Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความหวังของอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลกโดยเฉพาะฮอลลีวูดกลับมาเรืองรองอีกครั้งหลังจากสถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลายในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนาจนจนทำให้รัฐบาลหลายประเทศเริ่มผ่อนปรนมาตรการควบคุมเปิดโอกาสให้ธุรกิจที่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโดยเฉพาะกิจกรรมที่รวมคนจำนวนมากอย่างโรงภาพยนตร์หรือการผลิตภาพยนตร์กลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง 

แต่แล้วก็เหมือนฟ้าผ่าเปรี้ยงเมื่อภาวะระบาดรอบใหม่ได้กลับมาคุกคามหลายประเทศอีกครั้งในอเมริกายอดผู้ติดเชื้อตั้งแต่เดือนกลางเดือนมิถุนายนตกเฉลี่ยมากกว่าวันละสามหมื่นคนไม่นับรวมจำนวนผู้เสียชีวิตที่สะสมต่อเนื่องไม่มีหยุด อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในกลางเดือนกรกฎาคมโดยมีภาพยนตร์เรื่อง Tenet ของผู้กำกับคริสโตเฟอร์โนแลนซึ่งมีทุนสร้างกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (และต้องทำรายได้ทั่วโลกอย่างต่ำ 800 ล้านเหรียญ) เป็นตัวแทนของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่องแรกในปีนี้ที่จะเปิดตัว  ต้องถูกเลื่อนฉายไปเป็นวันที่ 12 สิงหาคม หลังจากโรงภาพยนตร์เครือใหญ่ในอเมริกาอย่างเครือ AMC และ REGAL ต่างเลื่อนกำหนดเปิดไปเป็นปลายเดือนกรกฎาคมแทน

แต่จากสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ที่ไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายลงง่ายๆ  คำถามที่ผู้คนในแวดงวงธุรกิจภาพยนตร์ในอเมริกา โดยเฉพาะในฮอลลีวูดเริ่มตั้งขึ้น ก็คือโรงภาพยนตร์ชั้นนำยังจะมีโอกาสได้เปิดในปลายเดือนกรกฎาคมตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ และ ภาพยนตร์เรื่องTenet จะยังคงยืนกำหนดฉายเดิม (12 สิงหาคม) หรือเปล่า และถ้า Tenet ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ต้องเลื่อนฉายไปอีก อุตสาหกรรมหนังทั่วโลกจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

อย่างไรก็ตามในบรรดาคำถามที่เกิดขึ้นคงไม่มีคำถามไหนที่หลายคนอยากจะตั้งและจะคิดหาคำตอบได้เท่ากับคำถามที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้นหากปีนี้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับโลกอย่างฮอลลีวูดจะไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆเกิดขึ้นเลยซึ่งรวมถึงการไม่มีหนังอเมริกันได้ฉายเลยทั้งในอเมริกาเองและในหลายประเทศทั่วโลก”

มู่หลาน หลิวอี้เฟย

มู่หลาน หนึ่งในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่ทั่วโลกจับตามองอยู่

ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้นำเสนอ 4 ฉากทัศน์ที่อาจเกิดขึ้นดังนี้

