SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้ภาพลักษณ์ของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในสังคมไทยจะดีกว่าสมัยก่อนมาขึ้น จากวิวัฒนาการทางการแพทย์ และการรณรงค์จากภาคส่วนต่างๆ ที่พยายามให้ข้อมูลสร้างความเข้าใจมาอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่าความเข้าใจที่เกิดขึ้น ยังไม่สามารถก้าวผ่านกำแพงทัศนคติของผู้คนในสังคมได้ทั้งหมด

หนึ่งสิ่งที่สะท้อนภาพได้ชัดเจนมากที่สุด คือ โอกาสที่จะได้เข้าทำงานของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี จากธุรกิจประเภทอาหาร และบริการ รวมถึงหน่วยงานราชการบางส่วนที่ยังมีการบังคับตรวจเอชไอวี

ข้อมูลจากเครือข่ายเยาวชนที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีประเทศไทย (TNY+) ได้วิจัยถึงเหตุแห่งปัจจัยที่ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่ประสบผลสำเร็จจากการทำงาน พบว่า ข้อกังวลเรื่องสถานะการติดเชื้อเอชไอวี เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการทำงาน ในจำนวนนี้ส่วนมากมีอาชีพรับจ้างชั่วคราว และมักจะทำได้ไม่เกิน 3 เดือน

หนึ่งในผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี เปิดใจกับ workpointTODAY ถึงความกลัวที่ไม่กล้าเดินเข้าไปสมัครงานกับบริษัทต่างๆ เป็นเพราะประสบการณ์ในอดีตทีเธอเคยประสบ เป็นข้อกังวลสำคัญที่กดทับความฝัน จนไม่กล้าปีนผ่านกำแพงนี้ออกไป “ด้วยตอนนั้นเรารับรู้ว่าสังคมไทยไม่ได้ยอมรับคนที่ติดเชื้อเอชไอวี มากขนาดนั้น หนูว่าสังคมยังปิดกั้นเราอยู่ เรื่องการทำงาน หรือเรื่องการเรียนอะไรก็ตาม มันเป็นความกังวลใจที่จะก้าวข้ามผ่านตรงนั้นไป มันกังวลใจว่าจะมีคนอื่นรู้ มากกว่าเพื่อนเรา หรือคนที่เราสนิท กลายเป็นว่าทั้งองค์กรที่จะรู้เกี่ยวกับเรา เอาจริงๆ เราเองไม่กล้าก้าวข้ามการทำงานที่เป็นพนักงานงานประจำ กลัวการที่มีเอชไอวีจะทำให้ชีวิตเราพัง” เธอกล่าว

น้องแป้ง (นามสมมติ) คือ เด็กหญิงที่ได้รับเชื้อเอชไอวีมาตั้งแต่แรกคลอด เธอไม่เคยรู้เลยว่าตัวเองมีเชื้อร้ายอยู่ในตัว กระทั่งอายุ 12 ปี “ครอบครัวที่บ้านเป็น แล้วก็มาติดเชื้อเอชไอวี แต่คุณพ่อไม่ได้บอกที่ว่าตัวหนูเองมีเชื้อ เพราะช่วงที่หนูเกิดเป็นช่วงที่เอชไอวี ระบาดเยอะมาก แล้วเขาก็รู้สึกว่าคนอื่นก็น่าจะไม่เข้าใจ น่าจะมีคนเกลียดคนที่มีเชื้อเอชไอวี พอตอนอายุ 12 ตอนนั้นเราป่วย พอเข้าโรงพยาบาลทางบ้านเขาอยากรู้ว่าตัวเรามีเชื้อไหม เพราะน่าจะเสี่ยง ผลก็คือมีเชื้อในร่างกาย”

