสามารถดูแลสุขภาพตนเองด้วยการกินอาหารให้ตรงเวลามีความหลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วน 2:1:1 คือ ผักหลากสี 2 ส่วน, เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน, ข้าว แป้ง 1 ส่วน ลดการกินอาหารประเภท หวาน มัน เค็ม ชา กาแฟ ขนมเบเกอรี ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน และออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน และทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เซ็ง ไม่เครียด ไม่คิดฟุ้งซ่าน เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า