  1. โรงภาพยนตร์ทั่วโลกอาจเกิดภาวะซึมเซาจากการขาดภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรียกคนดู: แม้ว่าปัจจุบัน โรงภาพยนตร์หลายแห่งทั่วโลกจะเริ่มกลับให้บริการอีกครั้ง และผู้ชมก็พร้อมจะกลับไปชมภาพยนตร์ในโรง แต่ผลประกอบการที่ออกมาดูเหมือนจะยังไม่เป็นที่พอใจเท่าใดนัก เหตุผลสำคัญมาจากนโยบาย social distancing ที่บีบให้โรงภาพยนตร์ต้องจำกัดจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 40% ถึง 75% ส่งผลให้รายได้ลดลงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การขาดภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ที่เร้าให้ผู้ชมออกมาชมภาพยนตร์ในโรง ก็เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้โรงภาพยนตร์ทั่วโลกต่างเฝ้ารอการทยอยเปิดตัวของภาพยนตร์ฮอลลีวูดฟอร์มใหญ่ แต่ถ้าหากสถานการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่คิด ภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ฮอลลีวูดยังคงเลื่อนกำหนดฉายอย่างไม่มีกำหนด โรงภาพยนตร์ทั่วโลกก็อาจต้องประสบกับภาวะซึมเซาเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ยกเว้นในช่วงเวลาดังกล่าวมีภาพยนตร์ท้องถิ่น (ขอกล่าวถึงในข้อถัดไป) หรือภาพยนตร์จากประเทศอื่นที่สร้างกระแสฮือฮา ก็อาจพอช่วยให้โรงภาพยนตร์กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง แต่ก็เป็นไปได้ยาก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่จากฮอลลีวูดยังคงมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ชมอยู่
  2. โอกาสเกิดของภาพยนตร์ท้องถิ่น: เป็นที่รู้กันว่า ภาพยนตร์จากฮอลลีวูดมีอิทธิพลต่อตลาดภาพยนตร์ของประเทศต่าง ๆ ตลอดมา ดังนั้นหากมองในมุมกลับ เมื่อตลาดต้องขาดภาพยนตร์ฮอลลีวูดไป อาจเป็นโอกาสให้ภาพยนตร์ท้องถิ่นกลายมาเป็นที่ต้องการของโรงภาพยนตร์แทนก็ได้ ทั้งนี้เพราะโรงภาพยนตร์ต้องการภาพยนตร์ใหม่เข้าฉายอย่างต่อเนื่อง และการที่ไม่มีภาพยนตร์ฮอลลีวูดมาแย่งรอบฉาย อาจทำให้ภาพยนตร์ท้องถิ่นมีพื้นที่รอบฉายมากขึ้นและนานขึ้น (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของหนังและการตอบรับของผู้ชม) ยกตัวอย่างเช่นกรณีของประเทศเกาหลีใต้ ที่ภาพยนตร์แนวซอมบี้ที่เปิดตัวฉายเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน แล้วมียอดซื้อตั๋วเข้าชมในวันแรกสูงถึง 204,071 ใบ จนถึงขณะนี้ (10  กรกฎาคม) ภาพยนตร์ทำรายได้ไปแล้ว 5.47 ล้านเหรียญสหรัฐ จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดนับตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์  ซึ่งเป็นเดือนที่โรคโควิด19 เริ่มระบาดในประเทศ  อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ภาพยนตร์ท้องถิ่นได้รับความนิยมจากผู้ชมได้ก็คือคุณภาพของภาพยนตร์ ตราบใดที่ภาพยนตร์ที่สร้างไม่สามารถเรียกศรัทธาจากผู้ชมได้   ผู้ชมก็มีอาจหันไปเสพความบันเทิงในช่องทางอื่น ๆ แทน
  3. ภาวะล้นเกินของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ในปีหน้า:  แน่นอนว่า เมื่อหนังฮอลลีวูดฟอร์มยักษ์ที่วางกำหนดฉายในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น Tenet  Mulan  หรือ Wonder Woman 1984 หรือ No Time To Die หนังเจมส์ บอนด์ภาคใหม่ มีเหตุให้ต้องเลื่อนไปฉาย ก็เท่ากับว่าหนังเหล่านี้ต้องต้องถูกจัดให้ฉายในปีถัดไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่าปีหน้า ฮอลลีวูดจะอุดมไปด้วยหนังฟอร์มใหญ่ที่เข้าฉายตลอดทั้งปี อาจถึงขั้นในเดือนหนึ่งอาจมีหนังฟอร์มใหญ่เข้าฉายเฉลี่ยเดือนละ 1-2 เรื่อง ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ โอกาสที่ภาพยนตร์ขนาดกลางและเล็กจะมีโอกาสสอดแทรกเข้าไปฉายในโรงแทบจะริบหรี่ สมดุลของการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ก็จะหายไป เพราะต่อไปโรงภาพยนตร์ ก็จะกลายเป็นพื้นที่ของหนังฟอร์มใหญ่เท่านั้น ผู้จัดจำหน่ายที่มีหนังขนาดกลางและเล็กอยู่ในมือ อาจไม่มีอำนาจต่อรองกับโรงภาพยนตร์ เพราะโรงภาพยนตร์ต้องเลือกหนังฟอร์มใหญ่ไว้ก่อน  เมื่อเป็นดังนี้พวกเขาอาจต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อความอยู่รอด เช่น จัดจำหน่ายทางช่องทางสตรีมมิ่งแทน หรือไม่ก็ต้องเลิกกิจการไป 
  4. ธุรกิจสตรีมมิ่งจะยิ่งเติบโตพุ่งแรง: สำหรับภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่บางเรื่องที่สร้างเสร็จแล้ว และพร้อมฉาย การที่ต้องเลื่อนโปรแกรมการฉายออกไปย่อมส่งผลเสียหายไม่น้อย เพราะเราต้องไม่ลืมว่า ในการผลิตภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง นอกจากค่าผลิตที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญแล้ว ค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือที่เรียกว่า print and advertising cost ถือเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญที่ผู้จัดจำหน่ายทุกค่ายต้องเสีย เพื่อทำให้ภาพยนตร์เรื่องนั้นอยู่ในพื้นที่การจดจำของผู้ชม  

