SHARE

คัดลอกแล้ว

ขณะนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนัก ว่า “การสัก” (Tattooing) อย่างไม่ถูกหลักสุขอนามัย สามารถนำไปสู่การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ได้หรือไม่ คำตอบแบบปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ตอบก็คือ “เป็นไปได้” เนื่องจากเลือดของผู้ติดเชื้อ HIV อาจจะสะสมอยู่ที่ปลายเข็มและในน้ำหมึก

แต่ก็ต้องบอกไว้ด้วยว่า จากหลักฐานทางการแพทย์ ยังไม่เคยพบว่ามีกรณีการติดเชื้อ HIV จากการสัก อีกทั้งกรณีที่มีการเคลมว่าติดเชื้อ HIV จากการสัก ก็ไม่สามารถเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ ติดเชื้อจากการสัก หรือติดมาจากพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ กันแน่

กระนั้น ทุกคนที่คิดจะสักก็ควรเลือกแหล่งที่ได้มาตรฐานและสะอาด เนื่องจากการสักแบบไม่ถูกสุขลักษณะอาจนำไปสู่การติดเชื้ออื่นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

และนอกจากการสัก ยังมีกิจกรรมในชีวิตคนเราอีกหลากหลายอย่างที่เสี่ยง และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าอาจนำไปสู่การติดเชื้อเอชไอวีได้ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงอยากชวนท่านผู้อ่านไปสำรวจ ว่ากิจกรรมเหล่านี้ในชีวิตของเราๆ ท่านๆ “หากกระทำร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี” มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้มากน้อยแค่ไหน

การถ่ายเลือดที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกาย: 92.5%

การรับเลือดของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเข้ามาสู่ร่างกายถือเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง “มากที่สุด” ที่จะทำให้ติดเชื้อ โดยจากสถิติ เฉลี่ยแล้วทุกๆ การเปลี่ยนถ่ายเลือดที่มีเชื้อเอชไอวี 10,000 ครั้ง จะมีประมาณ 9,250 ครั้งที่ผู้รับเลือดติดเชื้อเอชไอวีตามไปด้วย หรือคิดเป็นสัดส่วน 92.5%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ: 0.63%

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่มีเชื้อถือว่าเป็นวิธีที่เสี่ยงมากๆ ที่อาจทำให้ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าไปในร่างกาย เนื่องจากเลือดของผู้ติดเชื้ออาจจะติดค้างอยู่ในเข็ม และส่งผ่านไปยังผู้ที่ใช้เข็มฉีดยานั้นต่อ จากสถิติพบว่าการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีตามไปด้วย 63 ครั้งจากทุก 10,000 ครั้ง หรือเท่ากับ 0.63%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายรับ): 1.38%

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักถือเป็นช่องทางการติดเชื้อเอชไอวีที่มีความเสี่ยงที่สุดรองจากการเปลี่ยนถ่ายเลือด แต่ความเสี่ยงดังกล่าวจะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับในกิจกรรมครั้งนั้นด้วย โดยคนที่เป็นฝ่ายรับมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ามาก เนื่องจากผิวหนังในทวารหนักนั้นบางกว่าผิวหนังของอวัยวะเพศชาย ดังนั้นความเสี่ยงในการติดเชื้อจึงมากกว่าด้วย

จากสถิติ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีโดยเป็นฝ่ายรับ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 138 ครั้งจากทุก 10,000 ครั้ง หรือประมาณ 1.38%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายรุก): 0.11%

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักเป็นช่องทางที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่าการมีเซ็กส์แบบปกติ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยเป็นฝ่ายรุก จากสถิติแล้วมีโอกาสที่จะติดเชื้อเอชไอวี 11 ครั้งจากทุกๆ 10,000 ครั้ง หรือเท่ากับ 0.11% อย่างไรก็ตาม การเป็นฝ่ายรุกยังถือว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยกว่าการเป็นฝ่ายรับนับสิบเท่า

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (ผู้หญิง): 0.08%

ผู้หญิงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากช่องคลอดของเพศหญิงจะสัมผัสกับน้ำอสุจิของผู้ชายนานกว่า หากเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่อวัยวะเพศชายต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งในอวัยวะเพศหญิง ดังนั้นจึงทำให้ในทุกๆ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องทางปกติ 10,000 ครั้ง ผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 8 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.08%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (ผู้ชาย): 0.04%

ในการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้หญิง เนื่องจากระยะเวลาที่อวัยวะเพศชายสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้หญิงนั้นสั้นกว่าโดยเปรียบเทียบ (เทียบกับกรณีที่ช่องคลอดของผู้หญิงต้องสัมผัสกับน้ำอสุจิของเพศชาย) ดังนั้นจึงทำให้ทุกการมีเพศสัมพันธ์แบบนี้ 10,000 ครั้ง ผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 4 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.04%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก: โอกาสติดเชื้อ “น้อย”

โอกาสที่ใครคนใดคนหนึ่งจะติดเชื้อเอชไอวีจากการทำออรัลเซ็กส์นั้นน้อยมาก ทั้งจากสภาวะภายในปากของมนุษย์เองที่เชื้อเอชไอวีไม่สามารถอยู่อาศัยได้ รวมถือความหนาของผิวหนังในปากและคอที่หนากว่าที่อวัยวะเพศ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการแพร่เชื้อเอชไอวีผ่านออรัลเซ็กส์มีน้อย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกระทำหรือถูกกระทำ

อย่างไรก็ตาม ต้องบอกไว้ด้วยว่าข้อจำกัดหนึ่งของการวัดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากออรัลเซ็กส์ก็คือ กิจกรรมนี้มักจะเกิดขึ้นร่วมกับกิจกรรมทางเพศในรูปแบบอื่นๆ ด้วย ดังนั้นจึงวัดได้ยาก ว่าผู้ที่ติดเชื้อ ติดเชื้อจากการทำออรัลเซ็กส์หรือกิจกรรมทางเพศอื่น

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การสัก: โอกาสติดเชื้อ “เป็นไปได้” แต่ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้

มีความเป็นไปได้ที่การสักอย่างไม่ถูกหลักอนามัยอาจทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ เนื่องจากเลือดของผู้ติดเชื้อ HIV อาจจะสะสมอยู่ที่ปลายเข็มและในน้ำหมึก

แต่ก็ต้องบอกไว้ด้วยว่า จากหลักฐานทางการแพทย์ ยังไม่เคยพบว่ามีกรณีการติดเชื้อ HIV จากการสัก อีกทั้งกรณีที่มีการเคลมว่าติดเชื้อ HIV จากการสัก ก็ไม่สามารถเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ ติดเชื้อจากการสัก หรือติดมาจากพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ กันแน่

กระนั้น ทุกคนที่คิดจะสักก็ควรเลือกแหล่งที่ได้มาตรฐานและสะอาด เนื่องจากการสักแบบไม่ถูกสุขลักษณะอาจนำไปสู่การติดเชื้ออื่นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html
กรณีที่อ้างว่ามีการติดเชื้อ HIV จากการสัก https://www.omicsonline.org/open-access/hiv-transmission-through-tattoos-2572-0805-1000124.php?aid=93490

การกัด / การถุยน้ำลายใส่: โอกาสติดเชื้อ “น้อยมาก”

เนื่องจากโดยปกติแล้ว เชื้อเอชไอวีไม่มีอยู่ในน้ำลายและในปาก ดังนั้นการกัด การถุยน้ำลายใส่ หรือการสัมผัสกับน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี จึงไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อดังกล่าว ฉะนั้นแล้ว การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีจึงไม่ได้ทำให้ผู้ร่วมโต๊ะอาหารติดเชื้อไปด้วยแต่อย่างใด

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน: โอกาสติดเชื้อ “น้อยมาก”

หน่วยงานด้านการควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ได้จัดให้การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน ไม่เป็นสาเหตุของการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี โดยจัดระดับความเสี่ยงไว้ว่า “negligible” นั่นคือน้อยมากจนแทบไม่มีนัยสำคัญ

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

อ้างอิง
ที่มาสถิติ https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

กรณีที่อ้างว่ามีการติดเชื้อ HIV จากการสัก https://www.omicsonline.org/…/hiv-transmission-through-tatt…

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ workpointnews.com

Facebook / facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / instagram.com/workpointnews/

Twitter / twitter.com/WorkpointShorts

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า