Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ก.ค. นี้ จะหมดเวลาพักชำระหนี้ ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 1 ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยลูกหนี้รายย่อยที่ขอรับความช่วยเหลือไว้ ตั้งแต่เดือน เม.ย. – มิ.ย. 2563 มีจำนวนกว่า 15.2 ล้านราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ราว 3.8 ล้านล้านบาท จะต้องเริ่มทยอยกลับมาจ่ายหนี้คืน ตั้งแต่เดือน ก.ค. – พ.ย. 2563

ย้อนกลับไปช่วงปลายเดือน มี.ค. 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากจาก COVID-19 โดยลดอัตราผ่อนขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต และให้พักชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อรถ สินเชื่อบ้าน รวมถึงสินเชื่อธุรกิจ SMEs เป็นเวลา 3 – 6 เดือน

มาตรการดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2563 ดังนั้น เดือน ก.ค. นี้ จึงครบกำหนดระยะเวลาพักชำระหนี้ขั้นต่ำ 3 เดือน ที่ลูกหนี้จะต้องเริ่มกลับมาจ่ายหนี้คืน ตั้งแต่เดือน ก.ค. – พ.ย. 2563 ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เริ่มขอพักชำระหนี้ และเงื่อนไขที่ได้รับจากธนาคาร

ข้อมูลล่าสุดจาก ธปท. ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2563 ระบุว่ามีลูกหนี้รายย่อยที่ขอรับความช่วยเหลือทั้งสิ้น 15,219,547 ราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ 3,868,137 ล้านบาท แบ่งเป็น

• ลูกหนี้ที่เริ่มพักชำระหนี้ ช่วงเดือน เม.ย. จะต้องทยอยกลับมาใช้หนี้ ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. จำนวน 11,060,250 ราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ 2,654,867 ล้านบาท

• ลูกหนี้ที่เริ่มพักชำระหนี้ ช่วงเดือน พ.ค. จะต้องทยอยกลับมาใช้หนี้ ช่วงเดือน ส.ค. – ต.ค. จำนวน 3,085,495 ราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ 1,105,500 ล้านบาท

• ลูกหนี้ที่เริ่มพักชำระหนี้ ช่วงเดือน มิ.ย. จะต้องทยอยกลับมาใช้หนี้ ช่วงเดือน ก.ย. – พ.ย. จำนวน 1,073,802 ราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ 107,770 ล้านบาท

นอกจากนี้ เว็บไซต์ของ ธปท. ยังระบุว่ามีผู้ประกอบการ SMEs 1,142,683 ราย ที่ขอรับความช่วยเหลือจากมาตรการของแบงก์ชาติเช่นกัน เป็นมูลค่าหนี้ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท และมีธุรกิจขนาดใหญ่อีก 5,028 ราย เป็นมูลค่าหนี้ประมาณ 7 แสนล้านบาท ปัจจุบันระบบธนาคารไทยจึงมีหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลืออยู่ทั้งสิ้น 6.84 ล้านล้านบาท หรือกว่า 1 ใน 3 ของหนี้ทั้งหมด

หนี้ก้อนใหญ่จำนวนนี้ ทำให้เกิดข้อกังวลที่ว่า จะเกิดอะไรขึ้น หากลูกหนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถกลับมาชำระหนี้คืนได้ตามปกติ หลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 แบงก์ชาติออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2 มาเพิ่ม โดยสั่งให้สถาบันการเงินภายใต้การกำกับ ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 2 – 4% ต่อปี รวมถึงขยายเวลาพักชำระหนี้บ้านและรถ (ไม่จำกัดวงเงิน) ออกไปอีก 3 เดือน มีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563

 

วิกฤติหนี้รายย่อย ปัญหาที่รัฐต้องช่วยประชาชนแก้

“ต้องยอมรับว่าเมืองไทยไม่เคยเจอวิกฤติลูกหนี้รายย่อย” ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด กล่าวกับ workpointTODAY “ถ้าย้อนไปปี 40 ก็เป็นวิกฤติของภาคเอกชน มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือฟ้องล้มละลายในลักษณะของบริษัท”

เขายกตัวอย่างว่า สมมติลูกหนี้แค่ 10% จากลูกหนี้ทั้งหมดที่ขอพักชำระหนี้อยู่ ไม่สามารถกลับมาชำระหนี้คืนได้ตามปกติหลังครบกำหนด 3 – 6 เดือน จะมีลูกหนี้มากถึง 1.5 ล้านคน ผิดนัดชำระหนี้ จนถูกฟ้องล้มละลาย ถูกยึดบ้าน ยึดรถ และทรัพย์สินต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาครัวเรือน ปัญหาเศรษฐกิจ ตามมาเต็มไปหมด

แต่วิกฤตินี้ไม่ใช่ปัญหาของลูกหนี้เท่านั้น ดร.พิพัฒน์ บอกว่า “เจ้าหนี้ก็จะเหนื่อยด้วย” เพราะเมื่อเกิดปัญหาหนี้รายย่อย จำนวนลูกหนี้จะเยอะมากๆ ทำให้หนี้เสียค้างอยู่ในระบบเป็นเวลานาน และสินทรัพย์ที่ยึดมาจะได้ราคาไม่ดี “ถ้าลูกหนี้ 1.5 ล้านคน ต้องเข้ากระบวนการล้มละลายพร้อมๆ กัน ยังนึกไม่ออกเลยว่าธนาคาร ศาล จะเอากำลังตรงไหนไปทำงาน ยึดหรือ reprocess ให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลับเข้าไปในระบบเศรษฐกิจได้”

“เราอาจต้องการกระบวนการที่เข้าไปแทรกแซงตรงนี้ เช่น มีกองทุนที่เป็นเหมือน Warehouse Assets ซื้อสินทรัพย์จากธนาคารมาเก็บไว้ก่อน ยอมที่จะไม่ได้รับการจ่ายคืนหนี้สัก 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อให้คนอยู่ยังอยู่ต่อได้ แล้วพอเศรษฐกิจฟื้นกลับขึ้นมา เขาเริ่มกลับมาจ่ายหนี้คืนได้ค่อยเอาทรัพย์สินกลับไป ตอนนี้อาจต้องเป็นบทบาทของภาครัฐที่เข้ามาช่วยประสาน” ดร.พิพัฒน์ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า