Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่า ตำแหน่งศาสตราจารย์ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ต้องมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก และใช้เวลายาวนานหลายปีกว่าจะได้ตำแหน่ง ศ. อยู่หน้าชื่อ

แต่หลายคนก็อาจไม่ได้ทราบอย่างละเอียด ว่าจริงๆ แล้วกว่าจะได้เป็นศาสตราจารย์ ต้องทำอย่างไร และใช้เวลาอย่างน้อยเท่าไรถึงได้ รวมถึงได้เป็นศาสตราจารย์แล้วเป็นผลดีอย่างไรต่อชีวิตบ้าง

ก่อนอื่นมาดูความหมายของคำว่า “ศาสตราจารย์” กันก่อน

ศาสตราจารย์ หมายถึง ผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง

เป็นศาสตราจารย์แล้วได้อะไร

  1. ให้ตัวเองได้แสดงศักยภาพของอาจารย์ และการยอมรับในวงวิชาการด้านการสอน การวิจัย และการให้บริการวิชาการ
  2. สร้างชื่อเสียงของสถาบัน มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
  3. นักศึกษาได้มีตําราประกอบการเรียนมากยิ่งขึ้น
  4. เพิ่มรายได้ให้กับตัวเองจากเงินประจำตำแหน่ง

ข้อมูลอัตราเงินเดือนของมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2566 ระบุว่า อาจารย์เงินเดือน 19,620-60,000 บาท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 41,310-104,000 บาท, รองศาสตราจารย์ 48,800-140,090 บาท และศาสตราจารย์ 69,480-170,770 บาท

ทำอย่างไรถึงจะได้เป็นศาสตราจารย์

ก่อนจะเป็นศาสตราจารย์ โดยทั่วไปแล้ว ต้องเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยก่อน จากนั้นจึงขยับเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ก่อน ตามด้วยการเป็นรองศาสตราจารย์ แล้วถึงจะเป็นศาสตราจารย์ได้

หลักเกณฑ์พิจารณาในปี 2564 ระบุว่า อาจารย์ที่จบปริญญาตรีต้องมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี, ปริญญาโทไม่น้อยกว่า 4 ปี และปริญญาเอกไม่น้อยกว่า 1 ปี

อาจารย์ → ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ต้องขอทุนวิจัย เขียนบทความรีวิว ทำงานวิจัยร่วมกับที่ปรึกษา เตรียมเอกสารประกอบการสอน อัดวิดีโอขณะสอนส่งไปให้พิจารณา จากนั้นตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของตัวเอง (งานวิจัย หนังสือ ตำรา บทความ ผลงานการสอน สิทธิบัตร ซอฟต์แวร์ ฯลฯ) เตรียมเอกสารต่างๆ และยื่นขอตำแหน่ง อาจใช้เวลา 2-4 ปี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ → รองศาสตราจารย์ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างน้อย 2 ปี และทำทุกอย่างเหมือนเดิม แต่ผลงานทางวิชาการเจาะลึกขึ้น ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งใหม่ที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง อาจใช้เวลาอีก 3-6 ปี

หลังได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจนเสร็จสิ้นลง ก็จะต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้งในราชกิจจานุเบกษา ให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบสถานะในตำแหน่งศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์ → ศาสตราจารย์ ต้องทำวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตีพิมพ์ผลงานวิจัย หนังสือ ตำรา หรือผลงานวิชาการที่โดดเด่น เป็นที่ยอมรับระดับสากล เช่น ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารทางวิชาการของต่างประเทศ ส่วนใหญ่ตีพิมพ์หนังสือ ตำราเรียน และมีงานวิจัยมากกว่า 1 เรื่อง อาจมากกว่า 10 เรื่องขึ้นไปด้วยซ้ำ และอาจใช้เวลาอีก 1-2 ปี หรือมากกว่านั้น 4-6 ปีก็มี

กว่าจะเป็นศาสตราจารย์ได้ “ยาก” จริงหรือไม่?

