Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ดร.กฤษกร สุขเวชชวรกิจ หัวหน้าสาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 และสถานการณ์ที่ไทยมีประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น เป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการไทย จะต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือธุรกิจความงาม ที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมนี้มักประสบปัญหาสงครามโปรโมชั่น ตัดราคากันเอง ใช้เครื่องมือคล้ายกัน ขาดจุดเด่นที่ชัดเจน แม้จะมีคลินิกความงามและแบรนด์อาหารเสริมเกิดใหม่ตลอดเวลา แต่ก็มีที่ปิดตัวลงด้วยเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจกลุ่มนี้ยังขาดความยั่งยืนในระยะยาว

ลงลึกด้านศาสตร์ชะลอวัย เสริมความแข็งแกร่งธุรกิจความงาม

ศาสตร์ชะลอวัย เป็นศาสตร์ที่วิเคราะห์ถึงรายละเอียดของร่างกาย ฟื้นฟูความเสื่อมของสุขภาพกายและสุขภาพจิต ปรับสมดุลกลไกต่างๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม ในปัจจุบันคลินิกความงามทั่วไปจะเน้นการรักษาอาการที่เป็นอยู่เท่านั้น เช่น เป็นสิวก็รักษาด้วยการกดสิวหรือฉีดสิวให้ยุบ จากนั้นใช้การเลเซอร์ลบรอยแผลที่เกิดขึ้น แต่ศาสตร์ชะลอวัยจะรักษาอาการที่เป็นอยู่ควบคู่กับการตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เพื่อลดการเกิดอาการซ้ำอีกด้วยการใช้นวัตกรรมและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยร่วมกัน อีกทั้งในอนาคตการดูแลสุขภาพจะลงลึกในระดับพันธุกรรม เพราะโรคบางชนิดไม่สามารถตรวจพบได้ในเบื้องต้น อาทิ โรคเบาหวาน การพยากรณ์ความเสี่ยงของการเกิดโรคจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงลึกในหลายด้านเพื่อวิเคราะห์

“ธุรกิจสุขภาพความงามในอนาคตเปรียบเสมือนการผสมผสานระหว่างแพทย์ผู้ที่ต้องมีความรู้ด้านสุขภาพ รวมกับนักวางแผนการเงินผู้ที่ต้องช่วยจัดสรรพอร์ต กระจายความเสี่ยงในการใช้ชีวิต เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสื่อมของสุขภาพที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผลักดันให้ลูกค้าเริ่มลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆ มุ่งเน้นการดูแลป้องกัน ให้ชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพมากที่สุด” ดร.กฤษกร ระบุ

5 ปัจจัยสำคัญควรรู้ก่อนออกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) มีการจัดทำข้อมูลที่กล่าวถึงเทรนด์ความนิยมอาหารสุขภาพทั่วโลก โดยอ้างอิงจากผลวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคของบริษัท Mintel พบว่า ผู้บริโภคในทวีปยุโรป ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมังสวิรัติ (Vegan) และมีส่วนผสมของน้ำตาลน้อย ขณะที่ผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนือ เน้นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สารตกแต่งพันธุกรรม และผู้บริโภคในทวีปเอเชียนิยม ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและปราศจากสารปรุงแต่ง โดยผู้บริโภคทั่วโลกนิยมรับประทานอาหารเสริมและวิตามินในรูปแบบเม็ดแคปซูลมากที่สุด รวมทั้งให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติมากกว่าที่ใส่สารปรุงแต่ง สำหรับแนวโน้มผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญมี 5 ปัจจัย ดังนี้

  1. การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health) ผู้บริโภคทั่วโลกกว่าร้อยละ 70 ต้องการอาหารเสริมหรือวิตามินที่สามารถปรับสมดุลในร่างกาย โดยเฉพาะการรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร เพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยรักษาผิวพรรณ โดยเน้นสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ ไม่ส่งผลเสียกับร่างกาย
  2. ความกังวลกับโรคอุบัติใหม่และปัญหาสุขภาพ (New and Emerging Health Concerns) ผู้บริโภคทั่วโลกส่วนใหญ่เลือกซื้อสินค้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่มทดแทน ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 47 ที่ต้องการอาหารเสริมและวิตามินเพิ่มเติม มักซื้อในรูปแบบของอาหารและเครื่องดื่ม
  3. การผสมผสานกับอาหารและเครื่องดื่ม (Align with Food and Drink) ผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชและโปรตีนทางเลือกจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคในยุโรปร้อยละ 45 เชื่อว่าการรับประทานอาหารจากพืช (plant-base) ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่า
  4. การผสมผสานกับความสวยความงาม (Beauty Benefit) ผู้บริโภคชาวไทยกว่าร้อยละ 51 ให้ความสนใจกับอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้ผิวพรรณดีขึ้น และผู้บริโภคชาวจีนให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่ใส่อาหารเสริมและวิตามินในน้ำผลไม้
  5. การมีฉลากที่ชัดเจนและความโปร่งใสของที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ (Clean Label and Transparency) ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับฉลากที่ชัดเจน บ่งบอกลักษณะสินค้าที่สำคัญ เช่น วัตถุดิบทำจากพืช (plant-based ingredient) ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ (Allergy free) เป็นต้น

ดร.กฤษกร กล่าวว่า สำหรับธุรกิจอาหารเสริมในประเทศไทย ควรใช้จุดแข็งจากการเป็นแหล่งสมุนไพรและวัตถุดิบธรรมชาติที่หลากหลาย นำมาผลิตสินค้า โดยนำเทคโนโลยีและใช้การวิจัยที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนเพิ่มเติม จะช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สามารถขยายตลาดและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทั่วโลก แต่เนื่องจากอาหารเสริมที่นิยมกันในปัจจุบันมีหลายกลุ่ม จึงจำเป็นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการ อาทิ กลุ่มวัยทำงานมีพฤติกรรมที่ต้องใช้พลังกายและพลังทางความคิดอย่างหนัก จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเองทั้งการเลือกรับประทานอาหารและการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เสียสุขภาพไปกับการทำงานทั้งวันจนเหนื่อยล้า ทำให้สมองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าปกติ โดยทางวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ทำการออกแบบ หลักสูตรการจัดการธุรกิจสุขภาพ Health Business Management (HBM) ซึ่งรวม 3 องค์ประกอบสำคัญที่จะสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจสุขภาพยุคใหม่ พื้นฐานการจัดการธุรกิจ การเจาะลึกด้าน Healthcare Management พร้อมมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมล้ำสมัยมาใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น AI, Big Data Analytics, Telemedicine หรือ Edge Computing โดยร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS และโรงพยาบาลเอกชนอีกหลายแห่ง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า