SHARE

คัดลอกแล้ว

โดย KBank Private Banking และ Lombard Odier

ย้อนภาพรวมตลาดลงทุนปี 2566 โดย KBank Private Banking

– ไตรมาส 1 ปี 2566 – ในช่วงปลายไตรมาส เสถียรภาพการเงินโลกสั่นคลอน จากการปิดตัวลงของ Silicon Valley Bank (SVB) และวิกฤต Credit Suisse (CS)

– ไตรมาส 2 ปี 2566 – ตลาดปรับตัวขึ้นได้ จากอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่เข้าใกล้จุดสูงสุด

– ไตรมาส 3 ปี 2566 – เศรษฐกิจจีนไม่สามารถฟื้นตัวได้ตามที่ตลาดคาดหวัง ทำให้ภาพรวมตลาดอ่อนแอลงอีกครั้ง ประกอบกับความไม่แน่นอนของ FED หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังไม่ชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าจะหยุดขึ้นหรือจะขึ้นต่อ

– ไตรมาสสุดท้ายของปี – ในช่วงต้นเดือนตุลาคมเกิดความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสเริ่มต้นขึ้น ทำให้ตลาดการลงทุนปรับตัวลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตลาดมีแนวโน้มดีขึ้น ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม จากการหยุดขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันของ FED โดยผลตอบแทนสำหรับปี 2566 ของตลาดหุ้นโลกปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 23% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566)

สรุป 5 มุมมองเศรษฐกิจโลกของ Lombard Odier ในปี 2567

1. เศรษฐกิจโลกจะเติบโตต่อได้ แต่ในอัตราที่ชะลอลง – โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถเลี่ยงภาวะถดถอยและขยายตัวช้าลงแบบ Soft landing ด้านเศรษฐกิจยุโรปจะยังคงขยายตัวได้ในระดับต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจจีนยังมีความท้าทาย จำเป็นต้องอาศัยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจให้กลับมาเป็นปกติ

2. เงินเฟ้อจะลดลงต่อ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรป ส่วนเงินเฟ้อจีนจะทรงตัวในระดับใกล้เคียง 1%

3. ธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป ได้หยุดขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วในปี 2566 และจะเริ่มลดดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2567 แต่จะไม่ลดลงไปต่ำเท่าระดับก่อนโควิด ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่นจะขึ้นดอกเบี้ยและออกจากยุคดอกเบี้ยติดลบในช่วงไตรมาส 2 ส่วนจีนจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

4. ตลาดจะจับตาเรื่องการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและประเทศคู่ค้า รวมทั้งความขัดแย้งในตะวันออกกลาง

5. เงินลงทุนจะไหลเข้าตลาดตราสารหนี้มากขึ้นเพราะดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงและจะลดลงในปี 2567 ตลาดหุ้นยังมีความท้าทายเพราะผลตอบแทนเทียบกับดอกเบี้ยไม่น่าดึงดูดเท่ายุคดอกเบี้ยต่ำ การหาผลตอบแทนต้องเน้นไปที่การคัดเลือกหุ้นที่โดดเด่น

กลยุทธ์การลงทุน ปี 2567 โดย KBank Private Banking

KBank Private Banking แนะนำให้แบ่งเงินลงทุนเพื่อสะสมและต่อยอดความมั่งคั่งในระยะยาว ออกเป็น 2 ส่วน

1) ส่วนแรกประมาณ 50-70% ให้ลงทุนเป็นพอร์ตหลัก (Core portfolio) โดยเลือกกองทุนผสมแบบ Risk-based approach ที่กระจายความเสี่ยงทั้งในหุ้น ตราสารหนี้ โภคภัณฑ์ รวมทั้งค่าความผันผวน (VIX Index) ที่ใช้หลักการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ มีกฎเกณฑ์ชัดเจน ไม่ขึ้นกับการคาดการณ์ของตลาดหรือผู้จัดการกองทุน ด้วยกลยุทธ์หลักที่บริหารเชิงรุกและยืดหยุ่นสูง ตามวัฏจักรเศรษฐกิจและดัชนีตลาดที่สำคัญ เพื่อให้พอร์ตโฟลิโอมีความยืดหยุ่น แนะนำให้ลงทุนในกองทุนที่มีการบริหารเชิงรุกในการจัดดสรรสินทรัพย์และการบริหารความเสี่ยง อย่างกองทุน All Roads Series

2) ส่วนที่ 2 ประมาณ 30-50% เป็นพอร์ตเสริม (Satellite portfolio) โดยแบ่งการลงทุนใน

ตราสารหนี้ เช่น (1) พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว: จากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยมีความน่าสนใจ และยังมีโอกาสได้กำไรจากส่วนต่างราคาเมื่อ FED ปรับลดดอกเบี้ย นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี หากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-GDBOND และ TUSBOND

(2) หุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตดี ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว: ให้เน้นลงทุนใน หุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตระดับลงทุนได้ (Investment Grade, IG) ซึ่งรวมถึงตราสารหนี้ประเภท CoCo Bond ที่ออกโดยสถาบันการเงินที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และให้ผลตอบแทนน่าสนใจ หลังดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา สำหรับหุ้นกู้กลุ่ม High Yield (HY) อาจมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจชะลอตัวและมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องหลังต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน UPINCM-N

หุ้น เช่น (1) หุ้นกลุ่ม Growth ทั่วโลก: หลังดอกเบี้ยผ่านจุดสูงสุดและจะเข้าสู่วัฎจักรดอกเบี้ยขาลงย่อมเป็นประโยชน์ต่อหุ้นกลุ่มเติบโตสูง โดยแนะนำกระจายลงทุนทั่วโลก เนื่องจากหุ้นเทคฯ ในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างมากในปี 2566 โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-CHANGE

(2) หุ้นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market): นอกจากจะได้ประโยชน์จากศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นแล้ว ยังได้รับแรงหนุนจากกระแสเงินทุนที่จะไหลเข้า หลัง FED ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย ทำให้ดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่า เป็นบวกต่อการลงทุนในตลาด เกิดใหม่ โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน PRINCIPAL VNEQ และ K-INDIA

การลงทุนทางเลือก เช่น (1) กลยุทธ์เฮดจ์ฟันด์ เช่น กลยุทธ์มหภาค (และเทรดตามแนวโน้ม (Trend following) ช่วยสร้างผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยง จากความสามารถในการใช้หลากหลาย Indicators รวมทั้ง Long/Short ในสินทรัพย์หลัก ทั้งหุ้น และตราสารหนี้ โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน ASP-LEGACY-UI และ LHMCMULTIUI

(2) กลยุทธ์ซื้อขายสกุลเงินหลักของโลก: ลงทุนในสกุลเงินหลักที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น จากปัจจัยด้านพื้นฐาน เช่น ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย แนวโน้มเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อดุลการชาระเงิน รวมทั้งกระแสเงินไหลเข้า – ออก โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน DAOL-FXALPHA-UI

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า