SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่เป็นไร ฉันไม่กลัว…ไปตึกออฟฟิศ กลับคอนโด ขึ้นลิฟต์ตึกสูงทีไร ยังสะกดอารมณ์ด้วยคาถานี้อยู่ในใจ จิตแพทย์ มองว่า อาจไม่ใช่วิธีใช้ประโยชน์จากความกลัวได้คุ้มค่าที่สุด 

 

หายใจเข้า 4 วิ พักไว้ 7 วิ และปล่อยลมหายใจออก 8 วิ…ในจังหวะที่รู้สึกวิตกกังวล ถึงขีดสุด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ การกำหนดลมหายใจ เข้า – ออก ช้าๆ กลับเป็นเคล็ดไม่ลับที่อาจช่วยทุกคนได้ โดยเฉพาะในวันที่แค่เสียงของตกกลางออฟฟิศ ก็ทำใจสั่นได้แล้ว

เมื่อเหตุแผ่นดินไหว ผ่านมาแล้วราว 5 วัน และผลกระทบต่างๆ ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กำลังถูกซ่อมแซมทีละเล็กละน้อย ตั้งแต่อาคาร ที่พักอาศัย ไปจนถึงบาดแผลฟกช้ำ เพื่อให้ชีวิตของผู้คนต้องดำเนินไป นั่นทำให้ ผลกระทบที่มองไม่เห็น อย่างสุขภาพใจ ถูกเร่งรัดให้กลับเข้าที่เข้าทางเช่นกัน และผู้คนจำนวนมากดูจะทำได้ดี แต่ขณะเดียว มีอีกไม่น้อยยังไม่สามารถก้าวข้าม ช่วงบ่ายของวันที่ 28 มี.ค. ไปได้

ท้ายที่สุด การจะหันไปกระซิบคนข้างกาย ว่า ‘ฉันกลัว พี่ใจสั่น เราไปเดินเล่นกันไหม ผมหลอน’ กลับเป็นสิ่งที่ทุกคนพยายามหลีกเลี่ยงถึงที่สุด เพราะกังวลว่า อาจสร้างความหวาดกลัวซ้ำให้คนรอบข้างเกินไป

“เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ มีความอันตราย คนเราสามารถมีอารมณ์เชิงลบได้ ซึ่งเป็นกลไกป้องกันตัวให้มนุษย์เกิดความปลอดภัย แต่ถ้าเราไม่ยอมรับ หรือพยายามปฏิเสธ อาจเป็นฝืนกลไกป้องกันตัวเอง”

นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ประจำ Me Center กำลังแนะนำสิ่งที่ตรงข้ามกัน ด้วยเหตุว่า ‘หลอกหัวใจตัวเอง’ อาจไม่ใช้วิธีจัดการ และใช้ประโยชน์จากอารมณ์เหล่านั้น

[เราจะรับรู้ ว่า ‘กังวล’ ได้ยังไง?]

“กลัว กังวล ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ” นับเป็นสิ่งแรกที่ นพ. อภิชาติ ย้ำตั้งแต่ต้น เพื่อรับมือในขั้นตอนถัดไป นั่นคือ การหาข้อมูล เพื่อลดความไม่รู้ ที่ก่อให้เกิดอารมณ์เชิงลบ

“หาข้อมูลให้เรามั่นใจว่า เราปลอดภัยแล้วนะ แล้วชื่นชมตัวเอง ว่าสถานการณ์ตอนนั้น เราจัดการจนผ่านมาได้ และลองดูว่าเรื่องความปลอดภัย เราหาข้อมูลเพื่อวางแผน เพราะความกลัวหรือกังวล เกิดขึ้นจากความไม่รู้ ไม่แน่ใจ” 

ถึงตอนนี้ จะบอกว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวผ่านพ้นไปแล้ว ก็อาจไม่จริงเสียทีเดียว เพราะนับตั้งแต่ต้นสัปดาห์ บรรดาคนทำงานในกรุงเทพฯ ยังคงต้องตื่นตกใจอยู่เป็นระยะ หลังมีเหตุการณ์อาคารสำนักงานต่างๆ ต้องอพยพเร่งด่วน เนื่องจาก กังวลเรื่องความปลอดภัยของอาคาร ที่มีร่องรอยทรุดตัวเพิ่มเติม

