SHARE

คัดลอกแล้ว

ว้าวุ่นเลย? ส่องแฮชแท็ก ‘เงินเดือนข้าราชการ’ หลังมติครม.เตรียมแบ่งจ่ายเดือนละ 2 รอบ

‘เงินเดือนข้าราชการ’ จะจ่ายเดือนละ 2 รอบ คาดเริ่มต้นปีหน้า เป็น 1 ในมติ ครม.นัดแรกใน ‘รัฐบาลเศรษฐา’

โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ระบุว่า ตนตระหนักดีว่าเรื่องของกระแสเงินสดของทุกๆ คนในกระเป๋าเป็นเรื่องสำคัญ เราถึงมีการดำริให้เปลี่ยนการจ่ายเงินข้าราชการ จากเดือนละ 1 รอบ เป็นเดือนละ 2 รอบ รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนี้ โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคมปีหน้าเป็นต้นไป เนื่องจาก ต้องมีการแก้ไขระบบหลายอย่าง จึงทำทันทีไม่ได้

“เรื่องนี้ผมเชื่อว่าจะเป็นเรื่องบรรเทาทุกข์ให้กับข้าราชการชั้นผู้น้อยได้พอสมควร ถ้ามีการจ่ายเงินเดือน 2 รอบ จะได้ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ไม่ต้องคอยให้ถึงสิ้นเดือนก่อน ก็จะมีเงินแบ่งจ่ายออกมา” นายเศรษฐา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการแถลงข่าวของ นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (โฆษกรัฐบาล) ผู้สื่อข่าวได้ตั้งคำถามพร้อมแลกเปลี่ยนข้อสงสัยว่า มติดังกล่าวนี้ได้สอบถามข้าราชการแล้วหรือไม่ เพราะโดยปกติแล้วข้าราชการที่มีภาระค่าใช้จ่ายถึงเวลาสิ้นเดือนก็ต้องใช้เงินเดือนจ่ายหนี้สิน หากแบ่งจ่ายเงินเป็น 2 รอบ อาจจะทำให้มีเงินไม่เพียงพอหรือไม่ ซึ่งนายชัย ยืนยันว่า เรื่องนี้เป็นข้อเรียกร้องของหน่วยราชการ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องเงินสด

“…จ่ายมาต้นเดือนกว่าจะจ่ายอีกรอบ รอ 30 วันเนี่ย มันรอนานเกิน เขาขอให้มาครึ่งหนึ่งก่อน คือมันมองกันเหรียญคนละด้าน” โฆษกรัฐบาล กล่าวตอนหนึ่ง

แฮชแท็ก ‘เงินเดือนข้าราชการ’ ที่ติดเทรนด์ใน X (ทวิตเตอร์) วันนี้ พบว่า มีความเห็นหลากหลายต่อมติครม.ดังกล่าว เช่น

– “ต้องการเงินเดือน 25,000 ค่ะ ไม่ได้ต้องการจ่าย 2 รอบ ก่อนจะพูดออกมานี่ปรึกษาสหกรณ์, ไฟแนนซ์, กยศ. รึยังเอ่ย เขายอมให้หัก 2 รอบรึเปล่า”

– “เพราะคนคิดไม่เคยจน มีเงินเหลือเฟือที่จะทำอะไรก็ได้ ถึงได้คิดมาตรการที่ตื้นเขินเช่นนี้ สมมุติเงินเดือน 26,000 บาท จ่ายต้นเดือน 13,000 บาท แต่หนี้ก้อนโตทั้งบ้านและรถรวม 14,500 บาท แล้วจะเอาเงินอีก 1,500 มาจากไหน แล้วอีก 15 วันที่เหลือใช้เงินไหนกินข้าว”

– “เป็นไงให้ CEO ที่ไม่เข้าใจระบบราชการมาทำงานระดับประเทศ #เงินเดือนข้าราชการ โดนแบ่งจ่ายเดือนละ 2 ครั้ง คลังมีเงินหมุน อีก 15 วัน แต่ประชาชนข้าราชการเปลี่ยนจากเดือนชนเดือนมาเป็นวีคชนวีคแทน”

[‘สมชัย’ อดีตกกต. ถาม สร้างสรรค์หรือสร้างปัญหา?]

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (อดีต กกต.) แสดงความเห็นถึงมติครม. จ่ายเงินข้าราชการ 2 รอบ/เดือน ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “คิดใหม่ ทำเร็ว สร้างสรรค์ หรือ สร้างปัญหา มติแรกของ ครม.เศรษฐา คือ เปลี่ยนระบบการจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็นทุกครึ่งเดือน โดยมีเหตุผลว่า เพื่อให้ข้าราชการมีเงินเดือนใช้เพียงพอกระจายทั้งเดือน ลดการกู้ ไม่ต้องเป็นหนี้” ดังนี้

1. เป็นการคิดแบบเร็ว ๆ หรือมีการศึกษาวิจัยอยู่เบื้องหลัง และสอบถามความเห็นจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง หรือยัง

2. ระบบการเบิกจ่ายเงินเดือนของกรมบัญชีกลาง ต้องมีการปรับใหม่และ ทำเพิ่มเป็นสองรอบต่อเดือน เป็นภาระทางธุรการแก่ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น คลังจังหวัด กองคลังของทุกหน่วยงานหรือไม่

3. ระบบเงินเดือนข้าราชการ ยังผูกกับเงินหักหนี้สินต่างๆ เช่น เงินกู้สหกรณ์ เงินหักส่งสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งหักเป็นรายเดือน ระบบดังกล่าวต้องแบ่งเป็นสองงวดตามด้วย หากแบ่งไม่ได้ จะเป็นการสร้างภาระแก่ข้าราชการในครึ่งเดือนแรก

4. ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ เงินกู้ธนาคาร หนี้บัตรเครดิต ทั้งหมดชำระเป็นรายเดือน และเป็นของเอกชน ที่อาจไม่สามารถขอผ่อนผันจ่ายเป็น 2 งวดต่อเดือนได้

5. คิดใหม่ ทำเร็ว ควรมีการศึกษาวิจัย และถามความเห็นจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะที่นี่ ไม่ใช่แสนสิริ และใครผ่อนคอนโดแสนสิริ อย่าลืมขอใช้สิทธิผ่อนเป็น 2 งวดต่อเดือนด้วย

https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid0z2yWieeijHTM15tjRAMp2H8SVbt38VUvT2aczwmfEb6ZdbL8S4h4XvN3e7MuJTVHl

 

ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง พบว่า ปัจจุบันมีข้าราชการในระบบ ราว 2 ล้านคน 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า