SHARE

คัดลอกแล้ว

เกือบทุกกิจกรรมในชีวิตมนุษย์สมัยใหม่ทิ้งรอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint) ไว้เสมอ ตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ เล่นโทรศัพท์ กินอาหาร ดื่มชากาแฟ ไปจนถึงการเดินทางขนส่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมในแต่ละปี โดยเฉลี่ยคนไทยแต่ละคนจึงสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 3.9 ตัน*

กิจกรรมง่ายๆ อย่าง การเสิร์ชกูเกิ้ล เฉลี่ยแล้วแต่ละครั้งสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 0.35 กรัม แบ่งเป็น 0.2 กรัมจากพลังงานไฟฟ้าที่ใช้โดยกูเกิ้ล และอีก 0.1 กรัมจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กฝั่งผู้ใช้ นอกจากนี้ยังมีไฟฟ้าที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องใช้ด้วย ซึ่งคาดว่าน่าจะคิดเป็นอย่างน้อย 50% ของไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กใช้ หรือเท่ากับอีก 0.05 กรัม รวมแล้วการเสิร์ชกูเกิ้ล 1 ครั้งจึงสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างน้อย 0.35 กรัม และตัวเลขจะสูงกว่านี้อีกหากคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้ในการเสิร์ชเป็นคอมพ์รุ่นเก่าที่กินไฟฟ้ามาก อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลข 0.35 กรัมดังกล่าวจะดูไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่าในแต่ละวัน ผู้คนทั่วโลกใช้กูเกิ้ลเสิร์ชกันกว่าวันละ 3,500 ล้านครั้ง หรือปีละมากกว่า 1.2 ล้านล้านครั้ง ดังนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกผลิตขึ้นจากการใช้เสิร์ชเอ็นจินตัวนี้จึงรวมกันเป็นปริมาณไม่น้อยเลย

สำหรับการต้มน้ำเพื่อชงกาแฟสักถ้วยก็ใช้พลังงานไฟฟ้านำไปสู่การสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน หนังสือเรื่อง “How Bad Are Bananas?: The carbon footprint of everything” ให้ข้อมูลว่า หากเราสามารถต้มน้ำในปริมาณที่พอดีเป๊ะกับที่ต้องใช้ในการชงกาแฟ 1 ถ้วย กิจกรรมนี้จะสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 23 กรัม แต่ถ้าหากกาแฟของเราไม่ใช่กาแฟดำ แต่เป็นกาแฟที่ใส่นม และน้ำที่ต้มนั้นก็เกินกว่าที่ต้องใช้ในการชงกาแฟแก้วนั้นจริงๆ เท่าตัว การชงกาแฟแก้วดังกล่าวจะสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 74 กรัม

ส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือ หนังสือเล่มเดียวกันได้ให้ข้อมูลว่า การคุยโทรศัพท์ 1 นาทีสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น 57 กรัม นอกจากนี้ งานสำรวจอีกชิ้นที่วิเคราะห์การใช้โทรศัพท์มือถือ Nokia รุ่น N7600 พบว่าพลังงานที่โทรศัพท์มือถือใช้นั้น สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 6.8% ของทั้งหมด โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 49% นั้น มาจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสาส่งสัญญาณมือถือ (base station emissions – ทั้งไฟฟ้าที่เสาส่งสัญญาณใช้ รวมถึงรอยเท้าคาร์บอนที่สืบเนื่องจากการสร้างเสาส่งสัญญาณ)

ในขณะที่การดูทีวีนั้น ที่จริงแล้วเป็นกิจกรรมที่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างน้อย การดูทีวีจอแบนขนาด 32 นิ้วเป็นเวลา 1 ชั่วโมงสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 97 กรัม อย่างไรก็ตาม หากทีวีที่คุณใช้เป็นทีวีที่กินไฟฟ้ามากขึ้น เช่นทีวีจอพลาสมา 42 นิ้ว การดูทีวีเครื่องดังกล่าว 1 ชั่วโมงจะเทียบเท่ากับการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น 240 กรัม หรือก็คือเกือบ 2 ขีดครึ่ง

มาที่เรื่องอาหารการกินกันบ้าง หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการผลิตและขนส่งเบียร์สักขวดมาถึงผู้บริโภคนั้น ทิ้งรอยเท้าคาร์บอนไว้ให้กับโลกไม่น้อย โดยเบียร์ที่ผลิตในประเทศ 1 ขวดขนาด 0.5 ลิตร โดยเฉลี่ยแล้วในกระบวนการผลิตและขนส่ง สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้นประมาณ 500 กรัม ในขณะที่หากเบียร์ขวดดังกล่าวต้องถูกนำเข้าหรือขนส่งมาเป็นระยะทางไกล CO2 ที่ถูกสร้างขึ้นอาจมากถึง 900 กรัม/ขวด ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลรอยเท้าคาร์บอนจากเบียร์ 1 ขวดที่อ้างถึงในหนังสือ “How Bad Are Bananas?: The carbon footprint of everything” ระบุว่าวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการหมักเบียร์นั้น สร้างให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดกว่า 38% รองลงมาคือไฟฟ้าที่ต้องใช้ในขั้นตอนต่างๆ สร้างให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 27% ของทั้งหมด ส่วนกระบวนการขนส่งทั้งหมดทิ้งรอยเท้าคาร์บอนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 18%

ส่วนอาหารอีกชนิดที่ทิ้งรอยเท้าคาร์บอนไว้มากอย่างไม่น่าเชื่อก็คือ แฮมเบอร์เกอร์ โดยเบอร์เกอร์ชิ้นมาตรฐานน้ำหนัก 115 กรัม ในกระบวนการผลิตได้สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซดให้โลกถึง 2.5 กิโลกรัม ทั้งนี้ รอยเท้าคาร์บอนส่วนใหญ่ของแฮมเบอร์เกอร์นั้นมาจากเนื้อวัวที่อยู่ในเบอร์เกอร์ โดยเนื้อวัวน้ำหนักประมาณ 108 กรัมที่อยู่กลางชิ้นเบอร์เกอร์นั้น ก่อนที่จะมาถึงมือผู้บริโภคได้สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้โลกมากถึง 1,910 กรัม ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าในกระบวนการเลี้ยงวัวนั้น จะต้องใช้อาหารและน้ำปริมาณมหาศาล ซึ่งทำให้รอยเท้าคาร์บอนที่เกิดขึ้นมากตามไปด้วย

และกิจกรรมสุดท้ายที่ทุกคนคงทราบกันดีว่าสร้างมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่น้อย ก็คือการขับรถ ทั้งนี้หากนับเฉพาะเชื้อเพลิงที่ถูกรถยนต์เผาผลาญ หากเป็นรถยนต์เบนซิน การเผาผลาญน้ำมันเบนซิน 1 ลิตรจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น 2.29 กิโลกรัม

ในขณะที่หากเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งมีสัดส่วนคาร์บอนอยู่ในเนื้อน้ำมันสูงกว่า การขับรถโดยใช้น้ำมัน 1 ลิตรจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทั้งสิ้น 2.66 กิโลกรัม

 

ป.ล.
ข้อมูลทั้งหมดจากหนังสือ How Bad Are Bananas?: The carbon footprint of everything

*ตัวเลขก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยต่อหัวคนไทยปี 2561

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า