นั่นเอง ที่ทำให้ข้อมูลภาวะช็อกและตกใจ อย่าง ‘อาการแพนิค’ กลับมาเป็นที่พูดถึง

สำหรับ โรคแพนิค หรือ โรคหวาดกลัวและตื่นตระหนกขั้นรุนแรง มีสัญญาณเตือน ที่สังเกตได้ อย่าง ใจสั่น ใจเต้นแรง เหงื่อแตก ตัวสั่น มือเท้าสั่น หายใจไม่อิ่มหรือหายใจขัด รู้สึกอึดอัดแน่นอยู่ข้างใน แน่นหน้าอก 

และยังมีอาการอย่าง ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนเหมือนจะเป็นลม หนาวหรือร้อนวูบวาบ รู้สึกชาๆ กลัวคุมตัวเองไม่ได้หรือกลัวเป็นบ้า ไปจนถึงกลัวว่าตนเองกำลังจะตาย โดยอาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นมาประมาณ 15 – 20 นาที แล้วค่อยๆ หายไปเองในระยะราว 1 ชั่วโมง  แต่หากเป็นซ้ำอีก หรือเกิดขึ้นบ่อย มีอาการที่รุนแรงมากขึ้น จนเกิดผลกระทบกับชีวิตประจำวัน ก็ควรรีบพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก เพื่อวิเคราะห์และประเมินอาการ

“การเรียนรู้ข้อมูลว่า แผ่นดินไหวครั้งต่อไปต้องดูแลตัวเองยังไง พวกนี้ทำให้เกิดความตระหนัก แต่ถ้าเสพข้อมูลผิดๆ ก็อาจกลายเป็นตระหนก ความกังวลที่มาแค่เตือนเราให้ดูแลตัวเอง ก็อาจกลายเป็นคุมไม่ได้ จนเกิดปัญหา”

[‘เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต’ เส้นแบ่งสู่ PTSD]

“หลังเหตุการณ์ยุติ ผ่านไป 2-3 วัน อาการจะค่อยๆ เบาลง แต่ถ้าผ่านมายังไม่ดีขึ้น หรือมากกว่าเดิม อาจต้องระวังแล้วว่าเป็นความเครียดที่ไม่ปกติ ”

นพ. อภิชาติ กล่าวถึง ข้อสังเกตเบื้องต้น ทั้งนี้ ก็ยังไม่ได้หมายความว่า จะต้องไปพบแพทย์โดยทันที ข้อแนะนำคือ ให้เริ่มต้นบอกเล่าภาวะอารมณ์ กับคนรอบข้างที่เราไว้ใจได้ ร่วมถึงปรึกษาสายด่วนผู้เชี่ยวชาญ

ไม่เช่นนั้น การเก็บความรู้สึกเอาไว้เรื่อยๆ ก็อาจนำไปสู่ความเสี่ยงถัดมา คือ ภาวะ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือภาวะป่วยทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง เป็นภาวะหนึ่งที่พบได้เมื่อผ่านเหตุภัยพิบัติ อย่างแผ่นดินไหว ซึ่งเชื่อว่าในช่วงต้น แทบจะทุกคนต้องผ่านความรู้สึกนี้ ที่นึกถึงภาพเหตุการณ์รุนแรงหรือร้ายแรงนั้นบ่อยๆ จนถึงฝันเห็น จนถึงขั้นตื่นตัวเกินไป เหมือนกับเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นได้อีกตลอดเวลา โดยการเสพข้อมูลเหตุการณ์นั้น ก็เป็นตัวกระตุ้นอย่างหนึ่ง จนในที่สุดอาจรบกวนการใช้ชีวิต 

ทั้งนี้ นพ. อภิชาติ กล่าวว่า หากเจอเหตุ ‘เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต’ ทั้งด้วยตนเอง เห็นจากคนในครอบครัว รวมไปถึงการเสพข่าว จนผ่านระยะเวลา 1 เดือนโดยประมาณ แล้วยังพบความผิดปกติทางอารมณ์อยู่ ก็น่าสงสัยที่จะมี ภาวะ PTSD และให้ปรึกษาแพทย์  “ถ้าเรายอมรับได้ว่าความกลัวเป็นภาวะปกติ แล้วค่อยๆ บอกตัวเองว่าเราดูแล รับมือ และป้องกันตัวเองได้ ความกังวลก็จะค่อยๆ เบาลง”

“ท่องไว้เลย เราเป็นคนปกติ ต้องใช้เวลา กลัวได้ ตื่นตระหนกได้ พอเวลาผ่านไปจะดีขึ้น” นพ. อภิชาติ ย้ำทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า