SHARE

คัดลอกแล้ว

โลกของธุรกิจไม่ได้เดินด้วยแพสชั่นเพียงอย่างเดียว แต่ต้นทุนชีวิตทั้งเรื่องของเงิน อำนาจ คอนเน็กชั่น ทั้งหมดนี้มีอยู่จริง และเป็นกุญแจสำคัญมากในการดำเนินธุรกิจ

คุณ Kelvin Ng ที่ปรึกษาด้านธุรกิจของ บัญชีกิจ จำกัด ผู้อำนวยการมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ (EarthSafe Foundation) และ ผู้ร่วมก่อตั้ง Arkki Thailand ได้รับเชิญจาก Singapore Management University (SMU) ในงานเปิดตัว White paper: Catalysing Growth: State of ASEAN Startup Ecosystem Report 2024 เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา เพื่อมาแบ่งปันประสบการณ์เส้นทางในการเป็นผู้ประกอบการ ในฐานะอดีตกรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ Islington College สถาบันการศึกษาแห่งแรกของเนปาลที่ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนส่งตรงจากอังกฤษ

คุณ Kelvin Ng เล่าว่า หลังจากจบปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขาได้เดินทางไปประเทศเนปาลเป็นครั้งแรกในชีวิตในปี 2010 เพื่อทำธุรกิจก่อตั้งสถาบันการศึกษาแห่งแรกของเนปาล ที่ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนจากอังกฤษ

หลายคนอาจมองว่าเขาไปทำอะไรที่นั่น ทำไมถึงเลือกเนปาล แล้วจะมีคนเนปาลที่ไหนมาเรียน แต่คุณ Kelvin Ng เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ไม่มีใครเห็น และไม่มีใครกล้าบ้าบิ่นเท่า ประโยคหนึ่งที่จำได้ดีระหว่างที่คุณ Kelvin Ng กำลังบรรยายในขณะที่ทุกคนในห้องทำหน้างงๆ คือ “หากมีแต่ความคิดดีๆ แต่ไม่ลงมือทำจริงๆ มันก็ไม่มีทางสำเร็จขึ้นมาได้”

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คุณ Kelvin Ng ตัดสินใจบินไปเนปาล เพื่อทำธุรกิจเปิดสถาบันการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาในเนปาลได้รับวุฒิปริญญาของอังกฤษ แม้ว่าเขาจะต้องเริ่มตั้งแต่การทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ใช้ชีวิตในเมืองที่มีไฟฟ้าใช้แค่ 6 ชั่วโมงต่อวัน ลงทุนก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ตั้งแต่การก่ออิฐ ทาสี ปรับปรุงสถานที่ จนสุดท้ายก็สามารถสร้างตึกแรกเสร็จภายใน 3 เดือน

เขาบินไปคุยกับสถาบันการศึกษาชั้นนำที่อังกฤษ เพื่อโน้มน้าวให้เจ้าของมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมมือกับเขาในการจัดคอร์สการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาที่เนปาลแบบตัวต่อตัว ไม่เรียนผ่านออนไลน์ และได้รับวุฒิการศึกษาเหมือนเรียนจบจากมหาวิทยาลัยที่อังกฤษ

แน่นอนว่าแรกๆ ก็มีความคลางแคลงใจจากคนเนปาลอยู่บ้างว่าจะเป็นเรื่องจริงได้ออย่างไร เป็นธุรกิจหลอกหลวงหรือเปล่า แต่สุดท้ายหลังเวลาผ่านไป มีนักเรียนรุ่นแรกที่เรียนจบ และได้วุฒิการศึกษาอย่างถูกต้องจริงๆ Islington College ของเขาก็เริ่มเป็นที่น่าเชื่อถือ มีนักเรียนมาสมัครเรียนมากขึ้นจนเขาได้ขยายออกไปได้ถึง 5 สาขา มีอาจารย์และบุคลากรต่างๆ ที่ทำงานในสถาบันนี้มากกว่า 100 คน และเขาทำงานอยู่ที่นานได้นานถึง 9 ปีครึ่ง ก่อนที่เขาจะขายกิจการแล้วย้ายมาทำงานในไทยแทนเนื่องด้วยภาระของครอบครัว

