Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ท้องในวัยรุ่นยังคงน่ากังวล หลังพบผู้ป่วยซิฟิลิสพุ่งสูง รวมถึงจากการเก็บข้อมูลการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มวัยรุ่นค่อนข้างต่ำลง ปัจจัยสำคัญคือต้องเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการพูดคุยเรื่องเพศโดยเฉพาะจุดเริ่มต้นที่มาจากครอบครัว พ่อแม่ลูก

เริ่มต้นจากมุมมองของศิริพงษ์ เหล่านุกูล คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวและมีลูกที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เขาเล่าว่า ลูกชายเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นด้วยวัย 11 ปี ทำให้การสนทนาพูดคุยระหว่างพ่อลูกเปลี่ยนไปตามวัย ลูกค่อนข้างเงียบขึ้น ไม่เหมือนวัยเด็กที่มักจะมาเล่าประสบการณ์ในโรงเรียนให้ฟังทุกคืนก่อนนอน ทำให้การเริ่มต้นบทสนทนา โดยเฉพาะเรื่องเพศเป็นเรื่องยากขึ้น การจะเริ่มสนทนาก็ต้องดูบรรยากาศว่าลูกขณะนั้นกำลังทำอะไร ไม่ให้เกิดความรู้สึกอึดอัด เหมือนถูกบังคับให้ต้องพูดคุย โดยจะใช้วิธีการเล่าประสบการณ์ของตัวเองก่อน เพื่อเปิดบทสนทนา เช่น วัยเด็กพ่อมีเพื่อนผู้หญิงแบบนี้ แล้วค่อยถามว่าในห้องเรียนของลูกมีเพื่อนผู้หญิงแบบไหน ลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วก็เล่าประสบการณ์ความรักของตนเองให้ลูกฟัง

“แต่ก่อนเราจะคิดเสมอว่า จะเริ่มต้นพูดเรื่องเพศกับลูกยังไงดี เคยถึงขั้นนำวิดีโอมาดู แต่ตอนหลังก็ฉุกคิดได้ว่า การสื่อสารในครอบครัวเป็นบริบทเฉพาะ ไม่มีรูปแบบตายตัว การสร้างความไว้วางใจให้ลูกคือเคล็ดลับสำคัญ ลักษณะการคุยก็จะต้องไม่เชิงสอน ไม่กดดัน ไม่ตำหนิ แต่ว่าอาจจะต้องแชร์ประสบการณ์ของตน นอกจากผู้ปกครองจะสามารถสื่อสารเรื่องเพศกับลูกได้อย่างใกล้ชิดแล้ว คนสำคัญถัดไป คือ ครูในโรงเรียน เพราะสำหรับเด็กครูบางคนคือไอดอล” นั่นคือสิ่งที่คุณสิริพงษ์ สะท้อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเกี่ยวกับเรื่องเพศ ต้องคุยได้กับทุกคนโดยไม่อาย 

สอดคล้องกับข้อมูลของ นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนไทยมองว่าการคุยเรื่องเพศเป็นเรื่องยาก ถูกมองว่ากลายเป็นเรื่องน่าอาย หยาบคาย ไม่จำเป็นต้องสอน เดี๋ยวเด็กโตไปก็สามารถเรียนรู้ได้เอง จนกลายเป็นเรื่องที่ต้องปกปิดในวงสนทนาของครอบครัว หรือผู้ใหญ่กับเด็ก แต่ว่าในความเป็นจริงไม่สามารถปิดกั้นความสนใจใคร่รู้ตามวัยของเด็กได้ จนทำให้บางคนเลือกหาข้อมูลเรื่องเพศจากสื่อต่างๆ อาทิอินเทอร์เน็ต รวมถึงเพื่อน ซึ่งไม่รู้เลยว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้อง หรือเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ความ “ไม่รู้” หรือ “ไม่เท่าทัน” เรื่องเพศของเด็ก ส่งผลให้เด็กกลุ่มหนึ่งได้รับผลกระทบเมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งการตั้งครรภ์

อัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี ในปี 2564 อยู่ที่ 24.4 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปีพันคน อีกทั้งปัญหาติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างซิฟิลิส ในปี 2564 มีอัตราป่วยในเยาวชนอายุ 15-24 ปี อยู่ที่ 50.5 ต่อประชากรอายุ 15-24 ปีแสนคน สูงขึ้นมากกว่า 2 เท่า จากปี 2560 สอดคล้องกับข้อมูลการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอที่ค่อนข้างต่ำ

นายซาหดัม แวยูโซ๊ะ เยาวชนจากกลุ่มลูกเหรียง สะท้อนความเห็นจากประสบการณ์ชีวิตเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ปกติเมื่อมีปัญหา หรือสงสัยเรื่องเพศ ทั้งทางกายจากร่างกายที่เปลี่ยนไป หรือความรู้สึก จะเลือกปรึกษาเพื่อนสนิทหรือครู เพราะกล้าที่จะเปิดเผยมากกว่า โดยเฉพาะกับเพื่อน เพราะรู้สึกสบายใจ ไม่กดดัน ไม่ถูกตำหนิ ทำให้รู้สึกปลอดภัย ไม่เหมือนสอบถามกับพ่อแม่ ที่ตัวเราคิดว่า พ่อแม่ไม่ทันสมัย ไม่เข้าใจวัยรุ่น จึงอยากเสนอว่าหากจะให้กล้าพูดคุยกับพ่อแม่ ก็อยากให้พ่อแม่เลือกบรรยากาศและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสนทนากับลูก เช่น ชมข่าว หรือดูละครร่วมกัน แล้วมีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ให้เป็นโอกาสที่ดีในการสนทนา เพราะบางครั้งการสื่อของเด็กอาจเป็นประโยคบอกเล่า เช่น มีแฟนแล้วนะ แต่ถ้าพ่อแม่สวนว่า ทำไมรีบมี ยังเด็กอยู่เลย บทสนทนาจะจบทันที อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถพูดคุยกับเพื่อนหรือครูได้ ก็อยากให้มีแอปพลิเคชัน หรือแชตไลน์ของหน่วยงานรัฐ ที่จะให้บริการช่วยเหลือ รับฟัง ให้คำปรึกษา รวมถึงแนะนำเรื่องเพศ โดยไม่ซักถามตัวตนของเยาวชน เพื่อให้เด็กกล้าเล่า กล้าคุย

ด้านกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุถึงแนวโน้มสถิติเด็กและเยาวชนลดลงทุกปี จากข้อมูลของกรมการปกครอง พบว่าในปี 2565 มีจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 13 ล้านคน หรือ 19.7% ส่วนเด็ก 18-25 ปี มี 6.8 ล้านคน หรือ 10.3% หากรวมเด็กทั้ง 2 กลุ่ม จะมีสัดส่วน 30% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่รูปแบบของโครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนเป็นครอบครัวข้ามรุ่น และแหว่งกลาง คือ ผู้สูงอายุต้องดูแลเด็ก ซึ่งคาดว่าในปี 2583 จะเพิ่มขึ้นถึง 15% จากปี 2562 อยู่ที่ 13.7% ทำให้เป็นส่วนสำคัญของอุปสรรคในการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว ส่วนปัญหาครอบครัวที่พบมากที่สุด คือ เด็กอาศัยในครอบครัวยากจนที่มีรายได้เส้นแบ่งความยากจนต่ำกว่า 2,600 บาทต่อเดือน ถึง 10.1% รองลงมาพ่อแม่มีปัญหาจิตเวช ปัญหาที่อยู่อาศัยของเด็กไม่ปลอดภัย ทั้งความแออัด ห้องน้ำรวมกัน โควิด-19 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ทำให้เด็กก้าวตามไม่ทัน หลงเป็นเหยื่อในสื่อออนไลน์ และสารเสพติด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า