SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์สถาบันประสาทวิทยา เตือนให้ระวังโรคลมแดดหรือฮีทสโตรกจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดของประเทศไทยในช่วงนี้ จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และอันตรายถึงชีวิต

อากาศที่ร้อนจัดในช่วงนี้ทำให้ร่างกายต้องปรับอุณหภูมิและควบคุมความร้อนที่เกิดขึ้นภายใน เมื่อร่างกายต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน อาจทำให้ไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ และจะส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต การทำงานของสมองผิดปกติในส่วนการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เรียกภาวะนี้ว่า ‘ฮีทสโตรก’ (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด

‘ฮีทสโตรก’ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคลมแดดมากที่สุด คือ ผู้สูงอายุ, เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ที่ออกกำลังกายหรือใช้กำลังมากเป็นเวลานาน รวมถึงประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยระยะพักฟื้น

• อาการ ‘ฮีทสโตรก’ 

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานานพบว่า มีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นในฤดูร้อนคือ อาการจะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อยๆ สูงขึ้น เมื่อเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้และทำให้รู้สึกผิดปกติ
1. ปวดศีรษะ
2. หน้ามืด
3. กระสับกระส่าย
4. ซึม
5. สับสน
6. ชัก
7. ไม่รู้สึกตัว
8. มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
9. หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ
10. ตัวแดง

• ‘ฮีทสโตรก’ ทำให้เสียชีวิตได้

ด้าน นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า การเป็นฮีทสโตรกถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้น เมื่อพบผู้ที่มีอาการจากโรคลมแดด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว

• วิธีป้องกัน ‘ฮีทสโตรก’

สำหรับการป้องกันการเป็นโรคลมแดด สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ อาจเลือกเวลากิจกรรมใหม่เป็นช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน ส่วนผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้เสียน้ำทางปัสสาวะในปริมาณสูง หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้มากพอจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคลมแดดได้

หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งควรปกป้องตนเองจากแสงแดดโดยอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น สวมใส่เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี หมวก ร่ม ถือเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรพกติดตัวเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด

นอกจากนี้การอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้งจะมีอันตรายมาก นอกจากต้องพบกับอากาศร้อนแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซพิษ ที่มีผลต่อระบบประสาทจึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน อย่างไรก็ตามโรคลมแดดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งผู้ที่เกิดอาการต้องได้รับความช่วยเหลือในทันที ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสมองและอวัยวะ ที่สำคัญในร่างกาย

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา และนพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า