ข้อมูลจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ว.ช.) ปี 2562 ระบุว่า ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของไทย เป็นอาจารย์ 62% (35,829 คน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 25% (14,171 คน) รองศาสตราจารย์ 11% (6,556 คน) และมีศาสตราจารย์เพียง 1.4% (816 คน) เท่านั้น (ที่เหลืออีก 0.6% คือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์พิเศษ และศาสตราจารย์ระดับ 11)

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในรองศาสตราจารย์ที่ทำเรื่องขอตำแหน่งศาสตราจารย์ในไทย และใช้เวลายาวนานกว่าหลายๆ คน

โดยขอตำแหน่งไปตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปี 2567 ก็ยังไม่ได้ตำแหน่งแม้ว่าจะได้รับจดหมายว่างานที่ส่งไปผ่านเกณฑ์ตัดสินจากผู้ทรงคุณวุฒิและสภามหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม จึงทำให้วันที่ 20 มีนาคม 2567 เขาตัดสินใจยื่นคำฟ้องต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับพวกรวม 4 คน เนื่องจากเห็นว่าใช้เวลาในการพิจารณาตำแหน่งศาสตราจารย์นานเกินไป โดยรศ.สมชาย ระบุว่า ในกรณีของเขาน่าจะเป็น “การขอตำแหน่งศาสตราจารย์ยาวนานที่สุดในสยามประเทศนี้”

ในขณะนี้บางคนใช้เวลาไม่นาน เพียง 1-2 ก็มี ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ทั้งมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒินอกมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้พิจารณางานวิชาการต่างๆ ที่ส่งไป และสภามหาวิทยาลัยที่ช่วยเดินเรื่องให้อย่างรวดเร็วและราบรื่นมากน้อยแค่ไหน

ดังนั้น กระบวนการในการเตรียมตัว ตั้งแต่สมัครเป็นอาจารย์ มีประสบการณ์และสะสมชั่วโมงในการสอนให้มากพอ รวมรวมเอกสาร ยื่นหลักฐานต่างๆ ทำงานวิจัย ใช้เวลาไปกับการรวมรวบกลั่นกรองความรู้ออกมาเป็นหนังสือ ตำราต่างๆ ยื่นส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้หลายคนใช้เวลายาวนานนับสิบปี

แต่ก็มีบางคนที่ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์โดยใช้เวลาไม่นาน ในปี 2555 นายอภิรัฐ ศิริธราธิวัตร อายุ 37 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ตั้งแต่อายุเพียง 37 ปีเท่านั้น ซึ่ง รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ระบุว่า สามารถเป็นไปได้ “ไม่ใช่เรื่องแปลก หากมีความสามารถจริง”

ขอตำแหน่งศาสตราจารย์ไทย vs ขอตำแหน่งศาสตราจารย์จากต่างประเทศ 

การเป็นศาสตราจารย์ในต่างประเทศ มีวิธีที่โดยรวมแล้วคล้ายกันกับของไทย คือต้องมีวุฒิปริญญา ทำอาชีพเป็นอาจารย์ มีประสบการณ์การสอนตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ทำงานวิจัย ตีพิมพ์งานวิจัย หนังสือ หรือตำราคุณภาพดีและน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และสุดท้ายคือการรวบรวมเอกสารและผลงาน เพื่อยื่นต่อผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาตำแหน่งศาสตราจารย์ให้

นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวง อว. ระบุว่า การให้ตำแหน่งวิชาการในแต่ละประเทศ มีระบบแตกต่างกัน ในแวดวงวิชาการมีอาจารย์ที่ได้ตำแหน่งวิชาการจากต่างประเทศขอเทียบตำแหน่งวิชาการในประเทศ เช่น ตำแหน่งศาสตราจารย์จากต่างประเทศ เมื่อได้การรับรองการเทียบเท่ากับศาสตราจารย์ในประเทศ ในการทำงานในมหาวิทยาลัยก็สามารถได้เงินประจำตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ แต่บางกรณีที่ตำแหน่งศาสตราจารย์จากต่างประเทศ อาจเทียบไม่เท่าตำแหน่งศาสตราจารย์ในประเทศ

การใช้ตำแหน่งทางวิชาการ หากผู้นั้นได้มาอย่างถูกต้องตามระบบของมหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศ ก็ย่อมมีสิทธิ์ใช้นำหน้าชื่อได้ แต่หากการได้มาซึ่งตำแหน่งศาสตราจารย์ ไม่ถูกต้องหรือไม่มีจริง จะเข้าข่ายจงใจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ซึ่งอาจผิดกฎหมายได้

 

อ้างอิง

mgronline.com (1), (2), personnel.up.ac.th, ratchakitcha.soc.go.th, vet.cmu.ac.th, lannernews.com, mis.up.ac.th, indeed.com

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า