เด็กสาวคนนี้เริ่มหาเลี้ยงตัวเองด้วยงานพาร์ทไทม์ เธอมีความคิดหลายต่อหลายครั้งที่อยากจะก้าวหน้าในหน้าที่การงานด้วยการเป็นพนักงานประจำในบริษัทแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ด้วยทัศนคติของสังคมการทำงานที่ยังไม่เข้าใจมากนัก ฝันของเธอจึงเป็นได้เพียงความหวังเท่านั้น

“ทำงานมาตั้งแต่อายุ 18 ก็ทำงานมาตลอดเลย มีทั้งพีซีที่อยู่ในห้าง งานสต๊าฟ แล้วก็ทำงานกับโครงการเยาวชน เป็นเจ้าหน้าที่การเงิน ตอนนี้ทำงานที่ร้านอาหารร้านหนึ่ง เป็นพนักงานชั่วคราว ที่ผ่านมาไม่เคยเจอการตรวจเอชไอวีเลย แต่พอเริ่มที่จะไปประจำก็กลายเป็นว่ามันมีการตรวจเอชไอวี ซึ่งหนูก็เคยได้ฟังจากเพื่อนๆ ที่มีเชื้อเอชไอวีมาว่าบางบริษัทเขาก็ยังมีการตรวจเอชไอวี อยู่ ทำให้ตัวหนูเองกังวลใจเหมือนกันที่จะทำงานประจำก็เลยเลือกที่จะทำงานพาร์ทไทม์มาโดยตลอด” แป้ง ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเฮชไอวี กล่าว

workpointTODAY ได้พูดคุยถึงประเด็นปัญหาการทำงาน กับ นพ.ธนัตถ์ ชินบัญชร หรือ หมอท็อป แพทย์วิจัยศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ผู้ซึ่งมีโอกาสใกล้ชิดและได้รับฟังเรื่องราวของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ระบุว่า การงานที่มั่นคงคือหนึ่งในความฝันที่คนกลุ่มนี้อยากได้รับโอกาสมากที่สุด แต่ด้วยทัศนคติของสังคมไทยที่ยังไม่เข้าใจในหลายประเด็นเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี ทำให้เกิดการต่อต้านกลุ่มคนเหล่านี้ในการใช้ชีวิตในสังคม

นพ.ธนัตถ์ ชินบัญชร แพทย์วิจัยศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

“ผมตรวจคนไข้อยู่ทุกวัน เกือบทุกอาทิตย์ที่เจอคนไข้มาปรึกษาว่าจะเข้าทำงาน แต่บริษัทมีเกณฑ์การเข้ารับงานคือการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ซึ่งความจริงแล้วการตรวจเชื้อ ไม่มีใครบังคับให้เราตรวจได้ แต่มันก็เป็นข้อที่หลายๆ บริษัทเอามากำหนดว่าถ้าคุณไม่ยอมตรวจเราก็ไม่เอามาทำงาน หลายคนเขาก็มีความฝันอยากเป็นครู ฝันอยากที่จะบรรจุเข้ารับราชการ บางคนอยากเป็นทหาร อยากรับใช้ชาติ อยากเป็นนักธุรกิจ คนที่เขามีเชื้อเอชไอวี เขาก็เหมือนคนทั่วไป ไม่ได้ต่างจากคนอื่น เขาก็มีความสามารถ มีศักยภาพ เป็นนิสิตมหาวิทยาลัย เรียนเก่งมาก เพราะฉะนั้นเราไม่ควรที่จะจำกัดว่า แค่เขาไม่เชื้อ เขาไม่สามารถทำงานได้ หรือทำงานได้ไม่ดี บางคนก็เป็นนักกีฬา เขาสามารถที่จะใช้ชีวิตปกติในสังคม เป็นบุคคลในสังคมที่มีประสิทธิภาพสูง” นพ.ธนัตถ์ กล่าว

