Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข ประชุมร่วม สปสช. สภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน ผู้ประกอบการร้านยา ชี้แจงแนวทางการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัด นำร่องในโรงพยาบาล 50 แห่ง ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 500 แห่ง ตามนโยบายลดความแออัดโรงพยาบาล

นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 19 ก.ย. 62  นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานลดความแออัดในโรงพยาบาลโดยร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) ให้กับตัวแทนผู้ประกอบการร้านยา สภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาล ตามนโยบายของนายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นพ.ประพนธ์ กล่าวว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายลดความแออัดของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มความสะดวกบริการประชาชน โดยให้ผู้ป่วยนำใบสั่งยารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) ที่ได้มาตรฐาน GPP ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการพัฒนาระบบบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีสภาวิชาชีพเป็นผู้กำกับคุณภาพบริการร้านยา นำร่อง 500 แห่งทั่วประเทศ โดยเริ่มในโรงพยาบาลศูนย์ หรือ โรงพยาบาลทั่วไปที่มีความพร้อม 50 แห่ง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และลดการครอบครองยาเกินความจำเป็น

“เงื่อนไขการรับบริการขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ป่วยเป็นหลัก ยาที่ผู้ป่วยได้รับจากร้านยาต้องเป็นตัวเดียวกันกับที่โรงพยาบาลจ่ายไว้เดิม เน้นผู้ป่วย 4 โรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตเวช และหอบหืด โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่ม ในปี 2566 ตั้งเป้าร้านขายยาแผนปัจจุบัน ร่วมเป็นเครือข่าย 5,000 แห่ง และมีโรงพยาบาลที่จะดำเนินงาน 250 แห่งทั่วประเทศ” นพ.ประพนธ์ กล่าว

พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

ด้าน พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชี้แจงถึงวิธีการที่ให้ผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านขายยาแผนปัจุุบันที่ใกล้บ้านว่า ร้านยาจะต้องจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ โดยอาจจะมีการกำหนดจากแพทย์มาว่า ให้รับยาที่ร้านยาทุกๆ 2 เดือน พร้อมให้เภสัชกรช่วยวัดความดัน หรือ วัดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยด้วย หรือหากพบผู้ป่วยมีความเสี่ยงให้ส่งตัวมาโรงพยาบาล พร้อมกับรายงานข้อมูลการเข้ารับยาของผู้ป่วยตามระบบของโรงพยาบาล โดยย้ำว่าเบื้องต้นจะจ่าย 4 กลุ่มโรคก่อน โดยที่ประชาชนจะไม่เสียค่าใช้จ่าย และยาที่ได้รับจะเหมือนกับยาของโรงพยาบาล

สำหรับรูปแบบในการจ่ายยามีหลักๆ 3 วิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าโรงพยาบาลและร้านยาจะตกลงใช้แบบใด คือ
1. โรงพยาบาลเตรียมยาให้ผู้ป่วยแบบรายบุคคล และส่งไปที่ร้านยาที่ผู้ป่วยแสดงความจำนงว่าจะไปรับ
2. โรงพยาบาลจัดเตรียมยาสำรองไปไว้ที่ร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ
3. ร้านขายยาดำเนินการจัดยาของร้านให้ได้เลย โดยโรงพยาบาลจะต้องจ่ายค่ายาให้ร้านยา หากเลือกรูปแบบนี้

เช็ก 4 เงื่อนไข ก่อนไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน 1 ต.ค. นี้

ส่วนอัตราการจ่ายค่าบริการของนโยบายนี้ สปสช.จะสนับสนุนงบประมาณให้กับโรงพยาบาลและร้านยาดังนี้
ร้านขายยา – สปสช.จ่ายให้ 70 บาท ต่อใบสั่งยาผู้ป่วยนอก 1 ใบ (ค่าบริการ เวชภัณฑ์ ค่าแนะนำการใช้ยา)
โรงพยาบาล – สปสช. จ่ายให้ 33,000 บาท ต่อปี ต่อร้านยา 1 แห่ง (ค่าจัดเตรียมยา ค่าขนส่งยา)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า