ภาพยนตร์ฮอลลีวูดใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยเฉลี่ย 50% ของต้นทุนผลิตภาพยนตร์ หมายความว่าถ้าภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง มีต้นทุนการสร้างสูงถึง 200 ล้านเหรียญ งบโฆษณาของหนังเรื่องนี้จะมีมูลค่าถึง 100 ล้านเหรียญเลยทีเดียว และยิ่งถ้าภาพยนตร์ถูกเลื่อนฉายนานเท่าใด งบค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็จะสุงตามไปด้วย  ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้อยู่ไม่น้อย ที่บริษัทจัดจำหน่ายบางแห่งอาจไม่สามารถรอให้สถานการณ์กลับมาปกติได้ต่อไป โดยทางออกที่ดูจะเป็นไปได้มากที่สุดคือการ จัดจำหน่ายทางสตรีมิ่ง ที่เรียกว่า Premium Video on Demand ( PVOD) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ชมจ่ายค่าชมในการชมภาพยนตร์หนึ่งครั้งตามเวลาที่กำหนด  การจัดจำหน่ายผ่านช่องทางดังกล่าวก็ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลมาแล้ว จากกรณีที่ค่าย Universal ตัดสินใจฉายภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Troll World Tour ทางช่องทางนี้ในเดือนเมษายนและทำรายได้ประมาณ 95 ล้านเหรียญจากการฉายเพียงแค่ 19 วันเท่านั้น

แม้ว่าการจัดฉายช่องทางนี้จะสร้างความขุ่นเคืองกับผู้ประกอบการโรงหนังเครือใหญ่อย่าง AMC ถึงขั้นประกาศแบนหนังจากค่าย Universal ทุกเรื่อง แต่ถ้าตราบใดที่สถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป เราคงอาจได้ยินข่าวว่า สตูดิโอบางแห่งตัดสินใจนำหนังฟอร์มยักษ์เข้าฉายในช่องทางนี้ก็เป็นได้ และเมื่อถึงเวลานั้นช่องทางสตรีมมิ่งจะกลายเป็นช่องทางหลักของการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในยุค new normal อย่างเลี่ยงไม่พ้น

จากฉากทัศน์ทั้ง 4 ข้อที่ผู้เขียนได้ยกมาแม้ว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะหากพิจารณาจากประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์โลกที่ผ่านวิกฤตการณ์มาหลายเหตุการณ์แล้วก็รอดพ้นมาได้ตลอดตั้งแต่สงครามโลกมาจนถึงความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีแต่ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ที่ความปกติใหม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว  อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า