SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 26 เม.ย.63 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าวิธีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 นั้น ต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของโรคนั้น ๆ ซึ่งขณะนี้ไทยใช้วิธีการ RT-PCR ในการตรวจเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งขณะนี้ไทยมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองรองแล้ว 124 แห่ง และทุกโรงพยาบาลมีระบบการส่งตัวอย่างออนไลน์และส่งผลออนไลน์ ซึ่งขณะนี้การตรวจหาเชื้อด้วยการหาสารพันธุกรรมยังคงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

 

ตัวอย่างการตรวจโดยวิธีการตรวจแอนติบอดีของเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 ใน 34 ราย หลังจากมีอาการไม่เกิน 7 วัน พบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันขึ้น 17.65% ซึ่ง นพ.โอภาส ชี้ว่านี้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าโรคนี้ในช่วงแรกระดับภูมิคุ้มกันเป็นไปอย่างช้า ๆ

 

“มีอาการแล้ว ต้องใช้เวลา 7 วัน ภูมิคุ้มกันขึ้น 17 %เอง เพราะฉะนั้น การวินิจฉัยโดยการตรวจภูมิคุ้มกันตรงนี้จะไม่ค่อยไวนัก” นพ.โอภาส กล่าว

 

ต่อมาเมื่อมีการตรวจในคนไข้ 33 ราย หลังมีอาการเป็นสัปดาห์ที่สอง ระหว่างวันที่ 8-14 วัน พบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 42.42 % จึงเป็นเหตุให้มีโอกาสที่ตรวจเชื้อมาแล้วผลยังคงเป็นลบในระยะเวลาดังกล่าว

 

ขณะที่เมื่อตรวจในค้นไข้ 20 ราย หลังจากมีอาการแล้วเกินกว่า 14 วัน พบว่ากว่า 85% ที่มีระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้น “นี่ก็แปลว่าเวลาเราตรวจวินิจฉัยโดยการดูภูมิคุ้มกันเนี่ย ส่วนใหญ่จะต้องรอคนไข้หลังจาก 2 อาทิตย์ผลตรวจถึงจะได้ผลบวก ซึ่งโดยวิธีการ หลักการการรักษาอันนี้ค่อนข้างช้าแล้ว”

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นพ.โอภาส อธิบายว่า การตรวจภูมิคุ้มกัน หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ Rapid Test จึงมีประโยชน์น้อยในเชิงการรักษา จะมีประโยชน์เพียงบางกรณี รวมถึงระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มสูงขึ้นในบางครั้งนั้นไม่ไดสามารถช่วยป้องกันโรคได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุญาต และแปรผลโดยผู้ที่มีความชำนาญ

 

“การซื้อตรวจเองทางออนไลน์ อย.ฝากมาว่าผิดกฎหมาย ห้ามนะครับ…การตรวจ Rapid-test หรือการตรวจภูมิคุ้มกันเนี่ย ไม่ใช่การตรวจหลักในการวินิจฉัยผู้ป่วย รวมทั้งการสอบสวนควบคุ้มโรค ไม่ได้มีประโยชน์มากมายอะไรในตอนนี้ ในภายภาคหน้าถ้าเรามีความรู้มากขึ้นก็คงมีการมาพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง” นพ.โอภาส กล่าว

 

ดร.พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญพิเศษ

 เชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์หรือไม่ ถอดรหัสพันธุกรรมพบ 3 กลุ่มสายพันธุ์ระบาดในไทย

 

จากข้อสงสัยที่ว่าขณะนี้เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีการกลายพันธุ์หรือไม่นั้น ดร.พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญพิเศษ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่การพบผู้ป่วยในประเทศไทย ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการถอดรหัสทางพันธุกรรม ในผู้ป่วยเพศหญิงวัย 61 และ 74 ปี พบว่า

-เชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์มีความใกล้เคียงกับ SARS-like bat CoV ถึง 88 % ซึ่งมาจากค้างคาว

-มีความใกล้เคียงกับ SARS-CoV ที่เคยระบาดในปี พ.ศ. 2546 เพียง 80%

-โปรตีนที่ผิวของ SARS-CoV-2 มีความเหมือนกับโปรตีนที่ผิวของ SARS-CoV เพียง 76%

-ซึ่งมีความเป็นไปได้ของความแตกต่างในด้านความรุนแรงในการก่อโรค และการแพร่กระจายของเชื้อ

โดยขณะนี้จากการศึกษาเชื้อที่พบในผู้ป่วยที่มีผลบวกในตอนนี้ มีการพบ 3 กลุ่มสายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A ซึ่งเป็นต้นต่อที่พบในค้างคาว สายพันธุ์ B ซึ่งมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งในบ้านเราก็พบส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ และสายพันธุ์ c จะมีการกลายพันธุ์เล็กน้อยจากกลุ่ม B ซึ่งมีการระบาดในยุโรป และสิงค์โปร์

ซึ่งทั่วโลกมีการวิเคราะห์ความแตกต่างของทั้ง 3 กลุ่ม จนจำแนกออกมาเป็น สายพันธุ์ S, G และ V ซึ่งในประเทศไทยพบสายพันธุ์ S ซึ่งทั้ง 3 สายพันธุ์นั้นมีความแตกต่างทางพันธุกรรมเพียงจุดเดียว ซึ่งไม่ส่งผลให้การก่อโรคต่างกันมากนัก

ดร.พิไลลักษ์ กล่าวว่า ตอนนี้มีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วย 40 ราย และจะศึกษาจนครบ 100 ราย เพื่อดูการกระจายตัวและสายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ตาม นพ.โอภาส กล่าวว่า เมื่อเทียบกับเชื้อไวรัสที่คนรู้จักกันดีอย่างไข้หวัดใหญ่นั้น เชื้อนี้จะมีการกลายพันธุ์ที่ช้ากว่า และการกลายพันธุ์นั้นจากข้อมูลขณะนี้ยังไม่บ่งบอกว่าทำให้รุนแรงขึ้น หรือติดเชื้อง่ายขึ้น

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า