SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ค่าเงิน’ คือตัวกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ ซึ่งมูลค่าของค่าเงินในแต่ละประเทศนั้น ก็ขึ้นกับขนาดเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจด้านการเงิน-การคลัง และเงินสำรองที่เก็บไว้

รวมไปถึงความสัมพันธ์เชิงนโยบายทางการเงินและการคลังของประเทศหลักอย่างสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาค

เมื่อปัจจัยดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงไป ก็จะทำให้ค่าเงินในประเทศนั้นๆ เปลี่ยนแปลงตามไปเช่นกัน ซึ่งผู้ที่ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ย่อมได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางด้านค่าเงินอย่างแน่นอน

[ เข้าใจ ‘บาทอ่อน-บาทแข็ง’ ]

ค่าเงินมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ 2 รูปแบบ หนึ่งคือ ‘แข็งตัว’ หมายถึง ค่าเงินหนึ่งมีอำนาจในการแลกเปลี่ยนเป็นอีกค่าเงินของอีกประเทศหนึ่งได้มากขึ้น สองคือ ‘อ่อนตัว’ หมายถึง ค่าเงินหนึ่งมีอำนาจในการแลกเปลี่ยนเป็นค่าเงินของอีกประเทศหนึ่งได้น้อยลง

ยกตัวอย่างเช่นในช่วงเวลาหนึ่ง 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 33 บาท หาก 1 ดอลลาร์มีการเปลี่ยนแปลงเป็น 30 บาท นั่นหมายความว่าค่าเงินบาทมีการแข็งตัวขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ค่าเงินดอลลาร์มีการอ่อนตัวลง

ในทางกลับกัน หาก 1 ดอลลาร์มีการเปลี่ยนแปลงเป็น 35 บาท นั่นหมายความว่าค่าเงินบาทมีการอ่อนตัวลง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ค่าเงินดอลลาร์มีการแข็งตัวขึ้นนั่นเอง

[ บาทแข็งกระทบธุรกิจอย่างไร ]

สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจส่งออก หากส่งออกเป็นค่าเงินบาทแล้วเงินบาทแข็งตัว หมายความว่า ประเทศคู่ค้าผู้นำเข้ากับเราจะต้องซื้อของโดยใช้จำนวนเงินที่มากขึ้นเพื่อให้ได้ปริมาณเท่าเดิม ทำให้แรงจูงใจในการซื้อของช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าลดลง ซึ่งนำไปสู่การลดลงของยอดส่งออกไทย ทำให้ผู้ส่งออกเสียผลประโยชน์ในภาวะค่าเงินบาทแข็งตัว

แต่สำหรับผู้ส่งออกที่ส่งออกเป็นค่าเงินต่างประเทศ เช่น เงินดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าจะไม่กระทบต่อยอดการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า เพราะคู่ค้าไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน แต่อาจทำให้ผู้ประกอบการขาดทุนทางบัญชีจากค่าเงินแข็งค่าได้

สำหรับผู้ทำธุรกิจนำเข้า หากค่าเงินบาทแข็งตัว ผู้นำเข้าก็จะสามารถนำเข้าสินค้าในปริมาณที่มากขึ้นได้ ด้วยปริมาณเงินเท่าเดิม ก็จะทำให้ผู้นำเข้าได้ประโยชน์มากขึ้นในภาวะดังกล่าว 

แต่ในกรณีที่ผู้นำเข้านำเข้าเป็นสกุลเงินคู่ค้า เช่น ดอลลาร์ แม้ความผันผวนของค่าเงินจะไม่มีผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าที่ทำธุรกิจอยู่ด้วย แต่ผู้ประกอบการไทยก็จะได้รับผลขาดทุนทางบัญชีจากค่าเงินบาทที่แข็งตัว

[ บาทอ่อนกระทบธุรกิจอย่างไร ]

สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจส่งออกของไทยเป็นค่าเงินบาท หากค่าเงินบาทอ่อนตัว ประเทศคู่ค้าผู้นำเข้ากับไทยก็จะสามารถซื้อของในปริมาณที่มากขึ้นด้วยจำนวนเงินเท่าเดิม ทำให้แรงจูงใจซื้อสินค้าของประเทศคู่ค้าในช่วงค่าเงินบาทอ่อนตัวเพิ่มขึ้น นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของยอดส่งออกไทย ทำให้ผู้ส่งออกได้ประโยชน์ในภาวะเงินบาทอ่อนค่า

แต่สำหรับผู้ส่งออกไทยที่ทำธุรกิจในค่าเงินต่างประเทศ เช่น เงินดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าจะไม่กระทบต่อยอดการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า เพราะคู่ค้าไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน แต่จะทำให้ผู้ประกอบการในเงื่อนไขนี้ กำไรทางบัญชีจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง

ส่วนผู้ที่ทำธุรกิจนำเข้าของไทยที่นำเข้าสินค้าเป็นค่าเงินบาท หากค่าเงินบาทอ่อนตัว ผู้ประกอบการจะต้องใช้เงินมากขึ้นในการนำสินค้าเข้ามาเพื่อให้ได้ปริมาณเท่าเดิม ก็จะทำให้ผู้นำเข้าเสียประโยชน์ในภาวะเงินบาทอ่อนตัว

แต่สำหรับผู้นำเข้าไทยที่ทำธุรกิจด้วยค่าเงินต่างประเทศ เช่น เงินดอลลาร์ หากค่าเงินบาทอ่อนตัวก็ไม่กระทบต่อคู่ค้า แต่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยในเงื่อนไขนี้ มีผลกำไรทางบัญชีจากการที่ถือเงินดอลลาร์ไว้ และสามารถนำเข้าสินค้าได้มากขึ้นในปริมาณเงินเท่าเดิม

[ 6 วิธีป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ]

สำหรับวิธีป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน สามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวบรวมวิธีป้องกันความเสี่ยงค่าเงินสำหรับผู้ประกอบการไว้ทั้งหมด 6 ข้อด้วยกัน

1. Local Currency หรือการใช้เงินสกุลท้องถิ่น เป็นการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการเป็นเงินบาทหรือเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่ค้า ช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเงินบาทและเงินภูมิภาคมักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน

2. Natural Hedge หรือการบริหารรายได้และรายจ่ายให้เป็นสกุลเงินเดียวกัน เวลาอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง รายได้และรายจ่ายจะได้เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน ข้อดีคือไม่มีค่าใช้จ่ายเหมือนวิธีอื่นๆ

3. Foreign Currency Deposits (FCD) หรือการเปิดบัญชีเงินต่างประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงความผันผวนของค่าเงิน เพราะสามารถทยอยซื้อค่าเงินต่างประเทศเก็บไว้ในบัญชีเพื่อใช้ในอนาคตได้

4. Forward หรือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เป็นการทำสัญญาซื้อขายค่าเงินกับธนาคาร โดยธนาคารจะส่งมอบเงินให้เราตามกำหนด ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า

5. Options หรือสิทธิซื้อขายค่าเงินในอนาคต คล้ายกับ Forward กล่าวคือ เราตกลงอัตราแลกเปลี่ยน จำนวนเงิน และระยะเวลาไว้ล่วงหน้า แต่การซื้อสิทธิเปรียบเสมือนการซื้อประกันว่าจะเคลมหรือไม่ก็ได้

6. Futures หรือการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า คล้านกับ Forward เพียงแต่ซื้อขายบนตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Thailand Futures Exchange: TFEX) ของตลาดหลักทรัพย์แห้งประเทศไทย (ตลท.)

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า