Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ขณะนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนัก ว่า “การสัก” (Tattooing) อย่างไม่ถูกหลักสุขอนามัย สามารถนำไปสู่การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ได้หรือไม่ คำตอบแบบปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ตอบก็คือ “เป็นไปได้” เนื่องจากเลือดของผู้ติดเชื้อ HIV อาจจะสะสมอยู่ที่ปลายเข็มและในน้ำหมึก

แต่ก็ต้องบอกไว้ด้วยว่า จากหลักฐานทางการแพทย์ ยังไม่เคยพบว่ามีกรณีการติดเชื้อ HIV จากการสัก อีกทั้งกรณีที่มีการเคลมว่าติดเชื้อ HIV จากการสัก ก็ไม่สามารถเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ ติดเชื้อจากการสัก หรือติดมาจากพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ กันแน่

กระนั้น ทุกคนที่คิดจะสักก็ควรเลือกแหล่งที่ได้มาตรฐานและสะอาด เนื่องจากการสักแบบไม่ถูกสุขลักษณะอาจนำไปสู่การติดเชื้ออื่นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

และนอกจากการสัก ยังมีกิจกรรมในชีวิตคนเราอีกหลากหลายอย่างที่เสี่ยง และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าอาจนำไปสู่การติดเชื้อเอชไอวีได้ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงอยากชวนท่านผู้อ่านไปสำรวจ ว่ากิจกรรมเหล่านี้ในชีวิตของเราๆ ท่านๆ “หากกระทำร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี” มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้มากน้อยแค่ไหน

การถ่ายเลือดที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกาย: 92.5%

การรับเลือดของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเข้ามาสู่ร่างกายถือเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง “มากที่สุด” ที่จะทำให้ติดเชื้อ โดยจากสถิติ เฉลี่ยแล้วทุกๆ การเปลี่ยนถ่ายเลือดที่มีเชื้อเอชไอวี 10,000 ครั้ง จะมีประมาณ 9,250 ครั้งที่ผู้รับเลือดติดเชื้อเอชไอวีตามไปด้วย หรือคิดเป็นสัดส่วน 92.5%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ: 0.63%

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่มีเชื้อถือว่าเป็นวิธีที่เสี่ยงมากๆ ที่อาจทำให้ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าไปในร่างกาย เนื่องจากเลือดของผู้ติดเชื้ออาจจะติดค้างอยู่ในเข็ม และส่งผ่านไปยังผู้ที่ใช้เข็มฉีดยานั้นต่อ จากสถิติพบว่าการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีตามไปด้วย 63 ครั้งจากทุก 10,000 ครั้ง หรือเท่ากับ 0.63%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายรับ): 1.38%

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักถือเป็นช่องทางการติดเชื้อเอชไอวีที่มีความเสี่ยงที่สุดรองจากการเปลี่ยนถ่ายเลือด แต่ความเสี่ยงดังกล่าวจะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับในกิจกรรมครั้งนั้นด้วย โดยคนที่เป็นฝ่ายรับมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ามาก เนื่องจากผิวหนังในทวารหนักนั้นบางกว่าผิวหนังของอวัยวะเพศชาย ดังนั้นความเสี่ยงในการติดเชื้อจึงมากกว่าด้วย

จากสถิติ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีโดยเป็นฝ่ายรับ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 138 ครั้งจากทุก 10,000 ครั้ง หรือประมาณ 1.38%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายรุก): 0.11%

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักเป็นช่องทางที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่าการมีเซ็กส์แบบปกติ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยเป็นฝ่ายรุก จากสถิติแล้วมีโอกาสที่จะติดเชื้อเอชไอวี 11 ครั้งจากทุกๆ 10,000 ครั้ง หรือเท่ากับ 0.11% อย่างไรก็ตาม การเป็นฝ่ายรุกยังถือว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยกว่าการเป็นฝ่ายรับนับสิบเท่า

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (ผู้หญิง): 0.08%

ผู้หญิงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากช่องคลอดของเพศหญิงจะสัมผัสกับน้ำอสุจิของผู้ชายนานกว่า หากเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่อวัยวะเพศชายต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งในอวัยวะเพศหญิง ดังนั้นจึงทำให้ในทุกๆ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องทางปกติ 10,000 ครั้ง ผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 8 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.08%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (ผู้ชาย): 0.04%

ในการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้หญิง เนื่องจากระยะเวลาที่อวัยวะเพศชายสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้หญิงนั้นสั้นกว่าโดยเปรียบเทียบ (เทียบกับกรณีที่ช่องคลอดของผู้หญิงต้องสัมผัสกับน้ำอสุจิของเพศชาย) ดังนั้นจึงทำให้ทุกการมีเพศสัมพันธ์แบบนี้ 10,000 ครั้ง ผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 4 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.04%

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก: โอกาสติดเชื้อ “น้อย”

โอกาสที่ใครคนใดคนหนึ่งจะติดเชื้อเอชไอวีจากการทำออรัลเซ็กส์นั้นน้อยมาก ทั้งจากสภาวะภายในปากของมนุษย์เองที่เชื้อเอชไอวีไม่สามารถอยู่อาศัยได้ รวมถือความหนาของผิวหนังในปากและคอที่หนากว่าที่อวัยวะเพศ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการแพร่เชื้อเอชไอวีผ่านออรัลเซ็กส์มีน้อย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกระทำหรือถูกกระทำ

อย่างไรก็ตาม ต้องบอกไว้ด้วยว่าข้อจำกัดหนึ่งของการวัดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากออรัลเซ็กส์ก็คือ กิจกรรมนี้มักจะเกิดขึ้นร่วมกับกิจกรรมทางเพศในรูปแบบอื่นๆ ด้วย ดังนั้นจึงวัดได้ยาก ว่าผู้ที่ติดเชื้อ ติดเชื้อจากการทำออรัลเซ็กส์หรือกิจกรรมทางเพศอื่น

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

การสัก: โอกาสติดเชื้อ “เป็นไปได้” แต่ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้

มีความเป็นไปได้ที่การสักอย่างไม่ถูกหลักอนามัยอาจทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ เนื่องจากเลือดของผู้ติดเชื้อ HIV อาจจะสะสมอยู่ที่ปลายเข็มและในน้ำหมึก

แต่ก็ต้องบอกไว้ด้วยว่า จากหลักฐานทางการแพทย์ ยังไม่เคยพบว่ามีกรณีการติดเชื้อ HIV จากการสัก อีกทั้งกรณีที่มีการเคลมว่าติดเชื้อ HIV จากการสัก ก็ไม่สามารถเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ ติดเชื้อจากการสัก หรือติดมาจากพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ กันแน่

กระนั้น ทุกคนที่คิดจะสักก็ควรเลือกแหล่งที่ได้มาตรฐานและสะอาด เนื่องจากการสักแบบไม่ถูกสุขลักษณะอาจนำไปสู่การติดเชื้ออื่นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html
กรณีที่อ้างว่ามีการติดเชื้อ HIV จากการสัก https://www.omicsonline.org/open-access/hiv-transmission-through-tattoos-2572-0805-1000124.php?aid=93490

การกัด / การถุยน้ำลายใส่: โอกาสติดเชื้อ “น้อยมาก”

เนื่องจากโดยปกติแล้ว เชื้อเอชไอวีไม่มีอยู่ในน้ำลายและในปาก ดังนั้นการกัด การถุยน้ำลายใส่ หรือการสัมผัสกับน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี จึงไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อดังกล่าว ฉะนั้นแล้ว การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีจึงไม่ได้ทำให้ผู้ร่วมโต๊ะอาหารติดเชื้อไปด้วยแต่อย่างใด

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน: โอกาสติดเชื้อ “น้อยมาก”

หน่วยงานด้านการควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ได้จัดให้การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน ไม่เป็นสาเหตุของการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี โดยจัดระดับความเสี่ยงไว้ว่า “negligible” นั่นคือน้อยมากจนแทบไม่มีนัยสำคัญ

ที่มา https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

อ้างอิง
ที่มาสถิติ https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html

กรณีที่อ้างว่ามีการติดเชื้อ HIV จากการสัก https://www.omicsonline.org/…/hiv-transmission-through-tatt…

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ workpointnews.com

Facebook / facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / instagram.com/workpointnews/

Twitter / twitter.com/WorkpointShorts

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า