ทั้งหมดนี้คือการเดินทางอันยาวนานเกือบสิบปี จากความคิดเพียงแค่ว่า เขาเล็งเห็นโอกาสในการทำธุรกิจที่ไม่มีใครคิดจะทำ

แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่ได้สนับสนุนให้ทุกคนเดินตามรอยเขาเป๊ะๆ เพราะแต่ละคนมีความรู้ความถนัดและอีกหลายๆ ปัจจัยทั้งที่

 

บทเรียนที่จริงใจที่คุณ Kelvin Ng ได้จากการทำธุรกิจ

1) Entrepreneurship is a very unfair game.

วงการธุรกิจไม่ได้เป็นวงการที่โอกาสจะได้เท่าเทียมกันทุกคนตั้งแต่เริ่มแรก คนที่ได้เปรียบย่อมเป็นคนที่มีเงินกว่าเสมอ ความเสี่ยงใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น ถ้ามีเงินเยอะมากพอ ก็สามารถแก้ไขได้ง่ายขึ้น

คอนเน็กชั่น สำคัญมาก โดยเฉพาะในไทย เอเชีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา เผลอๆ จะสำคัญกว่าความสามารถด้วยซ้ำ

แน่นอนว่า ถ้าต้นทุนชีวิตของคุณดีกว่า มาจากครอบครัวที่มีเงิน มีธุรกิจอยู่แล้ว คุณเองก็จะย่อมเริ่มต้นธุรกิจได้เร็วกว่าคนอื่น

นอกจากนี้ ยังต้องเตรียมรับมือกับความผิดหวัง หรือโอกาสที่ธุรกิจจะล่มจมเอาไว้ด้วย 

2) Entrepreneurship is not always a nice dream.

ที่บอกว่า “ขอแค่มีแพสชั่น ความสำเร็จจะมาหาคุณเอง” ไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป ในโลกแห่งความเป็นจริง มีหลายอย่างที่ไม่ได้ดำเนินได้ดีจากแค่มีแพสชั่น แต่ผู้ประกอบการต้องตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และศึกษาถึงสิ่งที่เป็นข้อดีและข้อเสียในธุรกิจของตัวเองให้ดีจริงๆ ก่อนลงมือทำ 

3) Entrepreneurship #1 skill.

ที่คิดว่าความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจที่ควรมีคือ การวางแผน เงิน และเทคโนโลยีที่ดี อาจไม่จริงเสมอไป เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งที่เจ้าของกิจการควรมี คือ ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ รับฟัง และบริหารจัดการกับคนที่ทำงานด้วย ที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการเป็นเจ้าของธุรกิจ เพราะทุกๆ อย่างไม่สามารถดำเนินต่อไปได้หากขาดคนทำ

4) Entrepreneurship is managing risks.

ห้ามลืมเด็ดขาดว่าการบริการจัดการธุรกิจ คือการบริหารความเสี่ยง เพาะธุรกิจไม่ได้มีแต่กำไรได้เสมอไป และควรวางแผนถึงทางออกในกรณีที่อาจเกิดความเสี่ยงขึ้นในหลายๆ ทาง รวมถึงวางแผนเมื่อคิดจะออกจากธุรกิจด้วย

5) Entrepreneurship is for brave hearts.

