SHARE

คัดลอกแล้ว
สำนักการแพทย์ กทม. แจงปม รพ. ในสังกัดปล่อยคนไข้นั่งปวดท้องบนรถเข็นจนเสียชีวิต ยอมรับบุคลากรไม่เพียงพอ คนไข้ล้น รพ. หลังต้องรับมือกับวิกฤตโควิด-19
วันที่ 5 ส.ค. 2564 นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผอ. สำนักการแพทย์ กทม. กล่าวถึงกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์เรื่องราว การพาลูกชายไปส่ง รพ. แห่งหนึ่งย่านคลองสาน กทม. ด้วยอาการปวดท้องหนัก แต่พยาบาลไม่พาเข้ารักษา คนไข้นั่งรอบนรถเข็นหลายชั่วโมงสุดท้ายเสียชีวิต ซึ่งขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตอีกครั้ง
หลังทราบเรื่องดังกล่าว ได้ตรวจสอบและทราบว่า รพ. ย่านคลองสาน ได้รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวไปยังสำนักการแพทย์ กทม. เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุการณ์ รพ. ได้โทรศัพท์ติดต่อเพื่อทำความเข้าใจกับครอบครัว และตรวจหาเชื้อโควิด-19 ผู้เสียชีวิตผลออกมาเป็นลบ จึงส่งมอบร่างผู้เสียชีวิตให้ญาตินำไปบำเพ็ญกุศลต่อไป
จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา ผู้ป่วยเป็นชายอายุ 21 ปี ไปที่ รพ. ในวันที่ 1 ส.ค. เวลา 21.35 น. ด้วยอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว และได้มีการยื่นบัตร หลังจากนั้นผู้ป่วยไปห้องน้ำ 2-3 ครั้ง กระทั่งเวลาประมาณ 23.05 น. มีคนแจ้งพยาบาลว่า ผู้ป่วยหมดสติ เจ้าหน้าที่จึงรีบออกมาดู และนำตัวผู้ป่วยเข้าไปปฏิบัติการกู้ชีวิต แต่ไม่สามารถกู้ชีวิตได้และเสียชีวิตในเวลา 23.39 น.
“ในช่วงเวลาดังกล่าวรวมระยะเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง มีคนไข้ไปที่ รพ. ดังกล่าวค่อนข้างมาก มีคนไข้ไปรอคิวรับการตรวจ 29 ราย โดยผู้เสียชีวิตเป็นลำดับที่ 27 ส่วนในห้องฉุกเฉินมีผู้ป่วยฉุกเฉิน 9 ราย มีผู้ป่วยหนัก 7 ราย และมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับกลับจากฮอสพิเทล อีก 2 ราย รวมแล้ว 18 ราย ทำให้ต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ส่วนหน้าที่ทำหน้าที่ในการคัดกรอง ซักประวัติ และวัดสัญญาณชีพ วัดความดัน ไม่เพียงพอ เพราะต้องไปช่วยดูแลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินด้วย จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ รพ. ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น” นพ.สุขสันต์ กล่าว
นพ.สุขสันต์ กล่าวอีกว่า หลังเกิดเหตุได้นำปัญหามาศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุ พบว่าบุคลากรไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว จึงกำชับและวางแผนให้ รพ. ในสังกัด กทม. ทุกแห่งจัดกำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอในการบริการด้านหน้า ย้ำว่าหลังผู้ป่วยยื่นบัตรแล้วไม่ควรให้รอเกิน 15-30 นาที ต้องมีเจ้าหน้าที่ซักประวัติ คัดกรองเบื้องต้นผู้ป่วยก่อน หากพบว่าหลังจากนั้นผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษา ต้องเข้ามาซักถามอาการเป็นระยะ คัดกรองและประเมินอาการ เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ทันเวลา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า