SHARE

คัดลอกแล้ว

การประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 ในปีนี้ จัดขึ้นที่เมืองบิอาร์ริตซ์ ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค. นี้ โดยทั้ง 7 ประเทศที่เป็นแกนหลักของกลุ่ม ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี แคนาดา และญี่ปุ่น ต่างมาร่วมประชุมครบถ้วน

นอกจากนี้ยังมีผู้นำจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป, องค์การการค้าโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, ธนาคารโลก, สหประชาชาติ, โออีซีดี ฯลฯ รวมถึงผู้นำจากอีกหลายประเทศที่ได้รับเชิญให้มาร่วมงานประชุมในปีนี้ด้วย

โดยการประชุม 2 วันที่ผ่านมา มีไฮไลท์ที่น่าจับตาดังนี้

1. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้เสนอให้กลุ่ม G7 รับประเทศรัสเซียกลับเข้ากลุ่ม สร้างความไม่พอใจให้ผู้นำคนอื่นๆ

สำนักข่าว Guardian ของอังกฤษ รายงานว่าในระหว่างอาหารมื้อค่ำในคืนวันเสาร์ (24 ส.ค.) โดนัลด์ ทรัมป์ ได้หยิบยกประเด็นเรื่องการให้รัสเซียกลับเข้ามาอยู่ในกลุ่ม G7 หลังจากที่รัสเซียถูกขับออกจากกลุ่มไปตั้งแต่ปี 2014 จากกรณีที่รัสเซียนำกำลังทหารไปบุกยึดคาบสมุทรไครเมียของยูเครน โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ พยายามยกเหตุผลสนับสนุนว่า ประเด็นอย่างเช่นวิกฤติในอิหร่าน ซีเรีย และเกาหลีเหนือ ควรจะมีรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งในการพูดคุยด้วย

ข้อเสนอดังกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์ทำให้ผู้นำกลุ่ม G7 หลายคนไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และแคนาดา โดยต่างให้เหตุผลว่า G7 ควรจะเป็นกลุ่มเฉพาะสำหรับประเทศที่เป็นเสรีประชาธิปไตยเท่านั้น และจากพฤติกรรมของรัสเซียที่บุกยึดไครเมียก็ไม่สอดคล้องกับค่านิยมนี้ รายงานยังระบุด้วยว่า มีเพียงผู้นำอิตาลีเท่านั้นที่พยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนทรัมป์ ในขณะที่นายกฯ ญี่ปุ่นเลือกที่จะเป็นกลางในประเด็นนี้

อย่างไรก็ตาม นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประธานาธิบดีทรัมป์พยายามยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูด โดยในการประชุม G7 ปีที่แล้วที่เมืองควิเบค ประเทศแคนาดา ทรัมป์ก็ได้เคยยกประเด็นนี้มาพูดแล้วครั้งหนึ่ง

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน เซอไพรส์มาปรากฏตัวที่งานประชุม G7 เพื่อพูดคุยเรื่องวิกฤตินิวเคลียร์

นาย Mohammad Javad Zarif รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน ได้มาปรากฏตัวแบบเซอร์ไพรส์เพื่อพูดคุยเรื่องวิกฤตินิวเคลียร์ที่งานประชุม G7 โดยรายงานระบุว่านาย Zarif ได้มาร่วมพูดคุยกับตัวแทนเจ้าหน้าที่กลุ่ม G7 ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้นาย Zarif ได้พบเจอกับประธานาธิบดีมาครงของฝรั่งเศสแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก่อนที่งานประชุม G7 จะเริ่มต้นขึ้น

การปรากฏตัวของ รมว.การต่างประเทศอิหร่านในครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับกลุ่มประเทศตะวันตก หลังจากเมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้ยกเลิกข้อตกลงเรื่องการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน และเริ่มเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร ทำให้ทางอิหร่านเองเริ่มโครงการขยายอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเองอีกครั้ง

3. ผู้ประท้วงขโมยรูปภาพประธานาธิบดีมาครง เพื่อนำมาเดินเรียกร้องเรื่องโลกร้อน

ผู้ประท้วงชาวฝรั่งเศสได้นำรูปภาพของประธานาธิบดีมาครงมาเดินประท้วง โดยถือรูปภาพดังกล่าวกลับหัว และมีจุดประสงค์เพื่อประท้วงประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ไม่จริงจังกับปัญหาโลกร้อน

ทั้งนี้ รูปภาพของมาครงถูกขโมยมาจากอาคารราชการต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 125 รูป โดยตัวเลข 125 นี้ผู้ประท้วงต้องการจะให้เท่ากับจำนวน 125 วันที่ฝรั่งเศสใช้ในการสร้างคาร์บอนฟุตปรินท์เกินโควต้าปีนี้ทั้งปี

สำหรับการประท้วงดังกล่าวนี้ มีสโลแกนว่า “Take Down Macron”

4. ทรัมป์สัญญากับนายกฯ อังกฤษ ว่าจะมีการทำข้อตกลงทางการค้าล็อตใหญ่ร่วมกันแน่นอนหลัง Brexit

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 ส.ค. ประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้กล่าวกับนายบอริส จอห์นสัน นายกฯ อังกฤษ ในระหว่างงานประชุม G7 ว่า เมื่ออังกฤษออกจากกลุ่ม EU หรือหลัง Brexit สหรัฐฯ จะทำข้อตกลงทางการค้าล็อตใหญ่กับอังกฤษแน่นอน นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังได้เสริมด้วยว่า นายจอห์นสันถือเป็นผู้นำอังกฤษที่เหมาะที่สุด ที่จะพาอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป

คำกล่าวครั้งนี้ของนายทรัมป์ มีขึ้นท่ามกลางช่วงเวลาที่เดดไลน์ของ Brexit ใกล้เข้ามาทุกที นอกจากนี้ นายกฯ อังกฤษคนปัจจุบันยังพูดอยู่หลายครั้ง ว่าตนจะพาอังกฤษออกจาก EU ภายในวันเดดไลน์ 31 ต.ค. แน่นอน แม้ว่าจะต้องออกโดยไม่มีข้อตกลงกับสหภาพยุโรป (no-deal Brexit) ก็ตาม

5. การพูดคุยในประเด็นโลกร้อน ดำเนินไปโดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่เข้าร่วม

ล่าสุดในวันนี้ (26 ส.ค.) ซึ่งเป็นการประชุมวันสุดท้ายของ G7 มีหัวข้อสำคัญในการประชุมคือเรื่องปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) และวิกฤติไฟป่าอเมซอน แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ กลับไม่ปรากฏตัวในการประชุม G7 ในวันนี้

ทั้งนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้เคยให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ประเด็นการพูดคุยที่ถูกกำหนดโดยประธานาธิบดีมาครงของฝรั่งเศสนั้น มีแต่เรื่องเฉพาะ (niche issues) เช่นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งตั้งใจจะทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดูแย่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า