ผู้กล้าเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ในแวดวงธุรกิจ จำเอาไว้เสมอว่า “เงินไม่ได้เปลี่ยนคน แต่ถอดหน้ากากคนออกเฉยๆ” เมื่อไรที่ใครคนหนึ่งไม่มีเงิน คนนั้นอาจทำตัวเปลี่ยนไป อะไรที่ทำด้วยตัวคนเดียวได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่นก็ขอให้ทำไปเอง เพราะกว่า 90% ของพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจมักลงเอยกันไม่ค่อยลงตัว ดังนั้นอย่าลืมหาทนายเก่งๆ มาเป็นเพื่อนสนิทข้างตัวเอาไว้ด้วย

เมื่อไรก็ตามที่ต้องมีข้อพิพาททางกฎหมายเมื่อไม่มีเรื่องของธุรกิจที่ไม่จัดการแบ่งสรรกันไม่ลงตัว ไม่ว่าจะโดนขู่ โดนเอาเปรียบ โดนกดดันมากแค่ไหน ให้ตั้งสติ ปรึกษาคนทนายที่เก่งและไว้ใจได้ และเตรียมสู้ในชั้นศาลอย่างเต็มที่ หากมั่นใจว่าเราไม่ผิดไม่ก็ไม่ต้องกลัว

 

เคล็ด(ไม่)ลับ ในการทำธุรกิจในไทย

  1. หากต้องทำธุรกิจในต่างประเทศ หรือกับคนต่างประเทศ ควรอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ และใช้เวลาเรียนรู้ เข้าถึงคนในพื่นที่ ทำความเข้าใจว่าคนที่นั่นที่เป็นคนที่กลุ่มเป้าหมายลูกค้าของเราเขาคิดยังไง อะไรที่ทำให้เขาคิดแบบนั้น เพื่อเข้าใจว่าสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ คืออะไร รวมถึงเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นนั้นๆ ก็จะทำให้เราเข้าถึงคนท้องถิ่นได้ง่ายขึ้นด้วย
  2. คนไทยไม่ชอบเรื่องที่ทำให้เสียหน้า พยายามหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่ดูเหมือนหักหน้ากัน โดยเฉพาะต่อหน้าคนอื่น
  3. คนไทยให้ความสำคัญกับครอบครัว และเพื่อนมากๆ ระหว่างการตัดสินใจทำอะไร ให้นึกถึงครอบครัว และเพื่อนของคนที่คุยด้วยให้เยอะๆ
  4. ถ้าอยากเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่ดี ควรเป็นคนดี พูดดี คุยดี รับฟังดี เป็นที่ปรึกษาที่ดี และสามารถเข้าสังคมได้ง่าย ดื่มเก่งหรือสามารถดื่มได้นานๆ ก็จะได้คะแนนบวกเพิ่ม และอย่าลืมมองหาคุณค่าของคนที่คุยด้วยอยู่เสมอ
  5. ประสบการณ์เป็นเรื่องสำคัญมาก หากยังไม่มีประสบการณ์ ควรปรึกษาคนที่มีประสบการณ์ให้มากๆ

 

หากใครที่อยากทำธุรกิจแต่ยังไม่พร้อม อยากลองสร้างธุรกิจเล็กๆ ขึ้นมาสักอย่าง พร้อมได้รับคำปรึกษาจากเหล่าอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ ได้ล้มลุกคลุกคลานให้เต็มที่ก่อนลงสู่สนามจริง การเรียนต่อด้านบริหารธุรกิจอาจเป็นทางออกที่ดี

มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University, SMU) เปิดสอนหลักสูตรธุรกิจในวงกว้างตามรูปแบบของโรงเรียนธุรกิจวอร์ตัน เปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาการบริหารธุรกิจ การวิเคราะห์ธุรกิจ บริการทางการเงิน งานบัญชี เศรษฐศาสตร์ การจัดการระบบสารสนเทศ กฎหมาย และสังคมศาสตร์ และยังร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วอาเซียน รวมถึงในไทยกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเหล่านักเรียนและอาจารย์ เพื่อสนับสนุนและปลุกปั้นธุรกิจใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนอย่างมั่นคง

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ smu.edu.sg

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า