ส่วนเรื่องการใช้ชีวิตกับคนในสังคม แพทย์จะพยายามเน้นย้ำเรื่องการกินยาต้านไวรัสว่าสำคัญที่สุด “ผมจะพูดอยู่อย่างเดียวเลยว่า ถ้าจะมารักษากับผม ผมขอแค่เรื่องเดียว คือกินยาให้ครบ อย่าหยุด ถ้าคุณทำให้ผมได้เรื่องนี้เรื่องเดียว คุณสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยที่ไม่มีอะไรแตกต่าง การกิน การใช้ชีวิตในสังคม สามารถทำได้ปกติเลย โอกาสแพร่เชื้อให้คนอื่นแทบเป็นไปได้ยาก” แพทย์วิจัยศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าว

แม้ที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์กระจายข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ให้สังคมเข้าใจถึงเรื่องนี้ แต่ทัศนคติ ภาพจำ ที่ถูกสั่งสมมานานก็ยากที่จะลบเลื่อน แต่ใช่ว่าในความมืดจะมองไม่เห็นทางเสมอไป อย่าง บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส์ จำกัด (มหาชน) คือหนึ่งในบริษัทที่เปิดโอกาสด้านการทำงานให้กับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี

ริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโส บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส์ จำกัด (มหาชน)

ริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโส บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เอชไอวีเป็นเชื้อในเลือด ไม่ได้ทำให้ครโง่ลง และถ้าคุณเป็นคนฉลาดคุณก็ฉลาดอยู่เหมือนเดิม เมื่อมองในมุมแบบนี้ทำให้บริษัทไม่มีอุปสรรคขวางกั้นในการจ้างคนเก่งๆ เข้ามาร่วมงาน ซึ่งนี่คือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ

“เราถึงรับใครเข้าทำงานก็ได้ รับคนพิการได้โดยไม่มีอะไรต้องห่วง เพราะสิ่งสำคัญคือ เขามีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ มีวุฒิ มีประสบการณ์หรือเปล่า คุณสมบัติทั่วไปที่บริษัทจะต้องการ ซึ่งเราไม่ได้ดูสิ่งที่เราไม่จำเป็นต้องรู้” ริชาร์ด โจนส์ กล่าว

แสงสว่างจากในเส้นทางความมืดมิดของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี คือความหวังที่สำคัญ หากสังคมมีความเข้าใจในเชื้อเอชไอวีอย่างถูกต้องและมากพอ เชื่อว่านั้นจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ที่ยังขาดโอกาส โดยเฉพาะโอกาสในการทำงานที่จะเป็นก้าวสำคัญให้พวกเข้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

“อยากให้สังคมศึกษาความรู้ใหม่ๆ ตามวิวัฒนาการทางการแพทย์ว่าคนที่มีเชื้อเอชไอวี เขาแข็งแรงเหมือนคนทั่วไปแล้วนะ แล้วตอนนี้ก็พูดถึงเรื่องความเสมอภาคกันมากขึ้น อยากให้มองถึงคนเหล่านี้ที่เขาอาจจะได้รับการเลือกปฏิบัติ การที่เขาถูกตีตราจากสังคม เขาเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการเสมอภาคจากสังคม” นพ.ธนัตถ์ กล่าว

“หนูอยากฝากให้เขาคิดว่าจริงๆ แล้ว คนที่มีเชื้อเอชไอวี ก็คือคนที่มีศักยภาพอย่างหนึ่ง บางครั้งถ้าคุณเห็นว่าเขามีเชื้อแล้วจะไม่แข็งแรง อย่าลืมว่าบางอย่างเขาอาจจะมีความคิดและศัยกภาพที่โอเคกว่า หนูว่าเขาก็ยังมีความที่เป็นคนเหมือนกัน เท่าเทียมกัน ทุกคนสามารถทำงานและเรียนได้ทุกอย่าง ไม่เป็นจำเป็นต้องกีดกันว่าเขามีแค่เชื้อเอชไอวี การที่มีเชื้อบางครั้งเขาสามารถทำงานได้มากกว่าที่คุณต้องการด้วยซ้ำไป” ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า